แนวคิดว่าด้วยเรื่องอาหาร...ความท้าทายต่อนโยบายด้านอาหารมนุษย์ของรัฐ
Main Article Content
Abstract
บทคัดย่อ
บทความนี้มีเจตนานำเสนอความหมายของอาหาร ความเชื่อ และพฤติกรรมการรับประทานอาหารที่ส่งผลต่อความมั่นคงทางอาหารในสังคมไทย รวมทั้งจุดเปราะบาง ที่รัฐบาลจำเป็นต้องเร่งมีนโยบายและมาตรการเพื่อมิให้ประชาชนต้องตกอยู่ในภาวะเข้าไม่ถึงอาหาร และเผชิญกับความไม่มั่นคงทางอาหาร
สำหรับความหมายของคำว่า" อาหาร" ในมุมมองของสองศาสนาใหญ่ (พุทธ - มุสลิม) และของกลุ่มนักวิชาการสาขาต่าง ๆ ได้มีการให้คำจำกัดความหมายไว้อย่างกว้างขวาง ซึ่งมีความหมายมากเกินกว่าสิ่งที่รับประทานแล้วเสริมสร้างพลังงาน ซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอ แต่ยังมีความหมายที่ครอบคลุมถึงสิ่งค้ำจุนชีวิต คือทั้งร่างกายและจิตใจ นอกจากนี้ยังเน้นถึงความหมายในเชิงปริมาณที่รับประทานไม่มากไปจนส่งผลเสียต่อระบบร่างกาย
สำหรับสังคมไทยที่มีการเปลี่ยนแปลงทั้งสภาพภูมิประเทศ ภูมิอากาศ จำนวนประชากร วิถีการดำเนินชีวิต และระบบนิเวศวิทยา ตลอดจนนโยบายด้านอาหารของรัฐ ได้ส่งผลโดยตรงต่อความเปราะบางของความมั่นคงทางอาหาร การติดต่อสัมพันธ์ระหว่างกันของมนุษย์ และพฤติกรรมการรับประทานอาหารของคนไทยส่วนใหญ่ (มี 4 กลุ่มประเภท) ที่มีลักษณะการเข้าถึงอาหารได้ยากขึ้น จึงเป็นสัญญาณที่รัฐบาลควรต้องตระหนัก และเร่งมีนโยบายเชิงรุกที่ชัดเจนเพื่อมิให้สังคมไทย ต้องกลายเป็นประเทศที่ มีความไม่มั่นคงทางอาหาร
คำสำคัญ: พฤติกรรมการรับประทานอาหาร, การจัดการอาหาร, ความมั่นคงทางอาหาร
Abstract
This paper intends to present food meaning, beliefs and behavior of food taking leading to food security in Thai society, including fragile spots which the government needs to have an urgent policy and measures to prevent conditions of famine and food insecurity.
Meanings of food from the two major religions (Buddhism and Islam) and other experts' view-points are varied and more than what we eat for living, but include life supporting both physically and mentally, and taking sufficiently, not too much.
Thailand has changed in materials, atmosphere, population, ways of life ecological system and government food policy leading to food security fragile. Some food behaviors may cause food scarcity for some groups of people. The government needs to have positive policy about food management to prevent condition of insecurity.
Keywords: Food Behaviors, Food Management, Food Security