การมีส่วนร่วมของประชาชนในการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ โดยการคืนป่าสู่ธรรมชาติต้นน้ำป่าสักจังหวัดเพชรบูรณ์

ผู้แต่ง

  • Suwat Intaraprapai Faculty of Humanities and Social Sciences Phetchabun Rajabhat University

คำสำคัญ:

water resource management, reforestation to the upstream nature, participation

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้นำเสนอเรื่องการมีส่วนร่วมของประชาชนในการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำโดยการคืนป่าสู่ธรรมชาติต้นน้ำป่าสักจังหวัดเพชรบูรณ์ซึ่งมีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัญหาในการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำลุ่มน้ำป่าสัก 2) เพื่อศึกษาการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำของเครือข่ายอนุรักษ์น้ำลุ่มน้ำป่าสัก 3) เพื่อศึกษารูปแบบการบริหารจัดการต้นน้ำลุ่มน้ำป่าสักโดยการมีส่วนร่วมของประชาชน 4)เพื่อศึกษาการปฏิบัติการจัดกิจกรรมคืนป่าสู่ธรรมชาติของชุมชนต้นน้ำตำบลท่าอิบุญ 5)เพื่อติดตามการบริหารจัดการต้นน้ำลุ่มน้ำป่าสักของชุมชนต้นน้ำป่าสักตำบลท่าอิบุญ กลุ่มตัวที่ใช้ในการวิจัยเชิงปริมาณคือ ประชาชนที่อาศัยอยู่ในเขตตำบลท่าอิบุญ อำเภอหล่มสัก จังหวัดเพชรบูรณ์จำนวน 383 คนได้มาโดยการสุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการสัมภาษณ์และสนทนากลุ่มคือ ผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสียในการใช้น้ำของตำบลท่าอิบุญ จำนวน 29 คน และ 60 คน เลือกกลุ่มตัวอย่างโดยวิธีเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสอบถาม สัมภาษณ์เชิงลึกและประเด็นการสนทนากลุ่ม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและวิธีเชิงพรรณนาวิเคราะห์          ผลการวิจัยพบว่าสภาพปัญหาในการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำต้นน้ำป่าสักด้านการบริหารจัดการตามการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรน้ำในพื้นที่  อยู่ในระดับปานกลางโดยด้านการได้รับสนับสนุนจากหน่วยงานภายนอก อยู่ในระดับน้อยด้านระบบชลประทาน  อยู่ในระดับน้อย ด้านการประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำต้นน้ำป่าสัก  อยู่ในระดับปานกลางการมีส่วนร่วมของประชาชนในการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำต้นน้ำป่าสัก ด้านการมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ อยู่ในระดับปานกลางด้านการมีส่วนร่วมในการปฏิบัติการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ อยู่ในระดับปานกลางด้านการรับประโยชน์จากการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ   อยู่ในระดับปานกลางด้านการประเมินผลการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ อยู่ในระดับปานกลางการมีส่วนร่วมของประชาชนในด้านคืนป่าการคุ้มครองดูแลรักษาทรัพยากรป่า อยู่ในระดับมาก  โดยด้านการคุ้มครองดูแล อยู่ในระดับมาก ด้านการมีส่วนร่วมของประชาชนในการคุ้มครองดูแลและรักษาสัตว์ อยู่ในระดับมาก     รูปแบบของการมีส่วนร่วมของประชาชนในการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำประกอบด้วยจัดตั้งคณะกรรมการบริหารจัดการน้ำของชุมชนสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการบริหารจัดการน้ำและป่าประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมบริหารจัดการน้ำควรมีการจัดตั้งเครือข่ายการจัดการน้ำเพื่อให้เกิดแลกเปลี่ยนการเรียนรู้ของชุมชน  สร้างความตระหนักถึงความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับสิ่งแวดล้อมธรรมชาติจัดตั้งศูนย์เรียนรู้เกี่ยวกับการจัดการน้ำของชุมชนประสานความร่วมมือกับหน่วยงานรัฐและหน่วยงานเอกชนและส่งเสริมสนับสนุนด้านอาชีพแก่ประชาชน        การปฏิบัติกิจกรรมคืนป่าสู่ธรรมชาติชุมชนต้นน้ำ พบว่า ชาวบ้านมีความกระตือรือร้นในการ ร่วมกิจกรรมปลูกป่ามีความรับผิดชอบต่อหน้าที่การงานที่ได้รับมอบหมายและมีการแสดงความคิดเห็นแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างกัน ส่วนการติดตามการบริหารจัดการน้ำต้นน้ำป่าสัก พบว่า  ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ ชุมชนได้รับความรู้สามารถพึ่งพาป่าและน้ำได้ชุมชนจัดตั้งเครือข่ายชุมชนคนรักน้ำรักป่าและแต่งตั้งคณะกรรมการเพื่อดำเนินกิจกรรมของชุมชนและชุมชนเข้าใจเรื่องการมีส่วนร่วมมีความตระหนักเห็นคุณค่าของน้ำและป่าการติดตามการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำและป่าต้นน้ำป่าสัก ผลการวิจัย พบว่า ประชาชนได้มีความรู้เรื่องการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ การรักษาหรืออนุรักทรัพยากรป่า ชุมชนได้รับความรู้สามารถพึ่งพาป่าและน้ำได้ ได้ร่วมกันจัดตั้งเครือข่ายอนุรักษ์น้ำรักป่า เพื่อนำเสนอแนวทางแก้ปัญหาความต้องการร่วมกันได้ มีการแต่งตั้งคณะกรรมการบริหารเครือข่าย ชุมชนเห็นความสำคัญของการมีส่วนร่วมและความตระหนักเห็นคุณค่าของน้ำและป่า

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-03-01

ฉบับ

บท

บทความวิจัย (Research article)