จิตคำนึงถึงส่วนรวมร่วมกันของผู้นำชุมชนเทศบาลตำบลเมืองคูณ อำเภอราศีไศล จังหวัดศรีสะเกษ
Main Article Content
Abstract
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความหมาย ปัญหาและความต้องการ และแนวทางการพัฒนาจิตคำนึงถึงส่วนรวมร่วมกันของผู้นำชุมชน เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยใช้การสัมภาษณ์แบบเจาะลึก การสังเกตแบบมีส่วนร่วมและสังเกตแบบไม่มีส่วนร่วม และการสนทนากลุ่มผู้ให้ข้อมูลที่สำคัญ ตรวจสอบข้อมูลด้วยเทคนิคสามเส้า วิเคราะห์โดยใช้หลักตรรกะควบคู่บริบทเทียบเคียงแนวคิดทฤษฎี โดยใช้สถิติพรรณนาประกอบ
ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มผู้นำชุมชนให้ความหมายจิตคำนึงถึงส่วนรวมร่วมกัน 3 ประการ ประกอบด้วย 1) การใส่ใจต่อผู้อื่น 2) การแบ่งปัน และ 3) มีจิตสำนึกตระหนักเรื่องของส่วนรวม การเข้าร่วมกิจกรรมมี 4 ประเภท ประกอบด้วย อาชีพ การอนุรักษ์หรือรักษาประเพณี สุขภาพอนามัยชุมชน และพัฒนาชุมชน เงื่อนไขการสร้างจิตคำนึงถึงส่วนรวมร่วมกัน ประกอบด้วย ความรักสามัคคี ทัศนคติที่ดี การยอมรับสนับสนุนจากสมาชิก การเป็นแบบอย่างของผู้นำ การเป็นต้นแบบของคนในครอบครัว แรงจูงใจแรงบันดาลใจหรือความภาคภูมิใจ ประกอบด้วย ยินดีภาคภูมิใจที่ได้เป็นผู้นำ การยอมรับจากสมาชิก ความ ต้องการให้องค์กรท้องถิ่นสนับสนุนเสริมสร้างพัฒนาจิตคำนึงถึงส่วนรวมร่วมกัน ประกอบด้วย จัดกิจกรรมจิตคำนึงถึงส่วนรวมร่วมกันให้ต่อเนื่องหลากหลายวิธี สนับสนุนงบประมาณและวิทยากร ความประทับใจชุมชนที่เป็นชุมชนเก่าแก่รักสามัคคีกัน การดำเนินงานในชุมชนมีความโปร่งใสคณะกรรมการชุมชนใส่ใจชุมชน การดำเนินชีวิตตามรอยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ น้อมนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้ และในพื้นที่มีความหลากหลายของกลุ่มชาติพันธุ์
ปัญหาความต้องการที่เกี่ยวกับจิตคำนึงถึงส่วนรวมร่วมกัน คือ สมาชิกบางคนไม่เข้าใจการดำเนินงานของคณะกรรมการชุมชน ขาดความรู้ความเข้าใจในเรื่องจิตคำนึงถึงส่วนรวมร่วมกัน และต้องการให้เทศบาลให้ความรู้ความเข้าใจแก่สมาชิกในชุมชนอย่างใกล้ชิดช่วยเหลือในทุกด้าน ควรประชาสัมพันธ์เผยแพร่ข้อมูลข่าวสารให้ทั่วถึงต่อเนื่อง
แนวทางการพัฒนาจิตคำนึงถึงส่วนรวมร่วมกัน คือ จัดฝึกอบรมอาชีพให้กับสมาชิก โดยสอบถามความต้องการว่าจะพัฒนาด้านใด ควรมีการจัดกิจกรรมให้เกิดขึ้นสม่ำเสมอเพื่อเป็นเวทีแลกเปลี่ยน และ รณรงค์ให้ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับเรื่องจิตคำนึงถึงส่วนรวมร่วมกันภายในชุมชน
คำสำคัญ: จิตคำนึงถึงส่วนรวมร่วมกัน; ผู้นำชุมชน; เทศบาลตำบล
Abstract
The research objectives were to study the meanings, needs, and social mind development of the community leaders. In this qualitative research, interviews, observation, and focus group discussion were used. Main informants were chairperson, deputy chairperson, the community committee, organization leaders and 48 leaders of Khoon Municipality Sub-district.
Research findings: 3 meanings of social mind consisted of 1) caring for others, 2) sharing, and 3) being conscious of common interests; 4 kinds of activity participation were vocations, traditional conservation or preservation, community health and sanitation, and community development; social mind conditions were love, solidarity, good attitudes, the acceptation from the community members, typical leaders, and typical family members; the inspiration or pride were being proud as leader and the acceptation from the members; the needs for local organizations to support and develop social mind consisted of conducting a large variety of continuous activities, budgeting and providing experts; the impression toward the community was that it was old and prevalent with solidarity, transparent working processes of the committee, the committee’s paying close attention to the community, leading life according to the King’s sufficiency economy, and the diversity of ethnic groups.
The hindrance of social mind need: a number of the members lacked the understanding of social mind and wanted the municipality to provide them with knowledge and assistance to all fields. Therefore, all information should be consistently publicized all across the community.
Social mind development: vocational trainings for the members should be conducted by enquiring them the development-oriented fields, arranging continuous activities as the exchange stage, and campaigning about social mind.
Keywords: social mind; community leaders, sub-district municipality