จาก “โรงงานในทุ่งนา” สู่ตลาดโลก: เส้นทางการเดินทางของหอมหัวใหญ่

Main Article Content

Supunnee Somsrisai สุพรรณี สมศรีใส

Abstract

บทคัดย่อ 

          จาก การขยายตัวของระบบการผลิตอาหารในระดับโลก ทำให้เกษตรกรรายย่อยของไทยถูกดึงเข้าสู่วงจรการผลิตสินค้าเกษตรนี้ โดยวิเคราะห์ผ่านกรณีศึกษาเกษตรกรผู้ปลูกหอมหัวใหญ่ หมู่บ้านสันโป่ง อำเภอแม่วาง จังหวัดเชียงใหม่ ที่ทำการผลิตหอมหัวใหญ่เพื่อขายทั้งในประเทศและส่งออกประเทศญี่ปุ่น โดยมี วัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและทำความเข้าใจการปรับเปลี่ยนความสัมพันธ์ภายใน เครือข่ายการผลิตหอมหัวใหญ่

            จาก การศึกษาพบว่า ความสัมพันธ์ระหว่างกลุ่มพ่อค้า/บริษัทและเกษตรกรนั้น กลุ่มพ่อค้า/บริษัทกลายเป็นผู้มีบทบาทสำคัญในการเข้ามาควบคุมการผลิตของ เกษตรกร ผ่านการจัดการผลิต “แบบลูกสวน” กล่าวคือ กลุ่มพ่อและบริษัทไม่ได้สนับสนุนปัจจัยการผลิตแก่เกษตรกรและไม่มีข้อตกลงใน การซื้อขายระหว่างกัน แต่ได้อาศัยตัวกลางสำคัญคือ           โบรกเกอร์ ทำหน้าที่จัดหาและรวบรวมผลผลิต โดยการอาศัยความสัมพันธ์ของโบรกเกอร์กับเกษตรกรในลักษณะของความเป็นเครือ ญาติ การเป็นคนบ้านเดียวกันหรือแม้แต่การที่เคยมีบุญคุณต่อกัน

 

คำสำคัญ:  เครือข่าย; หอมหัวใหญ่; ระบบเครือญาติ; เกษตรกรรายย่อย

 

 

 

 

 

 

บทความนี้เป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์เรื่อง กลไกการปฏิบัติการของเกษตรเชิงพาณิชย์และการต่อรองของ

เกษตรกรในเครือข่ายการผลิตหอมหัวใหญ่ หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการพัฒนาสังคม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

 

 

 

Abstract

          With the expansion of globalizing food system, small farmers in Thailand have been incorporated into the agricultural commodity production cycle. This study focuses on small farmers in Ban San Pong, Mae-wang in Chiangmai where farmers are producing onions for sale to both domestic market and Japanese market. The objectives are to understand the relation adjustment among onion production networks.

            The research found that the relationship between merchants/ companies and farmers is reflected. These merchants/companies become important agents in controlling farmers’ production called, Luk Suan system that will be controlled and managed by brokers. In the system, that merchants and companies never support any materials to farmers and they don’t have bargain between them and farmers. However, brokers have a role of providing production materials and assembling products with several of relationships between them and the farmers, such as, relative, neighbor, and even obligated.

 

Keywords: Network; Onion; Relationships; Small Farmers

   

Article Details

How to Cite
สุพรรณี สมศรีใส S. S. (2014). จาก “โรงงานในทุ่งนา” สู่ตลาดโลก: เส้นทางการเดินทางของหอมหัวใหญ่. Journal of Social Development and Management Strategy, 15(2). Retrieved from https://so04.tci-thaijo.org/index.php/jsd/article/view/25711
Section
บทความวิจัย Research Article