ข้อตกลง
1. บทความทุกบทความจะได้รับการพิจารณาจากผู้ทรงคุณวุฒิ (Peer review) ที่ตรงตามสาขาวิชา โดยทุกบทความจะต้องผ่านการพิจารณาจากผู้ทรงคุณวุฒิ อย่างน้อยบทความละ 3 ท่าน
2. บทความ ข้อความ ภาพประกอบ และตารางใด ๆ ที่ตีพิมพ์ในวารสารอารยธรรมศึกษา โขง-สาละวิน เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียน กองบรรณาธิการไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยเสมอไป และไม่ใช่ความรับผิดชอบของ กองส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยนเรศวร ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนแต่เพียงผู้เดียว
3. บทความจะต้องไม่เคยตีพิมพ์เผยแพร่ที่ใดมาก่อน และไม่อยู่ระหว่างการพิจารณาของวารสารฉบับอื่น หากตรวจสอบพบว่ามีการตีพิมพ์ซ้ำซ้อน ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนแต่เพียงผู้เดียว
4. บทความที่ส่งถึงกองบรรณาธิการ ขอสงวนสิทธิ์จะไม่ส่งคืน
การวิเคราะห์นิทานพื้นบ้านชาวเขาเผ่าม้งในจังหวัดน่าน An Analysis of Hmong Folktales in Nan Province.
Keywords:
วิเคราะห์นิทานพื้นบ้าน, นิทานพื้นบ้านชาวเขาเผ่าม้ง, ทฤษฎีของเอกเซล โอลริค, ความเชื่อ, Analysis of folktales, The folktales of Hmong, Theory of Axel Olrik, BeliefAbstract
บทคัดย่อ
การวิเคราะห์นิทานพื้นบ้านชาวเขาเผ่าม้ง มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์นิทานพื้นบ้านชาวเขาเผ่าม้งในจังหวัดน่าน ตามทฤษฎีของ เอกเซล โอลริค (Axel Olrik) และวิเคราะห์ความเชื่อที่ปรากฏในนิทานพื้นบ้านชาวเขาเผ่าม้งในจังหวัดน่าน โดยศึกษาจากนิทานพื้นบ้านชาวเขาเผ่าม้ง จำนวน 103 เรื่อง วิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีการวิเคราะห์นิทานโดยอาศัยหลักของเหตุผลแบบ
นิรนัย (Deductive Reasoning) ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ การวิเคราะห์นิทานตามทฤษฎีของเอกเซล โอลริค พบว่า นิทานพื้นบ้านชาวเขาเผ่าม้งในจังหวัดน่าน มีความเป็นสากลตามทฤษฎีของ
เอกเซล โอลริค ทุกกฎ โดยกฎที่พบในนิทานทุกเรื่อง คือกฎของการเริ่มเรื่องและจบเรื่อง รองลงมาได้แก่กฎของโครงเรื่องเดียว และกฎเอกภาพของโครงเรื่อง ตามลำดับ และกฎที่พบน้อย
ที่สุดคือ กฎของฝาแฝด ส่วนความเชื่อที่ปรากฏในนิทาน พบว่าปรากฏทุกความเชื่อ โดยพบมากที่สุด คือ ความเชื่อเรื่องค่านิยม รองลงมาได้แก่ความเชื่อเรื่องไสยศาสตร์ วิญญาณ ภูตผีปิศาจ ผีบรรพบุรุษ และความเชื่อเรื่องประวัติความเป็นมาของลักษณะของคน สัตว์ สิ่งของและสถานที่และความเชื่อเรื่องของวิเศษ ตามลำดับ ความเชื่อที่พบน้อยที่สุดได้แก่ความเชื่อเรื่องสรรพคุณของยากลางบ้าน และความเชื่อเรื่องบาปบุญซึ่งมีบทบาทในชีวิตประจำวัน
คำสำคัญ:วิเคราะห์นิทานพื้นบ้าน, นิทานพื้นบ้านชาวเขาเผ่าม้ง,ทฤษฎีของเอกเซล โอลริค, ความเชื่อ
Abstract
The purposes of this study were to examine the structure of Hmong folktales by applyingAxel Olrik’s theory and to explore the traditional Hmong beliefs as portrayed in those folktales. A total of 103 folktales of the Hmong in Nan province were analyzed using deductive reasoning method. The descriptive analysis was applied in the study. The results revealed that Hmong folktales shared universal characteristics as purposed in the theory of Axel Olrik. Among others, the most frequently occurring characteristic was the law of opening and closing of the stories, followed by the Law of the single strand and the law of the unity of plot. The least frequently occurring characteristic was the law of twin. In addition, it was found that a number of traditional Hmong beliefs were portrayed in the folktales. The most frequently portrayed belief was the value, followed by the beliefs in monster and the beliefs in history and the characteristics of humans. The two least frequently portrayed belief were the property of house medicine and the belief in sin.
Keywords: Analysis of folktales, The folktales of Hmong, Theory of Axel Olrik, Belief