ข้อตกลง
1. บทความทุกบทความจะได้รับการพิจารณาจากผู้ทรงคุณวุฒิ (Peer review) ที่ตรงตามสาขาวิชา โดยทุกบทความจะต้องผ่านการพิจารณาจากผู้ทรงคุณวุฒิ อย่างน้อยบทความละ 3 ท่าน
2. บทความ ข้อความ ภาพประกอบ และตารางใด ๆ ที่ตีพิมพ์ในวารสารอารยธรรมศึกษา โขง-สาละวิน เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียน กองบรรณาธิการไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยเสมอไป และไม่ใช่ความรับผิดชอบของ กองส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยนเรศวร ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนแต่เพียงผู้เดียว
3. บทความจะต้องไม่เคยตีพิมพ์เผยแพร่ที่ใดมาก่อน และไม่อยู่ระหว่างการพิจารณาของวารสารฉบับอื่น หากตรวจสอบพบว่ามีการตีพิมพ์ซ้ำซ้อน ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนแต่เพียงผู้เดียว
4. บทความที่ส่งถึงกองบรรณาธิการ ขอสงวนสิทธิ์จะไม่ส่งคืน
มโนทัศน์ “ความเป็นไทย” ในวิชาสังคมศึกษา: การเปลี่ยนผ่านบนพื้นที่เชิงอำนาจในสังคมยุคหลังสมัยใหม่;The Concept of Thainess in Social Studies Subjects: Decentralization of Power in the Age of Postmodernity
Keywords:
ความเป็นไทย, สังคมศึกษา, การศึกษาเพื่อสร้างความเป็นพลเมือง, โลกยุคหลังสมัยใหม่, Thainess, Social Studies, Education for Citizenship, Postmodern SocietyAbstract
บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อ 1) ทบทวนและวิพากษ์มโนทัศน์ความเป็นไทยที่อยู่ในกระบวนทัศน์ของพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พุทธศักราช 2542 แผนพัฒนาการศึกษาแห่งชาติ พุทธศักราช 2560 - 2574 และการจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาพลเมืองผ่านหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ในรายวิชาสังคมศึกษา 2) อภิปรายถึง “ความเป็นไทย” ในฐานะเครื่องมือทางการเมืองที่ส่งผลต่อการจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาความเป็นพลเมืองในยุคหลังสมัยใหม่ และ 3) นำเสนอถึงแนวทางการจัดการเรียนการสอนสังคมศึกษาเพื่อเตรียมพลเมืองไทยในยุคหลังสมัยใหม่ ซึ่งข้อสรุปสำคัญในบทความนี้คือ “ความเป็นไทย” ตามแบบจารีตดั้งเดิมนั้นเป็นอุปสรรคหนึ่งในการจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาความเป็นพลเมือง เนื่องจากกระบวนทัศน์หรือมโนทัศน์ “ความเป็นไทย” แบบจารีตนั้นถูกใช้เป็นเครื่องมือทางการเมืองในการหล่อหลอมกล่อมเกลาพลเมืองตามแบบจารีตที่สยบยอมกับค่านิยมจารีตดั้งเดิมของสังคมไทยซึ่งไม่สามารถตอบสนองต่อสังคมโลกที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและซับซ้อนได้ ดังนั้นการสอนสังคมศึกษาในโลกยุคหลังสมัยใหม่ต้องเปิดพื้นที่เพื่อให้ผู้เรียนตระหนักรู้ในความเป็นมนุษย์ของตนเองและผู้อื่น สามารถนิยาม “ความเป็นไทย” ได้ด้วยตนเอง ตลอดจนแบ่งปันคุณค่า “ความเป็นไทย” ต่อผู้อื่นอย่างมีความหมายและส่งเสริมชุดคุณค่าสากลแห่งพลเมืองโลกในยุคหลังสมัยใหม่
This article aims to 1) review and critique the concept Thainess in Thailand’s BE 2542 National Education Act, the BE 2555 National Education Development Plan, and the provision of education for civil development in the BE 2551 Basic Education Curriculum, especially as related to the subjects of social studies, 2) discuss the political discourse regarding to Thainess which affects the education for civil development in Thailand, and 3) suggest a good teaching method for teaching social studies subjects to inculcate citizens for the age of postmodernity. The article concludes that the traditional Thainess is an obstacle to civil development in the age of postmodernity because it is used as a tool of conservative politics. In addition, it does not open an area for people to define their own Thainess. As a result, the teaching of social studies subjects should open up students’ awareness of who they are and what capacity they have so that they can share the meaning of Thainess appropriate for the age of postmodernity.