การสร้างตัวตนของผู้ประกอบอาชีพแม่บ้าน: กรณีศึกษาแม่บ้านในมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งของจังหวัดสุราษฎร์ธานี

Main Article Content

กนกกุล เพชรอุทัย

บทคัดย่อ

การศึกษาวิจัยเรื่อง “การสร้างตัวตนของผู้ประกอบอาชีพแม่บ้าน: กรณีศึกษาแม่บ้านในมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งของจังหวัดสุราษฎร์ธานี” มุ่งเน้นศึกษาในประเด็นที่เกี่ยวกับแรงจูงใจ รูปแบบในการจัดการอาชีพและสภาพการทำงานผ่านความสัมพันธ์กับกลุ่มคนต่างๆในที่ทำงานของแม่บ้าน ตลอดจนประเด็นมุมมองของผู้ประกอบอาชีพที่สร้างตัวตนทางอาชีพขึ้นมา และผลลัพธ์จากการสร้างตัวตนของผู้ประกอบอาชีพแม่บ้านผลการศึกษาพบว่า แม่บ้านในมหาวิทยาลัยที่เป็นกรณีศึกษาส่วนใหญ่เป็นคนที่มีถิ่นฐานอยู่ในจังหวัดสุราษฎร์ธานี การเข้าสู่อาชีพแม่บ้านในมหาวิทยาลัยนั้นแม่บ้านทุกคนล้วนมีเครือข่ายทางสังคม คือเพื่อนหรือญาติที่ทำงานในมหาวิทยาลัยอยู่ก่อนแล้วเป็นผู้ชักชวนเข้าสู่อาชีพนี้ อย่างไรก็ดีพบว่าก่อนหน้านั้นแม่บ้านทุกคนต่างก็เคยประกอบอาชีพอื่นและประสบกับปัญหาด้านต่างๆจึงต้องออกจากงานมาก่อนในขณะที่ประเด็นด้านแรงจูงใจในการเข้าสู่อาชีพแม่บ้านนั้นพบว่า สามารถแบ่งแรงจูงใจในการเข้าสู่อาชีพแม่บ้าน ได้ออกเป็น 2 มูลเหตุ คือ อาชีพแม่บ้านถูกมองว่ามีความมั่นคง ได้รับค่าจ้าง สวัสดิการที่เป็นธรรม และไม่กระทบต่อปัญหาสุขภาพงานบ้านถูกมองว่าเป็นทักษะที่ผู้หญิงมีติดตัวอยู่แล้วในรูปแบบการจัดการแม่บ้านของมหาวิทยาลัยพบว่า มหาวิทยาลัยเป็นผู้ดำเนินงานบริหารจัดการแม่บ้านโดยผ่านหน่วยงานชื่อ สำนักจัดการทรัพย์สิน เป็นหน่วยงานหลักที่รับผิดชอบการบริหารจัดการแม่บ้านภายในมหาวิทยาลัย ทั้งนี้เรื่องรายได้และสวัสดิการของแม่บ้านนั้นจะเป็นไปตามกฎหมายกำหนด

Article Details

How to Cite
เพชรอุทัย ก. (2021). การสร้างตัวตนของผู้ประกอบอาชีพแม่บ้าน: กรณีศึกษาแม่บ้านในมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งของจังหวัดสุราษฎร์ธานี. วารสารพัฒนาสังคมและยุทธศาสตร์การบริหาร, 22(2), 147–161. สืบค้น จาก https://so04.tci-thaijo.org/index.php/jsd/article/view/241769
บท
บทความวิจัย Research Article

References

Autthakorn, S. (1995). Desired characteristics of hotel housekeepers (In Thai). Master’s thesis, King Mongkut's Institute of Technology Ladkrabang.

Chanruk, S. (n.d). evaluation-model for CIPP Model. Retrieved form https://www.gotoknow.org/posts/453748.

Jungpong, S. (2006). Private company employee's views on office maid (In Thai). Independent Study of master’s degree Program in Labor and Welfare Development. Faculty of Social Administration.

Nakajud, A. (1975). The role of housewives in economic and social development (In Thai). Bangkok: n.d.

National Statistical Office. (2012). Occupation of the population (In ThaiX. Retrieved form http: https://bit.ly/3g4JYRg

Sangkeaw, O. (2003). Establishing the identity of an office maid (In Thai). Personal to research project.

Sinngam, Y. (2016). Occupations on Thai social (In Thai). Retrieved form http://www.vcharkarn.com/blog/64074.

Somsawad, W. (2006). Attharot feminism (In Thai). Changmai: Nida Press.

Sutthiporn, K. (2010). Erving Goffman: The Presentation of self in everyday life (In Thai). Retrieved form http://tpir53.blogspot.com/2010/12/erving-goffman-presentation-of-self.html

The Royal Institute, the Royal Academy. (2011). Royal Institute Dictionary 1999 (In Thai). Bangkok: nanmeebooks Publisher.

Wikipedia. (2016). Occupations is mean. Retrieved form http://th.wikipedia.org/wiki-254/338/.html