ความสำเร็จการจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชน : กรณีศึกษา ตลาดน้ำท่าคา จังหวัดสมุทรสงคราม

Main Article Content

จรัญญา คงเพชร

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสำเร็จของการจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชนของตลาดน้ำท่าคา จังหวัดสมุทรสงคราม และศึกษาเงื่อนไขที่ส่งผลให้ตลาดน้ำท่าคาประสบความสำเร็จ โดยใช้ระเบียบวิธีการวิจัยเชิงคุณภาพในการสัมภาษณ์เชิงลึกและการสังเกตการณ์ ผลการศึกษาพบว่า การท่องเที่ยวโดยชุมชนของตลาดน้ำท่าคาประสบความสำเร็จใน 4 ด้าน คือ 1) จำนวนนักท่องเที่ยวเป็นไปตามเป้าหมาย 2) ชาวบ้านมีงานทำและมีรายได้เพิ่มขึ้น 3) มีการฟื้นฟูประเพณีและวัฒนธรรมท้องถิ่น และ 4) มีการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม สำหรับเงื่อนไขที่ส่งผลให้ตลาดน้ำท่าคาประสบความสำเร็จประกอบด้วย 1) การจัดโดยการมีส่วนร่วมของชุมชน 2) ภาวะผู้นำที่ได้รับการยอมรับ 3) ความไว้วางใจของสมาชิกในชุมชนและ 4) การสนับสนุนจากหน่วยงายภายนอก นอกจากนี้ในส่วนของข้อเสนอแนะ ชุมชนควรมีการจัดทำแผนการท่องเที่ยวทั้งในระยะสั้นและระยะยาว เพิ่มสิ่งอำนวยความสะดวก อาทิเช่นที่จอดรถ ป้ายบอกทาง เป็นต้น ควรมีการจัดทำธรรมนูญชุมชนสำหรับเป็นบทบัญญัติด้านต่าง ๆ ที่สมาชิกจะต้องยึดถือร่วมกัน และการส่งเสริมตลอดจนการปลูกฝังให้เกิดจิตสำนึกรักบ้านเกิดแก่คนในชุมชน

Article Details

How to Cite
คงเพชร จ. (2021). ความสำเร็จการจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชน : กรณีศึกษา ตลาดน้ำท่าคา จังหวัดสมุทรสงคราม. วารสารพัฒนาสังคมและยุทธศาสตร์การบริหาร, 23(2), 42–51. สืบค้น จาก https://so04.tci-thaijo.org/index.php/jsd/article/view/245930
บท
บทความวิจัย Research Article

References

Ministry of Tourism and Sports. (2018). Tourism Statistics 2018. [In Thai]. Retrieved April 1, 2018, form https://www.mots.go.th/download/article/article_20190925130927.pdf

Ministry of Tourism and Sports. (2018). Tourism Statistics Economic Review. [In Thai]. Retrieved April 1, 2018, form https://www.mots.go.th/ewt_dl_link.php?nid=8404

Jarin, A. (2011). Management Tourism to the Sustainable Floating Market Community. [In Thai]. Exercise Journal. 31(1), 204-209.

Pothana, S. (2013). CBT Standard Handbook. [In Thai]. Chiangmai: Payap University

Matura, S. (2016). The Development Guidance and Tourism Promotion Effect to Bangnamphung Floating Market, Samut Prakan Province’s Uniqueness. [In Thai]. Journal of Cultural Approach, 17(31), 41-55.

Sammukkeetham, S., Sammukkeetham, S., Boonsanong, N., & Kampantong, S. (2007). Alternative: Problems of Homestay Management in Accordance with Sufficiency Economy Approach: A Case Study of Bangkhonthi District, Samutsongkram Province. [In Thai]. Bangkok: Krirk University.

Santh, S. (2003). Community - based tourism. [In Thai]. Chiangmai: The Thailand Research Fund.

National Economic and Social Development Board Office of the Prime Minister. (2016). The Eleventh National Economic and Social Development Plan (2017-2021). [In Thai]. Bangkok: Office of the Prime Minister.