ศิลปะและดนตรีเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมในชุมชน: กรณีศึกษาตลาดน้อย

Main Article Content

วรรณลักษณ์ อินทร์จันทร์
เนธิมา สุวรรณวงศ์
ประเสริฐ ราชมณี
ศศิพงศ์ วงศ์ษา

บทคัดย่อ

              บทความวิชาการฉบับนี้ศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูล เพื่อนำเสนอแนวคิดการนำศิลปะและดนตรีเข้าไปมีส่วนร่วม (Art and Music intervention) เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมโดยใช้ชุมชนตลาดน้อย ถนนเจริญกรุง เขตสัมพันธวงศ์ จังหวัดกรุงเทพมหานครเป็นกรณีศึกษาโดยมีวัตถุประสงค์ของการศึกษาเพื่อ
1) ส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมของชุมชนตลาดน้อย 2) สร้างประสบการณ์เชิงสุนทรียะทางด้านศิลปะและดนตรีให้กับนักท่องเที่ยวโดยใช้การรับรู้ผ่านทางการมองเห็นและได้ยิน และ 3) เป็นกลไกที่นำมาใช้ขับเคลื่อนในการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมให้แก่ชุมชนโดยการมีส่วนร่วมเพื่อสร้างจุดดึงดูดให้กับนักท่องเที่ยว สร้างรายได้ให้คนในชุมชน และขับเคลื่อนเศรษฐกิจของชุมชน จากการศึกษาพบว่า การนำศิลปะและดนตรีเข้าไป
มีส่วนร่วมเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมของชุมชนตลาดน้อย เป็นการนำมรดกทางวัฒนธรรมของชุมชนที่มีอย่างหลากหลาย เช่น สถาปัตยกรรม ประเพณี วิถีชีวิต เป็นต้น มาสร้างคุณค่าและมูลค่า  โดยบทบาทของศิลปะและดนตรีที่เข้าไปมีส่วนร่วมในการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมของชุมชนตลาดน้อย เป็นการสร้างประสบการณ์เชิงสุนทรียะทางด้านศิลปะและดนตรีให้กับนักท่องเที่ยว โดยใช้การรับรู้ผ่านทางการมองเห็นและได้ยิน “ตาดู หูฟัง” และเป็นกลไกที่นำมาใช้ขับเคลื่อนการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมให้แก่ชุมชนโดยการ
มีส่วนร่วมกับชุมชน เพื่อสร้างจุดดึงดูดให้กับนักท่องเที่ยว สร้างรายได้ให้คนในชุมชน และขับเคลื่อนเศรษฐกิจของชุมชน ทั้งนี้ การใช้พื้นที่ด้านศิลปะและดนตรีควรคำนึงถึงผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นแก่ชุมชน ได้แก่ ปัญหาการรบกวนด้านเสียง สิ่งแวดล้อม และพื้นที่การของการวางชิ้นงานด้านศิลปะ เพื่อก่อให้เกิดประโยชน์ในการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมให้มีความสอดคล้องเป็นอันหนึ่งอันเดียวกับชุมชนอย่างแท้จริง

Article Details

How to Cite
อินทร์จันทร์ ว. ., สุวรรณวงศ์ เ. ., ราชมณี ป., & วงศ์ษา ศ. . (2022). ศิลปะและดนตรีเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมในชุมชน: กรณีศึกษาตลาดน้อย. วารสารพัฒนาสังคมและยุทธศาสตร์การบริหาร, 24(1), 86–99. สืบค้น จาก https://so04.tci-thaijo.org/index.php/jsd/article/view/254945
บท
บทความวิชาการ Viewpoint

References

City Planning Department. (2015). Guidelines for Conservation and Rehabilitation in the Talad Noi Area and Continuous Area (In Thai). Bangkok: Arsom Silp.

Department of Academic Affairs. (1997). Cultural Aesthetics (In Thai). Bangkok: Kurusapa Printing.

Lamrat, B. & Disatapundhu, S. (2018). The Planning of Cultural Routes to Enhance Tourism Experience of Talad-Noi (In Thai). (Master thesis). Chulalongkorn University, Bangkok.

Office of the Basic Education Commission. (2008). Basic Education Core Curriculum (2008). Bangkok: Agricultural Co-Operative Federation Of Thailand Printing House.

Pichayapaiboon, P. (2017). Psychology of Art: The Empirical Aesthetics (In Thai). Bangkok: Chulalongkorn University Printing House.

Pinkaeo, K. (2013). Cultural Tourism (In Thai). Retrieved June 22, 2020 from http://tourismdan1.blogspot.com.

Rattapattanakul, N. (2003). Small Market: Development of the Jake Community in Bangkok (In Thai). Arts and Culture. 24(4), 162-165.

Sanghitkul, A. (2005). Department of Fine Arts and the Management of Arts and Cultural Property: Past Present and Future (In Thai). Retrieved June 23, 2020 from http://www.finearts.go.th/songkhlalibraryhm/component/smilebook/book/346.html.

Soonpongsri, K. (2013). Aesthetics (In Thai). Bangkok: Chulalongkorn University Printing House.

Sriratana, P. (1999). Aesthetics in Visual Arts (In Thai). Bangkok: Odeon Store.

Strategy and Evaluation Department. Bangkok 20-year Development Plan (2013-2032). Retrieved June 23, 2020 from http://www.bangkok.go.th/upload/user/ 00000130/Logo/document/1PlanDevelopBangkok20Year2556-2575.pdf.

Suan Sunandha Rajabhat University, Faculty of Fine Arts. (2003). Aesthetic for Life (In Thai). Bangkok: Semadharma.

Suphap, S. (1993). Thai Society and Culture. Values, Family, Traditions (In Thai). Bangkok: Thai Wattanapanich Printing.

Uanan, M. (1987) Teaching Document Theory, Knowledge and Art Studies (In Thai). Bangkok: Srinakharinwirot University.

Uanan, M. (2002). Reformed Art Studies: Background, Philosophy, Principles, Evolution of Curriculum, Teaching and Learning Theory and Research. (2nd ed.) (In Thai). Bangkok: Chulalongkorn University.

Vetkan, C. (2008). Management of Visual Arts Learning on the Basis of Community culture (In Thai). Bangkok: Chulalongkorn University Printing House.

Yodkaew, S. (2017). Aesthetics of Emotional States. Veridian E -Journal Silpakorn University, Thai version, Humanities, Social Sciences and Arts. 10(3), 2811-2825. Retrieved June 23, 2020, from https://www.tci-thaijo.org/index.phpNeridian-E Journal/article/view/115917.