คีตลักษณ์วิเคราะห์กลองยาวอีสาน ในอำเภอพล จังหวัดขอนแก่น A MUSICAL ANALYSIS OF KLONG YAO DRUM OF I-SAN CULTUREIN PHOL DISTRICT, KHON KAEN PROVINCE.

Authors

  • Mr.NATTHAWUT PRUKSASRI college of music mahidol University
  • DR.NACHAYA NATCHANAWAKUL college of music mahidol University

Keywords:

KLONG YAO I-SAN DRUM

Abstract

บทคัดย่อ

งานวิจัยเรื่องคีตลักษณ์วิเคราะห์กลองยาวอีสาน ในอำเภอพล จังหวัดขอนแก่น มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประวัติกลองยาวอีสานและ วิเคราะห์คีตลักษณ์ ของ วงกลองยาวอีสานดั้งเดิม วงกลองยาวอีสานดั้งเดิมผสมประยุกต์และวงกลองยาวอีสานประยุกต์ในเขตอำเภอพล จังหวัดขอนแก่น ดำเนินการวิจัยโดยศึกษาข้อมูลจากเอกสาร สัมภาษณ์ สังเกตแล้วนำมาศึกษาวิเคราะห์ และนำเสนอในรูปแบบพรรณนาวิเคราะห์ ผลการวิจัย พบว่า กลองยาวอีสานในอำเภอพล จังหวัดขอนแก่น ได้เริ่มมีการริเริ่มนำกลองยาวอีสานดั้งเดิม มาจากจังหวัดมหาสารคาม นับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2534 เป็นต้นมา จากนั้นชาวบ้านในอำเภอพล จึงเริ่มพัฒนารูปการแสดง ก่อตั้งเป็นวงกลองยาวอีสานดั้งเดิมผสมประยุกต์ และวงกลองยาวอีสานประยุกต์ตามมา กลองยาวทั้ง 3 ประเภท เริ่มแรกมีบทบาทเพื่อใช้ในงานประโคมแห่ ประเพณีบุญฮีตสิบสองและงานมงคลของหมู่บ้านเท่านั้น เมื่อศึกษาคีตลักษณ์วิเคราะห์ของวงกลองยาวอีสานแต่ละประเภท พบว่ามีความแตกต่างกันไปตามวัตถุประสงค์ในการใช้งาน แต่มีการใช้จังหวะพื้นฐานเดียวกัน คือ ลายกินป่นกุ้ง หากแต่มีความแตกต่างไปตามการดัดแปลงให้เข้ากับท่ารำและลีลาการบรรเลงของวงกลองยาวอีสานแต่ละประเภท จากการศึกษารูปแบบการบรรเลงวงกลองยาวอีสานดั้งเดิม มีเพียงกลองยาวอีสานผสมกับเครื่องประกอบจังหวะเท่านั้น เน้นการตีเฉพาะจังหวะกลองสลับ
กับการฟ้อน รูปแบบจังหวะมีความเรียบง่าย ไม่สลับซับซ้อน ใช้ลายไหว้ครูบรรเลงนำก่อนการแสดง ในขณะที่วงกลองยาวอีสานดั้งเดิมผสมประยุกต์ มีการใช้เครื่องดนตรีไฟฟ้า เช่น พิณไฟฟ้า พิณเบส คีย์บอร์ด และกลองชุดเพิ่มเติมเข้ามา เน้นบรรเลงประกอบฟ้อนเป็นหลักเนื่องจากใช้เพื่อการแข่งขัน รูปแบบเพลงที่ใช้ในวงกลองยาวอีสานดั้งเดิมผสมประยุกต์ จึงมีการจัดเรียง โดยลายต่างๆแบ่งการบรรเลงเป็น 2 ช่วง ช่วงที่ 1 บรรเลงในแบบดั้งเดิม มีการฟ้อนประกอบ ลักษณะทำนองไม่ช้าหรือเร็วเกินไป สามารถประดิษฐ์ท่าฟ้อนประกอบจังหวะได้ตามความสามารถของแต่ละวง และช่วงที่ 2 เป็นการบรรเลงประยุกต์ โดยบรรเลงเข้ากับเครื่องดนตรีสมัยใหม่ ในทำนองลายลำเพลิน ถือเป็นการแสดงทักษะของผู้บรรเลงเครื่องดนตรีกลุ่มดำเนินทำนอง มีการบรรเลงกระสวนจังหวะกลองต่างๆ ประกอบการฟ้อนที่สนุกสนาน และสุดท้ายคือวงกลองยาวอีสานประยุกต์ มีการผสมวงเช่นเดียวกับวงกลองยาวดั้งเดิมผสมประยุกต์ลักษณะการบรรเลงจะบรรเลงแบบประยุกต์เฉพาะทำนองดนตรีเท่านั้น ไม่นิยมบรรเลงแบบดั้งเดิม บทเพลงที่นำมาใช้ขึ้นอยู่กับความนิยมของผู้ฟังเป็นหลัก ตัดตอนเฉพาะส่วนทำนองขึ้นต้นแล้วจึงต่อด้วยลายลำเพลิน ซึ่งมีจังหวะและลีลาที่เร้าใจ กลองยาวอีสานและเครื่องกำกับจังหวะทำหน้าที่เพียงตีจังหวะหลักเท่านั้น โดยมีกลองชุดทำหน้าที่บรรเลงแทน ปัจจุบัน วงกลองยาวทั้ง 3 ประเภท ยังคงมีบทบาทในอำเภอพล จังหวัดขอนแก่น แต่สังคมที่เปลี่ยนไปทำให้การใช้วงกลองยาวในงานบุญประเพณีลดน้อยลงคงเหลือไว้ซึ่งบทบาทการให้ความบันเทิงในขบวนแห่ และใช้ในการแข่งขันโดยรูปแบบการแสดงมีการปรับเปลี่ยนไปตามค่านิยมของคนในท้องถิ่นเป็นสำคัญ

ABSTRACT

This research focused on studying history and musical analysis of Klong Yao Drum of I-San culture in Phol district, Khon Kaen province, which the drum bands consist of three types: a traditional band, traditional-applied band, and applied band. The research was conducted based on standard research methodology including gathering documents, interviewing, observing, analysis and descriptive analysis presentation.

The results of the research showed that Klong Yao Drum in Phol district, Khon Kaen province was adopted from the traditional Klong Yao Drum band from Mahasarakham province since 1991. After that, local folks in Phol district have developed playing the traditional-applied band and applied band respectively. At the beginning, all the band types have been played in celebrating customs and ceremonies for a period of twelve months. The musical analysis of each Klong Yao I-San band type showed that it was played for different purposes of performance, but the basic rhythms are the same that is called Lai Kin Pon Kung. However, each drum types differ in the adaptation of dancing and performance. Based on the study, the playing pattern of the traditional band was the combination between Klong Yao I-san Drum and accompaniments. It emphasized on the drum rhythm and dancing with a simple pattern and uses Lai Wai Kru to pay homage before the performance. Meanwhile, the traditional-applied band included electrical music instruments such as I-San lute, bass, keyboard, and drum set into the band and focused on dancing style because it can be used for competitions. Therefore, the pattern for playing the traditional-applied band was then arranged into two parts. First, the traditional playing was performed using normal tempo, which is not too slow or too fast. Dancing style can be applied based on the playing skill of the band. Second, the applied playing will be performed together with I-San lute and keyboard using Lai LumPlearn to show playing skill of the musician as well as the entertaining dancer. Finally, the applied band arrangement was similar to the traditional-applied band, but it only played the applied rhythm. The playing songs depended on the audience, with cut at the beginning of the pattern then followed with stimulating Lai LumPlearn. The percussions were only used to control the rhythm while the drum set to play the melody instead. Recently, all the bands play important role in Phol district, KhonKaen province. However, the change of the community decreases the role of the Klong Yao Drum band in celebrating cultures, but it remains its role as entertainment in the procession and it is also uses for competitions. The playing style was changed based on the popularity of local people.

Downloads

Download data is not yet available.

Author Biographies

Mr.NATTHAWUT PRUKSASRI, college of music mahidol University

MASTER OF ARTS PROGRAM IN MUSICOLOGY

DR.NACHAYA NATCHANAWAKUL, college of music mahidol University

อาจารย์ ดร.ณัฐชยา  นัจจนาวากุล

คุณวุฒิ

คุณวุฒิ

สาขาวิชา

สำเร็จการศึกษาจาก

สถาบัน

ประเทศ

พ.ศ.

ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปร.ด)

ดนตรีวิทยา

มหาวิทยาลัยมหิดล

ไทย

๒๕๕๕

ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (ศศ.ม)

ดุริยางค์ไทย

 

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ไทย

๒๕๔๓

ศิลปกรรมศาสตรบัณฑิต (ศป.บ)

ดุริยางค์ไทย

 

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ไทย

๒๕๓๘

สังกัด : วิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดล

 

งานวิจัยที่สนใจหรือมีความชำนาญการ

๑.      ประวัติศาสตร์ดนตรีไทย

๒.         ดนตรีไทยปฏิบัติ

๓.         ดนตรีวิทยา

 

ผลงานวิจัยหรือผลงานทางวิชาการที่ได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารทางวิชาการที่เชื่อถือได้ในรอบ ๕ ปี

บทความ

๑.   เอกสารประกอบการประชุมวิชาการ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวกับการดนตรี  โดยวิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดล

๒.    บทความวิจัย เรื่อง กระบวนการเรียนรู้เพื่อการอนุรักษ์และพัฒนารูปแบบการแสดงมังคละ ในเขตภาคเหนือตอนล่าง (Learning Process for Conservation and Development of The Mangaka Performance in the Lower Northern of Thailand.) วารสารอารยธรรมศึกษาโขง-สาละวิน ปีที่ ๘ ฉบับที่ ๑ ประจำเดือน มกราคม – มิถุนายน ๒๕๖๐

งานวิจัย

ณัฐชยา  นัจจนาวากุล. ( ๒๕๔๕).สถานภาพและบทบาทของวงเครื่องสายไทยในสมัยรัชกาลที่ ๕. คณะ

           มนุษยศาสตร์ ม.นเรศวร

ณัฐชยา  นัจจนาวากุล. (๒๕๔๗).  การวิเคราะห์เพลงเดี่ยวจะเข้ ทุนวิจัยคณะมนุษยศาสตร์ ม.นเรศวร

ณัฐชยา  นัจจนาวากุล. (๒๕๕๘).  ประวัติและพัฒนาการวงเครื่องสายผสม. ม.นเรศวร

ณัฐชยา  นัจจนาวากุล. (๒๕๕๙).  กระบวนการเรียนรู้เพื่อการอนุรักษ์และพัฒนารูปแบบการแสดงมังคละ

            ในเขตภาคเหนือตอนล่าง. สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย  

 

 

ทุนที่ได้รับ

          ๑. กองทุนพัฒนาอาจารย์ มหาวิทยาลัยนเรศวร เพื่อศึกษาต่อในระดับบัณฑิตศึกษา

          ๒. ทุนโครงการเครือข่ายเชิงกลยุทธ์เพื่อการผลิตและพัฒนาอาจารย์ในสถาบันอุดมศึกษา  สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา  ประจำปี  ๒๕๕๐ เพื่อศึกษาในระดับปริญญาเอก

          ๓. ทุนสนับสนุนงานวิจัย ระดับบัณฑิตศึกษา โดย มูลนิธิพระบรมราชานุสรณ์พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี ประจำปี  ๒๕๔๒

          ๔. ทุนสนับสนุนงานวิจัย กองทุนวิจัย มหาวิทยาลัยนเรศวร

          ๕. ทุนสนับสนุนระยะสั้น โดยกระทรวงการต่างประเทศอินโดนีเซีย  2005  Indonesian Arts And Culture Scholarships, Ministry of Foreign Affairs, Indonesia. เพื่อศึกษาดนตรีอินโดนีเซีย   ณ เมืองบันดุง เป็นเวลา ๓ เดือน

 

ผลงานอื่น ๆ

๑.    วิทยากรร่วม เสวนา “ดนตรีฝรั่งในท้องถิ่นสยาม”  เนื่องในงานเทศกาลพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่น ครั้งที่ ๒ เรื่อง “สยามใหม่ จากมุมมองท้องถิ่น” เมื่อวันที่ ๒๖ พฤศจิกายน ๒๕๕๓ ณ ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร  ถนนบรมราชชนนี ตลิ่งชัน กรุงเทพฯ

๒.    วิทยากร  ในหัวข้อ  “ครูผู้สอนดนตรีฝรั่งในสมัยรัชการที่ ๖” เนื่องในงานประชุมวิชาการดนตรีวิทยา มหาวิทยาลัยมหิดล วันศุกร์ที่ ๒๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๔ ณ วิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดล

๓.    วิทยากรตัดสินการประกวดดนตรีไทยทั้งประเภทวงปี่พาทย์ประสมเครื่องสาย และเดี่ยวเครื่องดนตรีไทย เนื่องในงานศิลปหัตถกรรมงานศิลปหัตถกรรมนักเรียนระดับชาติครั้งที่ ๖๑   ณ ศูนย์แสดงสินค้าและการประชุมเมืองทองธานี จังหวัดนนทบุรี

๔.    วิทยากรตัดสินการประกวดดนตรีไทย  การประกวดดนตรีไทยภาคตะวันออกเฉียง เหนือ ชิงถ้วยพระราชทานสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี  และถ้วยประทานพระเจ้า วรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี พระวรราชาทินัดดามาตุ   

๕.    วิทยากรตัดสินการประกวดดนตรีไทย  การประกวดดนตรีไทยนักเรียนภาคเหนือ   ชิงถ้วยพระราชทานสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี   จัดโดย คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร 

๖.    วิทยากรบรรยาย เรื่อง เครื่องสายผสมในสยาม ในโครงการสัมมนาดนตรีไทย บรรยายวิชาการดนตรีไทย เรื่องเครื่องสายผสมในสยาม เนื่องในงานดนตรีไทยฤดูหนาว ครั้งที่ ๒, วันที่ ๗ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๖ ณ คุ้มสีฐาน  มหาวิทยาลัยขอนแก่น

๗. วิทยากรอบรมให้ความรู้ ในโครงการ  "พัฒนาศักยภาพยอดเยาวชนคนรักดนตรีไทย” จังหวัดพิษณุโลก  ณ ห้องสิริราชภัฏ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม (ส่วนวังจันทร์) จัดโดยสำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดพิษณุโลก พ.ศ. ๒๕๕๕

 

๘.  วิทยากรในการประชุมสัมมนาเชิงปฏิบัติการ เพื่อบ่มเพาะอัจฉริยภาพด้านดนตรี "ดุริยพัฒน์ อัจฉริยศิลปิน ๑" โดย สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) กระทรวงศึกษาธิการ  ระหว่างวันที่ ๒๙ เมษายน – ๔ พฤษภาคม ๒๕๕๖ ณ โรงเรียน ภปร.ราชวิทยาลัย

 

การนำเสนอผลงานทางวิชาการ

๑.   การนำเสนอบทความ เรื่อง Mangkala: The Folk Music of Lower Northern Region of Thailand.  ในงาน The 3rd  International Conference for Asia Pacific Arts Studies  ซึ่งจัดโดย Graduate School of Indonesia Institute of the Arts Yogyakarta  ณ เมือง Yogyakarta  ประเทศ Indonesia (๒๐-๒๑ ตุลาคม ๒๕๕๘)

 

 

ภาระงานสอนในปัจจุบัน

๑.   ดศดน ๗๐๕  หัวข้อศึกษาเฉพาะ ๑                                  ๒ (๒-๐-๔)

๒.   ดศดน ๗๐๘  การศึกษาด้วยตนเอง ๒                                ๒ (๒-๐-๔)

๓.   ดศดศ ๖๙๙  วิทยานิพนธ์                                              ๓๖ (๐-๑๐๘-๐)

 

ภาระงานสอนในหลักสูตรปรับปรุง

๑.   ดศดน ๗๐๕  หัวข้อศึกษาเฉพาะ ๑                                  ๒ (๒-๐-๔)

๒.   ดศดน ๗๐๘  การศึกษาด้วยตนเอง ๒                                ๒ (๒-๐-๔)

๓.   ดศดศ ๖๙๙  วิทยานิพนธ์                                              ๓๖ (๐-๑๐๘-๐)

Downloads

Published

2017-11-27

Issue

Section

บทความวิจัย (Research Article)