ทุนทางสังคมกับการเสริมสร้างทุนมนุษย์ ในเขตเมืองชายแดน กรณีศึกษาเปรียบเทียบประเทศไทยกับกัมพูชา

Main Article Content

สุพรรณี ไชยอำพร Supannee Chaiumporn

Abstract

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ลักษณะทุนทางสังคมในเขตเมือง 2) วิธีการเสริมสร้างทุนทางสังคมเพื่อมาใช้เสริมสร้างทุนมนุษย์ และ 3) สังเคราะห์ตัวแบบการเสริมสร้างทุนทางสังคม โดยใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพเน้นการสัมภาษณ์เจาะลึก และการจัดเวทีสนทนากลุ่ม จาก 60 ผู้ให้ข้อมูลที่สำคัญ (ฝั่งประเทศละ 30 คน) วิเคราะห์ด้วยการตีความและการวิเคราะห์บริบท (Contextual Analysis) ควบคู่ไปกับการตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลด้วยเทคนิคสามเส้าในทุกขั้นตอนเพื่อให้ได้ข้อเท็จจริง ผลการศึกษาพบว่า ทุนทางสังคมของไทยมีลักษณะเป็นระบบและซับซ้อนจนสามารถเอื้อประโยชน์ต่อการเสริมสร้างทุนมนุษย์มากกว่าของกัมพูชา ทั้งมิติความเป็นทางการ มิติมุ่งเน้นเพื่อคนภายในและภายนอกชุมชน รวมทั้งเป็นแบบเปิดกว้างมากกว่า วิธีการเสริมสร้างทุนทางสังคมของไทยใช้ทั้งแบบตามจารีตประเพณี เช่น การอิงคำสอนศาสนา เน้นร่วมกิจกรรมตามประเพณี และใช้ความเป็นเครือญาติ และแบบสมัยใหม่ เช่น การกำหนดแนวปฏิบัติ/กฎกติกา ระเบียบร่วมกัน ที่สำคัญคือ การพาทำและการทำเป็นแบบอย่าง ส่วนกัมพูชาใช้แบบตามจารีตประเพณี ส่วนตัวแบบการนำทุนทางสังคมมาใช้เสริมสร้างทุนมนุษย์ของไทย เน้นใช้การขัดเกลาทางสังคม การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ การถ่ายทอด/ศึกษา การฝึกปฏิบัติ และการตอกย้ำ ผ่านสถาบันหลัก คือ ครอบครัว ชุมชน สถาบันศาสนาและรัฐ ส่วนของกัมพูชายังมีความจำกัดในการนำทุนทางสังคมมาใช้เสริมสร้างทุนมนุษย์คงนำมาใช้เฉพาะด้านจิตใจ แต่ด้านสติปัญญาและทักษะยังไม่ได้ดำเนินการเป็นรูปธรรม ข้อเสนอแนะสำคัญ หากต้องการให้ไทยมีส่วนช่วยเสริมสร้างทุนมนุษย์ของชายแดนกัมพูชาอย่างแท้จริง (มิใช่แค่บริจาค) ในฐานะภาคีของอาเซียน รัฐบาลของสองประเทศจำเป็นต้องมีข้อตกลงเชิงนโยบายให้ชัดเจน  

This research aims at studying social capital characteristics, methods to promote social capital and synthesizing model of using social capital to strengthen human capital in border towns of Thai and Cambodia. The study used qualitative research focusing on in–depth interview and focus group of 60 key–informants. Data analysis has been done with logical interpretation and contextual analysis.

Finds of the research show that Thai social capital characteristics are more formality and complexity than Cambodia that can more contribute to strengthen human capital.

Methods for promoting Thai social capital emphasize on traditional types; they are 1) following religious doctrine 2) jointing in community activities and 3) using kinship relation and modern types such as setting practice agreement, and regulation. For Cambodia uses only traditional type.

Styles of using Thai social capital to strengthen human capital focuses on socialization, exchange information and knowledge forum, training education, practice and reinforcement through 4) main socializing agents (family, community, religious institute and governmental organization).For Cambodia still limited using, they just use social capital for spiritual promotion not cover intellectual and skill.

Important recommendation:Thai can contribute for promoting Cambodia social capital to strengthen their human capital if the two governments make policy agreement.

Article Details

How to Cite
Supannee Chaiumporn ส. ไ. (2017). ทุนทางสังคมกับการเสริมสร้างทุนมนุษย์ ในเขตเมืองชายแดน กรณีศึกษาเปรียบเทียบประเทศไทยกับกัมพูชา. Journal of Social Development and Management Strategy, 19(2). Retrieved from https://so04.tci-thaijo.org/index.php/jsd/article/view/100936
Section
บทความวิจัย Research Article