การสื่อสารเพื่อการพัฒนาสินค้าเชิงวัฒนธรรมม้งอย่างยั่งยืนในพื้นที่ตำบลเข็กน้อย จังหวัดเพชรบูรณ์ Communication for Development of The Hmong Cultural Products and Sustainable Concept in Kheknoi Sub - District Phetchabun Province

Authors

  • Nathapat Chaitip Faculty of BEC , Naresuan University

Keywords:

รูปแบบการสื่อสาร, การสื่อสารแบบมีส่วนร่วม

Abstract

บทคัดย่อ

การวิจัยเรื่อง การสื่อสารเพื่อการพัฒนาสินค้าเชิงวัฒนธรรมม้งอย่างยั่งยืนในพื้นที่ตำบลเข็กน้อย จังหวัดเพชรบูรณ์ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันการสื่อสารเพื่อการพัฒนาสินค้าเชิงวัฒนธรรมม้งอย่างยั่งยืนในพื้นที่ตำบลเข็กน้อย จังหวัดเพชรบูรณ์ และเพื่อสร้างรูปแบบการสื่อสารเพื่อการพัฒนาสินค้าเชิงวัฒนธรรมม้งอย่างยั่งยืนในพื้นที่ตำบลเข็กน้อย จังหวัดเพชรบูรณ์

งานวิจัยนี้เป็นวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้วิธีการสัมภาษณ์แบบเจาะลึกและการจัดการสนทนากลุ่ม จากผู้ให้ข้อมูลหลักทั้งหมด 15 คน ได้แก่ ตัวแทนวัฒนธรรมอำเภอเขาค้อ นกยกองค์การบริหารส่วนตำบลเข็กน้อย นักพัฒนาชุมชนในตำบลเข็กน้อย ผู้ใหญ่บ้านในชุมชน ปราชญ์ชาวบ้านในตำบลเข็กน้อยและผู้ผลิตสินค้าวัฒนธรรมม้ง

 ผลการวิจัยตามวัตถุประสงค์ข้อที่ 1 การศึกษาสภาพปัจจุบันการสื่อสารเพื่อการพัฒนาสินค้าเชิงวัฒนธรรมม้ง

อย่างยั่งยืนในพื้นที่ตำบลเข็กน้อย จังหวัดเพชรบูรณ์ พบว่า 1. ผู้ส่งสารมีสภาพการสื่อสาร คือ 1) รูปแบบการสื่อสารแบบเป็นทางการ  ไม่เป็นทางการ ทิศทางการสื่อสารแบบแนวดิ่ง แนวตั้ง แนวนอน แนวไขว้ และมีวิธีการสื่อสารแบบทางเดียวและสองทาง 2. สาร คือ 1) ข่าวสารการจัดโครงการในชุมชน 2) ข่าวสารการปักผ้าม้ง 3) ข่าวทั่วไปในชุมชน 3.สื่อที่มีในชุมชน คือ 1) สื่อบุคคล 2) สื่อพื้นบ้าน 3) สื่อใหม่ 4) สื่อเฉพาะกิจ 5. อุปสรรคหรือปัญหาทางด้านการสื่อสารและการพัฒนาสินค้าเชิงวัฒนธรรมม้งของคนในชุมชนม้ง คือ 1).ปัญหาทางด้านการออกแบบผลิตภัณฑ์ 2) ปัญหาด้านสารของการจัดอบรมพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่จัดอบรมอยู่ยังไม่เป็นที่สนใจของกลุ่มผู้ผลิตสินค้าเชิงวัฒนธรรมในชุมชน 3) ปัญหาด้านการสื่อสารหรือการประชาสัมพันธ์กิจกรรมหรือโครงการอบรมพัฒนาผลิตภัณฑ์ยังไม่ตรงกับประชาชนกลุ่มเป้าหมาย

ผลการวิจัยตามวัตถุประสงค์ข้อที่ 2 เพื่อสร้างรูปแบบการสื่อสารเพื่อการพัฒนาสินค้าเชิงวัฒนธรรมม้งอย่างยั่งยืนในพื้นที่ตำบลเข็กน้อย จังหวัดเพชรบูรณ์ ผู้วิจัยได้สร้างรูปแบบหรือโมเดลการสื่อสาร ที่มีชื่อว่า 6Ps Communication Model จากแนวคิดการสื่อสารเพื่อการพัฒนาและแนวคิดการสื่อสารแบบมีส่วนร่วมมาประยุกต์ใช้ในการออกแบบ ประกอบไปด้วย 6 ขั้นตอนดังนี้  1) P1 Problem คือ ปัญหาทางด้านการออกแบบผลิตภัณฑ์ ปัญหาด้านสารของการจัดอบรมพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่จัดอบรมอยู่ยังไม่เป็นที่สนใจของกลุ่มผู้ผลิตสินค้าเชิงวัฒนธรรมในชุมชน ปัญหาด้านการสื่อสารหรือการประชาสัมพันธ์กิจกรรมหรือโครงการอบรมพัฒนาผลิตภัณฑ์ยังไม่ตรงกับประชาชนกลุ่มเป้าหมาย 2) P2 Participant คือ ผู้มีส่วนร่วมทุกภาคส่วน ทั้ง 4 กลุ่มหรือผู้ให้ข้อมูลหลัก ได้แก่ กลุ่มผู้ส่งเสริมสนับสนุน กลุ่มนักพัฒนา กลุ่มปราชญ์ชาวบ้านและกลุ่มผู้ผลิตสินค้าเชิงวัฒนธรรมม้ง ซึ่งทั้ง 4 กลุ่มจะต้องมีส่วนร่วมอย่างเท่าเทียมกันทุกฝ่าย 3) P3 Public areas creation คือ การสร้างพื้นที่สาธารณะ ในรูปแบบของการการประชุมหรือเสวนา จะต้องมีการประชุมก่อนจัดโครงการอบรมเพื่อการวางแผนและหลังจัดโครงการอบรมเพื่อเป็นการติดตามและประเมินผล 4) P4 Problem Analysis คือ การวิเคราะห์ถึงปัญหาและหาแนวทางการแก้ไขปัญหาอย่างเหมาะสม 5) P5 Planning คือ การวางแผนหาวิธีการแก้ไขปัญหาเพื่อการพัฒนาผลิตภัณฑ์หรือสินค้าเชิงวัฒนธรรมม้งไปในทิศทางที่เหมาะสมและยั่งยืน  6) P6 Project หมายถึง โครงการอบรมพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชนชาวม้งตำบลเข็กน้อย เป็นโครงการเพื่อใช้ในการแก้ไขปัญหาและพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชนชาวม้งไปในทิศทางที่ยั่งยืน

Abstract

The research on communications for development of The Hmong cultural products and sustainable concept in Khek Noi sub-district, Phetchabun province, is aimed to study the current communications for development of The Hmong cultural products and sustainable concept in Khek Noi sub-district, Phetchabun province, and to create a communications model for development of The Hmong cultural products and sustainable concept in Khek Noi sub-district, Phetchabun province.

This piece of work is a qualitative research using in-depth interviews and group discussions with 15 primary informants i.e. representatives from culture sector of Khao Kho district, the chief executive of Khek Noi sub-district, the community developer of Khek Noi sub-district, the headman of Khek Noi sub-district, the scholar of Khek Noi sub-district and the producers of Hmong's cultural products.

Result of 1st objective, the current communications state for development of The Hmong cultural products and sustainable concept in Khek Noi sub-district, Phetchabun province, reveals the Communication as follows : 1. Sender – 1) Formal Communication, Informal Communication, Downward Communication, Upward Communication, Horizontal Communication, Diagonal Communication Two-way Communication and One-way Communication.  2. Message – Project for Community News 2) The Hmong Cultural Products New 3) Information New.  3. Media – Human Media 2) Folk Media 3) New Media 4) Specializd Media. 4. Receiver - 1) Formal Communication, Informal Communication, Downward Communication, Upward Communication, Horizontal Communication, Diagonal Communication Two-way Communication One-way Communication. 5. Feedback - reveals the obstacles and problem as follows : 1) problems of product design 2) problems of the substance of the product development training being of no interest to the group of cultural products producers in the community 3) problems of communications or public relations or the projects of the products training not yet meeting the target group needs.

Result of 2nd objective, a communications model for development of The Hmong cultural products and sustainable concept in Khek Noi sub-district, Phetchabun province. The researchers have come up with a communication model so called "6Ps Communication Model" which is based on the concept of communications for development and the concept of participatory communication. The model consists of the following : 1) P1 Problem - problems of product design, problems of the substance of product development training which are not yet in the interest of the producers of the cultural products in the community, problems of communications or public relations activities or projects of the products training not yet in line with the target group needs. 2) P2 Participants - participants from all 4 groups or the major informants i.e. promoter group, developer group, scholar group and group of producers of Hmong's cultural products and all 4 group have participation equality. 3) P3 Public area creation - creation of public spaces open for free communications in the form of meetings or seminars so as to brainstorm ideas in identifying problems, before the First form of meetings for planning and after the final form of meetings for monitoring and Evaluation 4) P4 Problem analysis - meaning analysis of causes, factors and problems of Hmong's products or of cultural products in addition to finding of appropriate solutions. 5) P5 Planning - meaning setting up of development solution plans for Hmong's products or cultural products in a suitable and sustainable direction. 6) P6 Project - meaning training projects of product development for Hmong in Khek Noi sub-district in order to solve problems of and to develop Hmong's products in Khek Noi sub-district community in the sustainable direction.

Downloads

Published

2017-06-22

Issue

Section

บทความวิจัย (Research Article)