ความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจของครัวเรือน : มิติทางเพศของสมาชิกครัวเรือนนั้นสำคัญไฉน
Main Article Content
Abstract
บทคัดย่อ
การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจของครัวเรือน ระหว่างการจำแนกครัวเรือนด้วยเพศของหัวหน้าครัวเรือนกับอัตราส่วนเพศของครัวเรือน โดยใช้ข้อมูลทุติยภูมิจากการสำรวจภาวะเศรษฐกิจและสังคมของครัวเรือนของสำนักงานสถิติแห่งชาติ ปีพ.ศ. 2549 และ ปี พ.ศ. 2554 อัตราส่วนเพศของครัวเรือนคำนวณจากจำนวนสมาชิกเพศชายหารด้วยจำนวนสมาชิกเพศหญิงในครัวเรือนเดียวกัน ในขณะที่ความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจคำนวณจากค่าสัมประสิทธิ์จินี่และช่องว่างระหว่างคนรวย-คนจนทั้งด้านรายได้และรายจ่าย ผลการศึกษาพบว่า ความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจของครัวเรือนเมื่อจำแนกครัวเรือนด้วยเพศของหัวหน้าครัวเรือน มีความแตกต่างกับความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจของครัวเรือนเมื่อจำแนกครัวเรือนด้วยอัตราส่วนเพศของครัวเรือน เกิดความไม่สอดคล้องของผลการศึกษาเมื่อใช้วิธีการจำแนกครัวเรือนด้วยลักษณะทางเพศที่แตกต่างกัน การศึกษาความไม่เสมอภาคระหว่างหญิงและชายในระดับครัวเรือนจึงต้องระบุลักษณะทางเพศของครัวเรือนที่ชัดเจนเพื่อป้องกันข้อสรุปที่อาจผิดพลาดหรือขัดแย้งกันได้
คำสำคัญ : อัตราส่วนเพศชองครัวเรือน; ความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจของครัวเรือน; ความไม่เสมอภาคระหว่างหญิงและชาย
Abstract
The objective ofthis study were to find out and compared the household economic inequality when using sex of the household head and household sex ratio to identified household characteristics. Secondary data from the “Household Socio Economic Survey” in 2006 and 2011 complied by the National Statistical Office were employed to this study. Household sex ratio was the ration between number of male divided by number of female in the same household and the economic inequality represented in terms of the Gini co-efficient and the Rich-poor gap which calculated in both household income and household consumption expenditure.
Results indicated that there were many conflicts on household economic inequality when using the household sex ratio to identified household characteristics compared to using sex of household head to do so. Therefore, gender identification for household base analysis should be done in caution to protect mislead in conclusion.
Keywords : Household sex ratio; Economic Inequality; Gender Bias