กลยุทธ์การพัฒนาการท่องเที่ยวจังหวัดกาญจนบุรี เชื่อมโยงประเทศไทย และเมืองทวาย สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาร์ The tourism development strategy of Kanchanaburi Province: the key link between Thailand and the City of Dawei of Republic of the Union of Myanmar.

Authors

  • chaloempon sritong นักศึกษาปริญญาเอก สาขาวิชาการจัดการการท่องเที่ยว วิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยพะเยา

Keywords:

กลยุทธ์การพัฒนา, การท่องเที่ยว, เขตเศรษฐกิจพิเศษ, การค้าชายแดน, Development Strategies, Tourism

Abstract

บทคัดย่อ

    การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาภาพรวมการท่องเที่ยว วิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายในและภายนอก (SWOT Analysis) เพื่อการพัฒนาและส่งเสริมการท่องเที่ยวจังหวัดกาญจนบุรี โดยมีจุดเชื่อมโยงระหว่างประเทศไทย และเมืองทวายสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาร์ การเก็บข้อมูลมีทั้งแบบปฐมภูมิ และทุติยภูมิ ข้อมูลปฐมภูมิ เป็นการเก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์เชิงลึกจากประชากร 3 กลุ่ม จำนวน 26 คน ได้แก่ 1) หน่วยงานภาครัฐ 10 คน 2) หน่วยงานภาคเอกชน  9 คน 3) ประชาชนในพื้นที่ 7 คน เลือกแบบเฉพาะเจาะจง จากการสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง ใช้เทคนิคการเลือกแบบลูกโซ่ และการสังเกตแบบมีส่วนร่วม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยเทคนิคการวิเคราะห์เนื้อหา

     ผลการศึกษาพบว่า จังหวัดกาญจนบุรี มีแหล่งท่องเที่ยวจำนวนมากและกระจายทุกอำเภอ ส่วนเมืองทวาย  มีแหล่งท่องเที่ยวน้อยส่วนใหญ่เป็นโบราณสถานและวัด กลยุทธ์การพัฒนาการท่องเที่ยวจังหวัดกาญจนบุรี เชื่อมโยงเมืองทวายประกอบด้วย 6 ประเด็น คือ 1) กลยุทธ์การบริหารจัดการการท่องเที่ยวเชิงพื้นที่ และชุมชนแบบบูรณาการ 2) กลยุทธ์การพัฒนาสินค้าและบริการการท่องเที่ยวให้ได้มาตรฐาน 3) กลยุทธ์การพัฒนาการท่องเที่ยวเชื่อมโยงภายในจังหวัด และระหว่างประเทศ 4) กลยุทธ์การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน สิ่งอำนวยความสะดวก และเส้นทางการท่องเที่ยวปลอดภัย 5) กลยุทธ์การพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวแห่งใหม่และปรับปรุงแหล่งท่องเที่ยวเดิมอย่างสมดุลและยั่งยืน และ 6) กลยุทธ์การพัฒนาการตลาดการท่องเที่ยวเพื่อตอบสนองความต้องการนักท่องเที่ยวทั้งภายในและต่างประเทศ

Abstract

     This study explored a general review of tourism environment, internal and external (SWOT Analysis) analyses for developing and promoting tourism in Kanchanaburi Province, which is a link between Thailand and Dawei of Republic of the Union of Myanmar. Primary and secondary data were collected through in-depth interviews from 26 representatives of 3 sectors: 1) 10 government officials 2) 9 officials of private sectors and 3) 7 local people.  The samples were chosen specifically to interview by using the semi-structural use, participatory observation data analysis and content analysis techniques.       

      This study revealed that Kanchanaburi Province is composed of many tourist attractions which are located in every district, where as Dawei of Republic of the Union of Myanmar has not many tourist attractions and most of them are ancient temples. The tourism development strategy is to link Kanchanaburi Province to Dawei in six dimensions 1) area-based tourism and integrated community management strategy 2) goods and tourism services developments strategy to meet the standard level 3) Kanchanaburi and Dawei tourism linkages developments strategy 4) infrastructure, facilities and travel routes developments strategy 5) new tourist attractions and sustainable improvement of existing tourist attractions developments strategy and 6) tourism marketing developments strategy to meet the needs of both local and foreign tourists.

Downloads

Additional Files

Published

2017-06-22

Issue

Section

บทความวิจัย (Research Article)