ศิลปะอุตสาหกรรมและนวัตกรรมการสร้างหัวโขน Industrial Arts and the Innovation of Khon Mask Production

Authors

  • ธรรมรัตน์ โถวสกุล มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

Keywords:

หัวโขน, การสร้างหัวโขน, นวัตกรรม, ศิลปะอุตสาหกรรม

Abstract

บทคัดย่อ

หัวโขน คือเครื่องประดับศีรษะประเภทหนึ่งที่ใช้สวมเพื่อประกอบการแสดง แต่เดิมหัวโขนถูกสร้างขึ้นเพื่อใช้ในการแสดงโขน บ่งบอกถึงลักษณะตัวละคร ต่อมาภายหลัง หัวโขนกลายเป็นงานศิลปกรรมเพื่อการสะสมและเพื่อธุรกิจการค้า การสร้างหัวโขนจะแตกต่างกันไปตามยุคสมัย ขึ้นอยู่กับวัสดุ  เทคนิคและวิธีการสร้างของช่างทำหัวโขน  ปัญหาส่วนใหญ่ที่พบการสร้างหัวโขน คือ ระยะเวลาและรา คาของวัสดุที่ใช้ในการผลิต  เป็นผลให้ผลิตหัวโขนได้น้อย ราคาสูง เมื่อเทียบกับความต้องการที่เพิ่มขึ้น งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาเทคนิคและเทคโนโลยีที่ใช้ในการสร้างหัวโขนในอดีตและปัจจุบัน เพื่อทดลองสร้างหัวโขนด้วยวัสดุและวิธีการประกอบสร้างเชิงอุตสาหกรรม

งานวิจัยนี้ใช้กระบวนการออกแบบงานวิจัย ในลักษณะงานวิจัยและพัฒนา (R and D: Research and Develop) เชิงทดลอง (Experimental Research) โดยเลือกตัวอย่างหัวโขนที่จะทำการทดลองสร้างได้แก่  ศีรษะทศกัณฐ์   ขั้นตอนในการวิจัยประกอบด้วย    (1) ศึกษาขั้นตอน  กรรมวิธีและวัสดุในการสร้างหัวโขน ของช่างทำหัวโขนในอดีตและปัจจุบัน (2) ศึกษาวัสดุอื่นๆ ที่สามารถนำมาใช้หรือทดแทนได้ในการสร้างหัวโขน เพื่อเป็นข้อมูลนำมาทดลองใช้ทดแทนวัสดุเดิม เปรียบเทียบคุณสมบัติที่ได้ (3) ทดลองการสร้างศีรษะทศกัณฐ์ และการนำไปใช้ เพื่อหาจุดแก้ไขและสรุปผลต่อไป

            ผลการวิจัยพบว่า หัวโขนทศกัณฐ์ที่ทดลองสร้างขึ้นนั้นจะตัดทอนรายละเอียดลงบ้างแต่ยังคงความเป็นศีรษะทศกัณฐ์ไว้ โดยเลือกใช้วัสดุสังเคราะห์เป็นส่วนใหญ่ ใช้วิธีการขึ้นหุ่นหล่อแบบเป็นศีรษะขนาดต่างๆ  การประดับลายและการทำเครื่องประกอบศีรษะก็ใช้วิธีการหล่อแบบสำเร็จไว้เช่นกันแล้วนำมาประกอบเป็นศีรษะทศกัณฐ์  ขั้นตอนที่ยังคงต้องใช้ฝีมือของช่างทำหัวโขนคือการวาดหน้า   ซึ่งในการสร้างศีรษะทศกัณฐ์ หนึ่งหัวจะใช้ระยะลดลงจากเดิม 3 สัปดาห์ เหลือเพียงไม่เกิน 1 สัปดาห์ สำหรับต้นทุนโดยประมาณต่อหัวจะไม่เกิน 5,000 บาท   สรุปได้ว่า การสร้างหัวโขนในปัจจุบันถึงแม้นจะมีการนำนวัตกรรมและวัสดุสังเคราะห์มาใช้ เพื่อลดระยะเวลาและต้นทุนลง หัวโขนยังคงเป็นงานประณีตศิลป์ที่ต้องใช้ฝีมือในการสร้าง สิ่งหนึ่งที่ยังเห็นอยู่คือความนิยมในการแสดงโขนในสถานศึกษาต่างๆ  ซึ่งสะท้อนให้เห็นว่ายังคงมีความต้องการใช้หัวโขน และถ้างานวิจัยนี้สามารถพัฒนาได้ดียิ่งขึ้นแล้วก็สามารถตอบสนองต่อความต้องการที่จะอนุรักษ์และสืบสานนาฏกรรมชั้นสูงนี้ต่อไป 

Abstract

          Khon mask is a type of headdress, is worn for the art performance.  Khon mask was originally created for used in a pantomime performance, and indicated of each character.  Thereafter, Khon mask became an art work for collections and trading.  An invention of Khon mask is varied on each period, which is depending on the materials, technique and methodologies in producing of Khon mask.  The most problem is found on making Khon mask is time duration, cost of raw materials used in production, as a result, there is less production, high cost as compared to the increasingly demand.

            The purpose on this research was to study an innovation, technology and materials were used to make Khon mask and as a model in the development of making Khon mask in accordance to the research questions.  The research design process was based on an Research and Develop research (R & D) by selecting the Khon mask, which Toasakanth mask was selected into this experiment.  The procedures of the research were: 1) studied the process and materials to make Khon mask from past and present craftsmen 2) studied other materials that could be used or substituted on making Khon mask and tried to substitute the original material, then compared the featured qualifications 3) making Toasakanth mask experiment and implementation in order to resolve and found out the conclusion.

            The result was found that an experimental Toasakanth mask was deducted some procedure but kept the identity of Toasakanth mask which the synthesize materials were mostly used on its mask.  There were making varied size of casting mock-up masks, decorative pattern and making mask composition by casting method as well, then compounded them as a Toasakanth mask.  The procedure that was required the proficiency of craftsmen was facial drawing.  In making a Toasakanth mask, was reduced time length from 3 weeks to just no more than 1 week.  The cost of production per mask was not over 5,000 Baht.  It would be concluded that currently making Khon mask, will lead to innovate and the use of synthetic materials in order to reduce time and costs.  Khon mask is still the delicate art that requires proficiency skill.  One thing that is also seen; the popularity of pantomime performance in many institutions.  This implies that there is still demand for Khon mask.  If this research is able to have better develop, it will be able to continually respond to the needs of advanced conservative and inheritable dramatic works

Downloads

Download data is not yet available.

Downloads

Published

2017-06-22

Issue

Section

บทความวิจัย (Research Article)