อุปลักษณ์เกี่ยวกับอารมณ์กลัวในรวมเรื่องสั้นและรายการโทรทัศน์ภาษาไทย : Conceptual Metaphors of Fear in the Short Stories and Thai Broadcasting

Authors

  • Narongkan Rodsap

Keywords:

อุปลักษณ์เชิงมโนทัศน์, ทฤษฎีภาษาศาสตร์ปริชาน, อารมณ์กลัว, Conceptual Metaphor, Cognitive Linguistics Theory, Fearness

Abstract

บทคัดย่อ

     งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ถ้อยคำที่เป็นอุปลักษณ์เชิงมโนทัศน์แสดงอารมณ์กลัวในภาษาไทยและวิเคราะห์ระบบมโนทัศน์ของผู้ใช้ภาษาไทยจากอุปลักษณ์ตามทฤษฎีภาษาศาสตร์ปริชาน โดยศึกษาข้อมูลการใช้ภาษาไทยจากรายการโทรทัศน์ 2 รายการ ได้แก่ Killer Karaoke Thailand ช่วง "บ่อ พัก ใจ" และ “ขน หัว ลุก” ที่ออกอากาศระหว่างมกราคม – ธันวาคม พ.ศ.2557 และ คนอวดผี ช่วง “ล่าท้าผี” ซึ่งออกอากาศระหว่างมกราคม – ธันวาคม พ.ศ.2558 และหนังสือรวมเรื่องสั้น 10 เล่ม ซึ่งตีพิมพ์ครั้งแรกระหว่าง พ.ศ.2551 – 2556 ผู้วิจัยคัดเลือกคำแสดงอารมณ์กลัวด้วยวิธีการหาคุณสมบัติซึ่งเป็นต้นแบบและวิเคราะห์อุปลักษณ์เชิงมโนทัศน์ตามของ Lakoff, G. & Kövecses, Z. (1987) และ Kövecses, Z. (2002) (2005) (2006) ผลการวิจัยพบว่าถ้อยคำที่เป็นอุปลักษณ์เชิงมโนทัศน์แสดงอารมณ์กลัว มี 9 ประเภท ได้แก่ อุปลักษณ์ผู้มีอำนาจเหนือกว่า อุปลักษณ์การทำเกษตรกรรม อุปลักษณ์ปรากฏการณ์ธรรมชาติ อุปลักษณ์อาหาร อุปลักษณ์สิ่งมีค่า อุปลักษณ์สงคราม อุปลักษณ์วัตถุ อุปลักษณ์สัตว์ และอุปลักษณ์มนุษย์ อุปลักษณ์เชิงมโนทัศน์ในงานวิจัยนี้ชี้บ่งคนไทยมีทัศนคติอย่างหลากหลายประการต่อความกลัวผ่านมโนทัศน์มนุษย์ ได้แก่ มโนทัศน์ความกลัวเป็นโรคซึ่งต้องได้รับการเยียวยารักษา มโนทัศน์ความกลัวเป็นประสาทสัมผัสทางผิวหนังปรากฏใช้มากกว่าประสาทสัมผัสอื่น หรือมโนทัศน์ขวัญเป็นสิ่งสำคัญยิ่งของร่างกายจำเป็นต้องให้ขวัญธำรงอยู่เพื่อเป็นศรีแก่คนผู้นั้น นอกจากนั้นยังปรากฏมโนทัศน์สุนัขคือสัตว์ที่คนไทยจดจำได้มากกว่าสัตว์อื่น มโนทัศน์ต่างๆ ดังกล่าวนี้สะท้อนประสบการณ์ทางสังคมและวัฒนธรรมผ่านภาษาอุปลักษณ์

Abstract

     This article aims to analyze the conceptual metaphors of fear in the Thai language in the framework of Cognitive Linguistics Theory. Data are from 2 selected Thai Broadcastings that were broadcasted between January 2014 – December 2015; namely, Killer Karaoke Thailand “Bor Pak Jai” and “Kon Hua Look” and Kon Uat Phee “La Tha Phee”. In addition, ten edited short stories published between 2008 - 2013. Words  and phrases indicated Fear were selected through qualification searching which was the prototype and the analysis of conceptual metaphor according to Lakoff, G. & Kövecses, Z. (1987) and Kövecses, Z. (2002) (2005) (2006). The finding of study reveals that there are 9 types of conceptual metaphors of fear in Thai language: Superior, Agriculture, Natural phenomenon, Food, Resource, War, Animal, Human and Material metaphors. The highest frequency of conceptual metaphors is Human, especially body parts. The conceptual

Downloads

Download data is not yet available.

Downloads

Published

2017-11-27

Issue

Section

บทความวิจัย (Research Article)