การเตรียมต้นฉบับ
ต้นฉบับบทความที่เสนอเพื่อพิจารณาตีพิมพ์ในวารสารให้อยู่ในรูปแบบของไฟล์เอกสาร .doc ของ Microsoft Word หรือเทียบเท่า ความยาวของต้นฉบับต้องไม่เกิน 30 หน้า โดยใช้ขนาดกระดาษ B5 (รวมบทคัดย่อ ภาพ ตารางและเอกสารอ้างอิง) ต้นฉบับบทความควรมีส่วนประกอบดังต่อไปนี้

ชื่อบทความ
ให้มีทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ (ใช้ตัวอักษร TH SarabunPSK ตัวอักษรหนาขนาด 24) จัดกึ่งกลางหน้ากระดาษ

ชื่อ นามสกุลผู้เขียน/ผู้วิจัย
- ไม่ต้องระบุคำนำหน้าชื่อ ใช้ตัวอักษร TH SarabunPSK ตัวอักษรขนาด 16 จัดชิดขวาสุด
- หากมี 2 คน หรือมากกว่า ให้พิมพ์ชื่อและแสดงตัวอักษรภาษาอังกฤษพิมพ์เล็กแบบตัวยก (Superscript) และเว้นวรรค 1 ครั้ง เช่น “คนที่ 1a คนที่ 2b คนที่ 3c”
- ชื่อตำแหน่ง หน่วยงาน และ E-mail ใช้ตัวอักษร TH SarabunPSK ตัวอักษรขนาด 12 นำไปไว้ข้างล่างกระดาษ (ทำเหมือน Footnote)

บทคัดย่อ
ให้มีทั้งภาษาไทย และ ภาษาอังกฤษ ความยาวไม่เกิน 250 คำ

คำสำคัญ
จำนวน 3 - 5 คำ ให้มีทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ใช้ตัวอักษรปกติ TH SarabunPSK ขนาด 15 ส่วนที่เป็นชื่อหัวข้อ “คำสำคัญ” “Keywords” ให้ใช้ตัวอักษรหนา

เนื้อความ
เป็นภาษาไทยหรือภาษาอังกฤษ ใช้ตัวอักษร TH SarabunPSK ขนาด 15 และให้มีหัวข้อได้ไม่เกิน 3 ลำดับ ได้แก่ ลำดับแรก เช่น บทนำ ใช้ตัวอักษรขนาด 18 ตัวหนา ลำดับที่สองใช้ตัวอักษรขนาด 15 ตัวหนา และลำดับที่สามใช้ตัวอักษรขนาด 15 ตัวเอียง และควรประกอบไปด้วยหัวข้อดังต่อไปนี้

บทความวิจัย ประกอบด้วย
1) บทนำ 2) ทบทวนวรรณกรรม 3) วิธีการวิจัย 4) ผลการวิจัยและการอภิปรายผล 5) สรุปและเสนอแนะ 6) กิตติกรรมประกาศ (ถ้ามี) 7) เอกสารอ้างอิง (เป็นภาษาอังกฤษทั้งภายในเนื้อความและท้ายบทความ)

บทความวิชาการ
ให้เป็นไปตามรูปแบบและมาตรฐานการเขียนงานทางวิชาการ

ภาพ ตาราง และสมการ
การแสดงรายละเอียดเพิ่มเติมด้วยภาพประกอบ ตาราง กราฟ หรือแผนภูมิ ให้ใช้ได้ตามความเหมาะสม กรณีเป็นตารางให้ชื่อตารางอยู่ด้านบน กรณีที่เป็นรูปภาพหรือแผนภูมิ ให้ระบุชื่อรูปภาพหรือแผนภูมิอยู่ด้านล่าง

การเขียนอ้างอิง
1. รูปแบบการอ้างอิงในเนื้อเรื่องและท้ายเล่มให้ใช้วิธีการอ้างอิงระบบนาม – ปี ตามรูปแบบของ American Psychological Association (APA)
2. รายการอ้างอิงจากเอกสารของผู้เขียนคนไทยการอ้างอิงต้องแปลเป็นภาษาอังกฤษ และบรรณานุกรม หรืออ้างอิงท้ายเล่มก็จะต้องแปลเป็นภาษาอังกฤษทุกรายการ และใส่คำว่า [In Thai] หลังชื่อเรื่อง

แบบฟอร์มการเขียนบทความ
1. บทความวิจัย
2. บทความวิชาการ

รูปแบบการอ้างอิง แบบ APA (American Psychological Association)