ข้อตกลง
1. บทความทุกบทความจะได้รับการพิจารณาจากผู้ทรงคุณวุฒิ (Peer review) ที่ตรงตามสาขาวิชา โดยทุกบทความจะต้องผ่านการพิจารณาจากผู้ทรงคุณวุฒิ อย่างน้อยบทความละ 3 ท่าน
2. บทความ ข้อความ ภาพประกอบ และตารางใด ๆ ที่ตีพิมพ์ในวารสารอารยธรรมศึกษา โขง-สาละวิน เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียน กองบรรณาธิการไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยเสมอไป และไม่ใช่ความรับผิดชอบของ กองส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยนเรศวร ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนแต่เพียงผู้เดียว
3. บทความจะต้องไม่เคยตีพิมพ์เผยแพร่ที่ใดมาก่อน และไม่อยู่ระหว่างการพิจารณาของวารสารฉบับอื่น หากตรวจสอบพบว่ามีการตีพิมพ์ซ้ำซ้อน ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนแต่เพียงผู้เดียว
4. บทความที่ส่งถึงกองบรรณาธิการ ขอสงวนสิทธิ์จะไม่ส่งคืน
ชื่อพืช โลกทัศน์ และภูมิปัญญาไทครั่งภูมิภาคเหนือตอนล่าง Plant Names, Worldviews and Wisdom of Tai Khrang in the Lower Northern Region
Keywords:
ชาติพันธุ์ไทครั่ง, ชื่อพืช, โลกทัศน์, ภูมิปัญญา, พฤษศาสตร์ชาติพันธุ์, Tai Khrang ethnicity, plant names, worldviews, wisdom, ethno-botanyAbstract
บทคัดย่อ
การศึกษาคุณลักษณะทางภาษาศาสตร์ของชื่อพืชในภาษาชาติพันธุ์ไท เผยให้เห็นถึงประโยชน์ของภาษาศาสตร์ที่มีต่อพฤกษศาสตร์ชาติพันธุ์ว่าเป็นเสมือนกุญแจสำคัญในการศึกษาด้านพฤกษศาสตร์ชาติพันธุ์ เนื่องจากภาษาเป็นกระจกเงาสะท้อนโลกทัศน์และความคิด ตลอดจนภูมิปัญญาในการดำรงชีวิตในอยู่รอดปลอดภัยของมนุษย์ ยิ่งมีความเข้าใจในตัวภาษามากเท่าไร ก็ยิ่งเข้าใจในตัวผู้พูดภาษามากเท่านั้น ในการที่จะเข้าใจมุมมองของมนุษย์ที่มีต่อพืชแวดล้อมก็จะต้องทำความเข้าใจภาษาที่ใช้เรียกชื่อพืชของมนุษย์ การศึกษาการเรียกชื่อพืชโดยวิธีการทางภาษาศาสตร์จึงเป็นการนำไปสู่ความเข้าใจมุมมองดังกล่าว และเป็นเหตุให้นักพฤกษศาสตร์ชาติพันธุ์สนใจศึกษาภาษาเพื่อที่จะทำการสืบค้นไปถึงภูมิปัญญาของผู้พูดภาษานั้นๆ
คำสำคัญ: ชาติพันธุ์ไทครั่ง, ชื่อพืช, โลกทัศน์, ภูมิปัญญา, พฤกษศาสตร์ชาติพันธุ์
Abstract
The study of linguistic properties of plant names in Tai languages reveals that linguistics benefits ethno-botany as a key to the field because languages could reflect people worldviews, thoughts and wisdom in living their lives safely. The more we know a particular language, the more we understand its speakers. To understand the human viewpoint about surrounding plants, we have to get insight in human languages. Linguistics is thus an efficient means to such the view and is the reason why ethno-botanists are interested in the language studies to examine the wisdom of such language speakers.
Keywords: Tai Khrang ethnicity, plant names, worldviews, wisdom, ethno-botany