สงครามระหว่างศาสตร์และความเป็นไปได้ของทฤษฎีในสังคมศาสตร์

Main Article Content

Phichai Ratnatilaka Na Bhuket พิชาย รัตนดิลก ณ ภูเก็ต

Abstract

บทคัดย่อ

บทความนี้เป็นการศึกษาสงครามระหว่างวิทยาศาสตร์และสังคมศาสตร์ และ        ข้อถกเถียงเกี่ยวกับความเป็นไปได้ของทฤษฎีในสังคมศาสตร์   สงครามระหว่างศาสตร์เป็นการ  วิวาทะอย่างรุนแรงระหว่างนักวิทยาศาสตร์และนักสังคมศาสตร์  โดย มีเป้าประสงค์เพื่อตอบสนองความต้องการทางการเมืองและลัทธิความเชื่อ การแข่งขันกันเพื่อให้ได้มาซึ่งทุนวิจัย และการช่วงชิงความเหนือกว่าในการกำหนดความจริงทางสังคม   ส่วนข้อถกเถียงเกี่ยวกับความเป็นไปได้ของทฤษฎีสังคมศาสตร์มี  4  ประเด็นหลักคือ  สภาวะก่อนมีกระบวนทัศน์  ปรากฏการณ์ที่ศึกษาจากแนวคิดการตีความ-ปรากฏการณ์วิทยา บทบาทของค่านิยมในการศึกษา และความสามารถในการทำนาย

 

คำสำคัญ:  สงครามระหว่างศาสตร์;  ทฤษฎี;  สังคมศาสตร์ 

 

 

Abstract

This article explores the science war and debates on the possibility of theory in the social sciences.  The science war is a ferocious debate between scientists and social scientists.  The purpose of science war is to fulfill political needs and ideological beliefs, to compete for the acquisition of research funding, and to win the controversy over the definition of social reality. The debate about the possibility of social science theory has four main points:     the pre-paradigm state, studied phenomena from the perspective of interpretation – phenomenology, role of value in the study, and the  predictive  ability.

 

Keywords: Science War; Theory; Social Science

Article Details

How to Cite
พิชาย รัตนดิลก ณ ภูเก็ต P. R. N. B. (2014). สงครามระหว่างศาสตร์และความเป็นไปได้ของทฤษฎีในสังคมศาสตร์. Journal of Social Development and Management Strategy, 15(1). Retrieved from https://so04.tci-thaijo.org/index.php/jsd/article/view/25736
Section
บทความวิชาการ Viewpoint