ความวิตกกังวลกับผลกระทบของประชาชนและการปรับตัวภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ในพื้นที่จังหวัดระนอง
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลความวิตกกังวลกับผลกระทบและการปรับตัวต่อการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ของประชาชน ในพื้นที่จังหวัดระนอง ใช้การวิจัยรูปแบบปริมาณและคุณภาพโดยมีเครื่องมีวิจัยคือแบบสอบถาม/แบบสัมภาษณ์ ประกอบกับการลงพื้นที่เพื่อสัมภาษณ์เชิงลึกกลุ่มตัวอย่างซึ่งเป็นผู้ให้ข้อมูลสำคัญในจังหวัดระนอง วิธีการเลือกกลุ่มตัวอย่างโดยการจับฉลากจากกลุ่มอำเภอขนาดใหญ่ กลาง และเล็ก จำนวน 3 อำเภอ ได้แก่ อำเภอกะเปอร์ อำเภอกระบุรี และอำเภอ สุขสำราญ ตามลำดับ จำนวนทั้งหมด 400 ครัวเรือน และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าสถิติ คือ ร้อยละ ผลการวิจัยพบว่า 1) ด้านเศรษฐกิจ ทำให้รายได้ส่วนใหญ่ลดลง 2) ด้านสุขภาพ ทำให้สมาชิกในครัวเรือนมีการป้องกันการติดเชื้อและดูแลสุขภาพเพิ่มขึ้น 3) ด้านสังคมและสิ่งแวดล้อม การทำกิจกรรมร่วมกันของสมาชิกในครัวเรือน 4) ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ทำให้การเข้าถึงแหล่งข้อมูลข่าวสารมากที่สุด ได้แก่ โทรทัศน์ 5) ด้านการศึกษา ทำให้นักเรียน/นักศึกษาต้องเรียนออนไลน์ในระดับมากขึ้น ส่วนความวิตกกังวลของประชาชน พบว่า 1) ด้านเศรษฐกิจ ส่วนใหญ่ยังคงวิตกกังวลเป็นบางครั้งเกี่ยวกับจะถูกเลิกจ้าง/ไม่มีงานทำมากที่สุด 2) ด้านสุขภาพ วิตกกังวลเป็นบ่อยครั้งว่าจะมีโอกาสติดโรคโควิด-19 มากที่สุด 3) ด้านสังคมและสิ่งแวดล้อม วิตกกังวลเป็นบางครั้งว่าจะเมื่อต้องออกไปร่วมทำกิจกรรมในชุมชน เช่น งานศพ งานบวช งานแต่งงานมากที่สุด 4) ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ วิตกกังวลเป็นบ่อยครั้งเกี่ยวกับการรับทราบข่าวสารเรื่องโรคโควิด-19 มากเกินไป และ 5) ด้านการศึกษา วิตกกังวลเป็นบางครั้ง รู้สึกวุ่นวาย/เหนื่อยล้าในการเตรียมความพร้อมหรือควบคุม ดูแลสมาชิกในครัวเรือนเรื่องการเรียน
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
Alon, T, M Doepke, J Olmstead-Rumsey & M Tertilt (2020), “The Impact of COVID-19 on Gender Equality”, Covid Economics:Vetted and Real-Time Papers, Issue 4, London: CEPR Press.
Avathip Wa. (2020). COVID-19 and learning to change health behaviors today [In Thai]. Journal of the Health Education Professional Association, 1(35), 24-29.
Stuart J.Barnes. (2020). Information management research and practice in the post-COVID-19 world. International Journal of Information Management. Retrieved from https://www.sciencedirect.com/science/article/pii/S0268401220309956
Boonchom Sri Sa-saat. (2013). Statistical Methods for Research [In Thai]. Volume 1 (5th ed.). Bangkok: Suwiriyasan.
Department of Mental Health. (2020). New Normal New way of life [In Thai]. Retrieved from https://www.dmh.go.th/news/view.asp?id=2288
Department of Mental Health. (2021). Coronavirus disease 2019 (COVID-19) [In Thai].
Retrieved from https://ddc.moph.go.th/viralpneumonia/index.php
Gigolo. (2020). Penetrating 3 aspects of decision making that has changed until becoming a new behavior of consumers (New Normal) after the end of COVID-19
[In Thai]. Retrieved From https://www.marketingoops.com/reports/research/new-normal-after-end-covid19/
International Security Division, Office of the National Security Council. (2020). International security situation after the COVID-19 outbreak [In Thai]. Security Perspective Journal, (4), 49-58.
Jaileawma, P. (2020). A study of new normal living behavior during The COVID-19 crisis appearing on the social media [In Thai]. (B.S. Thesis in Geography). Naresuan University.
Lagunaa, L., Fiszmana, S., Puerta, P., Chayab, C. & Tárregaa, A. (2020). The impact of COVID19 lockdown on food priorities. Results from a preliminary study using Social media and an online survey with Spanish consumers. Food Quality and Preference, (86). Retrieved from
https://www.sciencedirect.com/science/article/pii/S0950329320302974?via%3Dihub
Roy, Sr. C., & Andrews, H. (1999). The Roy adaptation model (2nd ed.). Stamford: Appleton & Lange.
Mikolai, J., Keenan, K., & Kulu, H. (2020). Intersecting household level health and socio-economic vulnerabilities and the COVID-19 crisis: An analysis from the UK.
SSM – Population Health, (12). Retrieved from https://www.sciencedirect.com/science/article/pii/S2352827320302652
Donthu, N. & Gustafsson, A. (2020). Effects of COVID-19 on business and research.
Journal of Business Research, (117). 284-289. Retrieved from. https://www.sciencedirect.com/science/article/pii/S0148296320303830