สภาพการดำเนินงานการบริหารจัดการห้องเรียนคู่ขนานสำหรับบุคคลออทิสติก ของโรงเรียนในเขตภาคใต้ตอนล่าง

ผู้แต่ง

  • สุดาพร มุรานนท์ คณะศึกษาศาสตร์และศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยหาดใหญ่

คำสำคัญ:

การบริหารจัดการ, ห้องเรียนคู่ขนานสำหรับบุคคลออทิสติก

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพการดำเนินงานการบริหารจัดการห้องเรียนคู่ขนานสำหรับบุคคลออทิสติกของโรงเรียนในเขตภาคใต้ตอนล่าง 2) เปรียบเทียบสภาพดำเนินงานการบริหารจัดการห้องเรียนคู่ขนานสำหรับบุคคลออทิสติก ของโรงเรียนในเขตภาคใต้ตอนล่าง จำแนกตาม อายุ ตำแหน่ง และขนาดสถานศึกษา 3) รวบรวมข้อเสนอแนะการบริหารจัดการห้องเรียนคู่ขนานสำหรับบุคคลออทิสติก ของโรงเรียนในเขตภาคใต้ตอนล่าง กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา หัวหน้ากลุ่มบริหารงาน และครูผู้สอนห้องเรียนคู่ขนานสำหรับบุคคลออทิสติก ห้องเรียนคู่ขนานสำหรับบุคคลออทิสติก ของโรงเรียนในเขตภาคใต้ตอนล่าง จำนวน 80 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามประเมินค่า 5 ระดับ ซึ่งมีค่า IOC ระหว่าง 0.67-1.00 และมีค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ 0.87 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติทดสอบ และสถิติทดสอบเอฟ ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพการดำเนินงานการบริหารจัดการห้องเรียนคู่ขนานสำหรับบุคคลออทิสติก ของโรงเรียนในเขตภาคใต้ตอนล่าง ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก 2) ผู้ตอบแบบสอบถามที่มีอายุต่างกัน มีความคิดเห็นต่อการดำเนินงานการบริหารจัดการห้องเรียนคู่ขนานสำหรับบุคคลออทิสติก ของโรงเรียนในเขตภาคใต้ตอนล่าง ภาพรวมไม่แตกต่างกัน 3) ผู้ตอบแบบสอบถามที่มีตำแหน่งต่างกัน มีความคิดเห็นต่อการดำเนินงานการบริหารจัดการห้องเรียนคู่ขนานสำหรับบุคคลออทิสติก ของโรงเรียนในเขตภาคใต้ตอนล่าง ภาพรวมไม่แตกต่างกัน เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ตำแหน่งที่แตกต่างกัน มีสภาพการดำเนินการงานการบริหารจัดการ ด้านการบริหารงานวิชาการแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05  4) ขนาดสถานศึกษาต่างกัน มีความคิดเห็นต่อการดำเนินงานการบริหารจัดการห้องเรียนคู่ขนานสำหรับบุคคลออทิสติก ของโรงเรียนในเขตภาคใต้ตอนล่าง ภาพรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001 5) การบริหารจัดการห้องเรียนคู่ขนาน สำหรับบุคคลออทิสติก ของโรงเรียนในเขตภาคใต้ตอนล่างควรมีการส่งเสริมการจัดทำหลักสูตรสถานศึกษา ควรมีงบประมาณที่เพียงพอ และควรมีบุคลากรที่มีความรู้

 

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-09-13

ฉบับ

บท

บทความวิจัย (Research article)