ภาพอนาคตของอาเซียนในมิติสังคมและวัฒนธรรม จากมุมมองผลประโยชน์ของประเทศไทย

Main Article Content

หลี่ เหรินเหลียง
ประกาย ธีระวัฒนากุล
จักรวาล วงศ์มณี

บทคัดย่อ

ท่ามกลางที่ทั้งโลกและอาเซียนต้องเผชิญกับการระบาดของโควิด 19 และการเปลี่ยนแปลงภูมิศาสตร์การเมืองโลก ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในหลายมิติ ดังนั้นการมองภาพอนาคตของอาเซียนโดยเฉพาะอย่างยิ่งในมิติสังคมวัฒนธรรมซึ่งส่งผลต่อวีถีชีวิตของประชาชนในสังคมโดยตรงมีความสำคัญยิ่ง บทความวิจัย เรื่องภาพอนาคตของอาเซียนในมิติสังคมและวัฒนธรรมจากมุมมองผลประโยชน์ของประเทศไทย มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อบ่งชี้และสำรวจปัจจัยที่มีผลต่อการพัฒนาของอาเซียนในมิติสังคมและวัฒนธรรม 2) เพื่อวิเคราะห์เชิงลึกถึงภาพอนาคตของอาเซียนในมิติสังคมและวัฒนธรรมของปัจจัยดังกล่าว บทความวิจัยนี้เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บรวบรวมข้อมูลจากผู้เชี่ยวชาญที่เกี่ยวกับอาเซียนภาคส่วนต่าง ๆ จำนวน 49 คน


          ผลการศึกษาพบว่า


            1) ปัจจัยที่มีผลต่อการพัฒนาของอาเซียนในมิติสังคมและวัฒนธรรม ประกอบด้วย (1) ปัจจัยแนวโน้ม คือ ปัจจัยที่มีแนวโน้มว่าจะเป็นไปในทิศทางใดทิศทางหนึ่ง และมีผลกระทบสูง   เช่นความยากจนและความเหลื่อมล้ำ การจัดการด้านสาธารณสุขอาเซียน การเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ ช่องว่างระหว่างวัย การเชื่อมโยงโครงข่ายคมนาคม ปัญหาสิ่งแวดล้อม ภัยพิบัติ เป็นต้น (2) สัญญาณอ่อน คือ ปัจจัยที่อาจจะเกิดขึ้นมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับข้อจำกัดที่ไม่สามารถคาดการณ์ได้แน่ชัด เช่น อัตลักษณ์อาเซียน  ระบบการศึกษาในอาเซียน การเคลื่อนย้ายแรงงาน สิทธิมนุษยชน ความไว้เนื้อเชื่อใจ ช่องว่างการพัฒนาระหว่างประเทศสมาชิก และ (3) ปัจจัยพลิกผัน คือ ปัจจัยแทรกซ้อนที่หากเกิดขึ้นแล้วจะส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงภาพอนาคตที่คาดการณ์ไว้อย่างแน่นอนไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง เช่น การปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 4 ความไม่แน่นอนทางการเมืองและการเปลี่ยนผู้นำ กระแสชาตินิยม


2) ภาพอนาคตของอาเซียนในมิติสังคมและวัฒนธรรมประกอบด้วย  ฉากทัศน์ที่ 1 ภาพปรารถนา อาเซียนจับมือแล้วมุ่งสู่ความยั่งยืนไปด้วยกัน ก้าวไปสู่การเป็นองค์กรเหนือรัฐ มีเศรษฐกิจเป็นแบบตลาดร่วมแบบเดียวกับสหภาพยุโรป ฉากทัศน์ที่ 2 ภาพที่เป็นไปได้ อาเซียนมีความยั่งยืนบนเงื่อนไขผลประโยชน์ชาติและบริบทภายใน หรือภายใต้เงื่อนไขรวมกลุ่มกันเพื่อเป้าหมายเศรษฐกิจอย่างเดียว อาเซียนจะดำเนินกิจกรรมร่วมกันที่เป็นไปในลักษณะ “แสวงหาจุดร่วม สงวนจุดต่าง” ฉากทัศน์ที่ 3 ภาพที่ไม่พึงปรารถนา อาเซียนไม่คิดถึงความความยั่งยืนและไม่มีความร่วมมือใดๆ แต่ละประเทศจะไม่มีความไว้วางใจกัน รู้สึกหวาดระแวงต่อกัน ถูกใช้เป็นเป้าของการแทรกแซงจากมหาอำนาจนอกภูมิภาค นำไปสู่การออกจากการเป็นประเทศสมาชิกในอาเซียนและล่มสลายไปในที่สุด

Article Details

How to Cite
เหรินเหลียง ห., ธีระวัฒนากุล ป. ., & วงศ์มณี จ. (2022). ภาพอนาคตของอาเซียนในมิติสังคมและวัฒนธรรม จากมุมมองผลประโยชน์ของประเทศไทย. วารสารพัฒนาสังคมและยุทธศาสตร์การบริหาร, 24(2), 142–162. สืบค้น จาก https://so04.tci-thaijo.org/index.php/jsd/article/view/259705
บท
บทความวิจัย Research Article

References

Nontapattamadul, K. (2012). The Openness of ASEAN 2015 in the Dimension of Social Development and Human Security [in Thai]. Rompruek Journal, 30(3), 71-86.

Kosalyawat, S. (2014). Problems and Obstacles of ASEAN Community: Foundations of Education’s Perspective [in Thai]. Rompruek Journal, 32(3), 1-22

Kraiwattanapong, V. (2019). ASEAN under the Social and Cultural Pillars [in Thai]. Retrieved from https://shorturl.asia/BiZmC

Socatiyanurak, M. (n.d.). ASEAN 2025: heading together ASEAN Community Vision 2025 [in Thai]. Retrieved from http://123.242.172.6/hr/document/p_aec_2025.pdf