ความต้องการพัฒนาตนเองของบุคลากรสายสนับสนุนวิชาการตามนโยบายประเทศไทย 4.0 ของมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา

ผู้แต่ง

  • Ticomporn Isariyanan Mastor of Public Administration Program in Public Policy, Graduate School, SuanSunandhaRajabhat University

คำสำคัญ:

ความต้องการพัฒนาตนเอง, บุคลากรสายสนับสนุนวิชาการ, นโยบายประเทศไทย 4.0

บทคัดย่อ

การศึกษาความต้องการพัฒนาตนเองของบุคลากรสายสนับสนุนวิชาการตามนโยบายประเทศไทย 4.0 ของมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับความต้องการพัฒนาตนเองของบุคลากรสายสนับสนุนวิชาการตามนโยบายประเทศไทย 4.0 ของมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทาจำนวน 5 ด้าน ได้แก่ ด้านความรู้ในการปฏิบัติงาน ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศในการปฏิบัติงาน ด้านความคิดสร้างสรรค์ในการปฏิบัติงาน ด้านความเชี่ยวชาญในการปฏิบัติงานและด้านทักษะในการปฏิบัติงาน และ 2) เปรียบเทียบระดับความต้องการพัฒนาตนเองของบุคลากรสายสนับสนุนวิชาการดังกล่าวจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้คือบุคลากรสายสนับสนุนวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา ซึ่งมีจำนวนทั้งสิ้น 240 คน จาก 23 หน่วยงาน โดยมีแบบสอบถามเป็นเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล และใช้สถิติดังต่อไปนี้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานการทดสอบค่า และการทดสอบความแปรปรวนทางเดียวที่ระดับนัยสำคัญ 0.05 จากผลการวิจัยพบว่า 1) บุคลากรสายสนับสนุนวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทามีความต้องการพัฒนาตนเองตามนโยบายประเทศไทย 4.0 ในภาพรวมทั้ง 5 ด้าน อยู่ในระดับมากทุกด้าน โดยเรียงลำดับความต้องการพัฒนาตนเองจากมากที่สุดไปน้อยที่สุดคือ ด้านความเชี่ยวชาญในการปฏิบัติงาน ด้านทักษะในการปฏิบัติงาน ด้านความรู้ในการปฏิบัติงาน ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศในการปฏิบัติงาน และด้านความคิดสร้างสรรค์ในการปฏิบัติงาน 2) บุคลากรสายสนับสนุนวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา ที่มีเพศ สถานภาพการทำงาน และระยะเวลาในการปฏิบัติงานแตกต่างกัน มีระดับความต้องการพัฒนาตนเองในภาพรวมทั้ง 5 ด้าน ไม่แตกต่างกัน (p-value เท่ากับ 0.88, 0.99, และ 0.71>0.05 ตามลำดับ) ส่วนบุคลากรสายสนับสนุนวิชาการที่มีอายุและระดับการศึกษาแตกต่างกันมีระดับความต้องการพัฒนาตนเองในภาพรวมทั้ง 5 ด้าน แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 (p-value เท่ากับ 0.04 และ 0.05 ≤ 0.05 ตามลำดับ)

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-04-16

ฉบับ

บท

บทความวิจัย (Research article)