การกลายเป็นเมืองและระดับการมีส่วนร่วมของชุมชนรอบมหาวิทยาลัยพะเยา Urbanization and Ladder of Citizen Participation in the communities surrounding the University of Phayao

Authors

  • Dararat khampeng Department of Political and Social Science, University of Phayao

Keywords:

ระดับการมีส่วนร่วม, การกลายเป็นเมือง, Ladder of Political Participation, Urbanization

Abstract

บทคัดย่อ

บทความเรื่อง การกลายเป็นเมืองและระดับการมีส่วนร่วมของชุมชนรอบมหาวิทยาลัยพะเยา มีวัตถุประสงค์ 3 ประการ คือ 1) เพื่อศึกษาการกลายเป็นเมืองในมิติทางการเมืองการปกครองของชุมชนรอบมหาวิทยาลัยพะเยา 2) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ของกระบวนการกลายเป็นเมืองและการมีส่วนร่วมของชุมชนรอบมหาวิทยาลัยพะเยา และ 3) เพื่อศึกษาระดับการมีส่วนร่วมของชุมชนรอบมหาวิทยาลัยพะเยาตามทฤษฎีตัวแบบขั้นบันไดการมีส่วนร่วมของพลเมือง หรือ Ladder of Citizen Participation ของ Sherry Arnstein

ผลการวิจัยพบว่า 1) ชุมชนรอบมหาวิทยาลัยพะเยามีการกลายเป็นเมืองในมิติทางด้านการเมืองการปกครองเกิดขึ้น จากการยกฐานะรูปแบบการปกครองท้องถิ่นเป็น “เทศบาลตำบล” ซึ่งมีความสัมพันธ์กับช่วงระยะเวลาของการก่อตั้งมหาวิทยาลัยพะเยา 2) การมีส่วนร่วมของชุมชนรอบมหาวิทยาลัยหลังกระบวนการกลายเป็นเมือง เมื่อพิจารณาตามทฤษฎีตัวแบบขั้นบันไดการมีส่วนร่วมของ Sherry R. Arnstein พบว่าอยู่ในระดับที่ 5 คือ ระดับการปลอบใจ (Placation) ซึ่งหมายถึงการที่ประชาชนเริ่มที่จะมีอิทธิพลในการตัดสินใจร่วมกับรัฐ ในการให้คำปรึกษาหรือเข้าร่วมในกระบวนการวางแผนได้อย่างไม่มีขอบเขต แต่การตัดสินใจในขั้นสุดท้ายยังเป็นดุลยพินิจของผู้มีอำนาจที่สามารถนำเอาคำปรึกษาหรือคำแนะนำของประชาชนมาพิจารณาประกอบการตัดสินใจ โดยผ่านลักษณะการรวมกลุ่มทั้งที่เป็นทางการ และไม่เป็นทางการ พฤติกรรมการเข้าร่วมประชาคมหมู่บ้าน และการเลือกตั้งของประชาชน

Abstract

This article entitled “Urbanization and Ladder of Political Participation in Communities around University of Phayao” has three objectives including (1) to study political dimension of urbanization in Maeka communities surrounding the University of Phayao (2) to study relations between the urbanization and public participation (3) to study the level of citizen participation in the communities regarding Sherry Arnstein’s Ladder of Citizen Participation model.

Two findings are concluded. One is that the surrounding communities are politically urbanized. Evidently, Maeka local government is upgraded to sub-district municipality amidst the urbanization caused by the establishment of the University of Phayao. Another is that, according to Sherry Arnstein’s framework, public participation in effect of the urbanization is at level 5 (Placation). This means that citizens are influential in the government’s decision-making, consultation and planning without limits. However, final decisions are under discretion of those in power. They gather advices from citizens through activities such as formal and informal group discussion, village meeting and local elections. These advices are eventually taken into their consideration to make a final decision.

Downloads

Published

2017-06-22

Issue

Section

บทความวิจัย (Research Article)