การศึกษาค่าใช้จ่ายพลังงานของครัวเรือนยากจนในประเทศไทย
Main Article Content
Abstract
บทคัดย่อ
การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาค่าใช้จ่ายพลังงานของครัวเรือนยากจนในประเทศไทยโดยใช้ข้อมูลทุติยภูมิจากการสำรวจภาวะเศรษฐกิจและสังคมครัวเรือน ปี พ.ศ. 2549 และ 2554 ของสำนักงานสถิติแห่งชาติ โดยจำแนกครัวเรือนออกเป็น 3 ประเภทได้แก่ 1)ครัวเรือนยากจน 2) ครัวเรือนเกือบจน และ 3)ครัวเรือนไม่ยากจน โดยใช้เส้นความยากจนในการจำแนกประเภทของครัวเรือน ผลการศึกษาพบว่า ในภาพรวมของประเทศ ปี พ.ศ. 2554 ครัวเรือนยากจนมีภาระค่าใช้จ่ายพลังงานประเภทค่าน้ำมันเชื้อเพลิงเบนซินในสัดส่วนที่มากที่สุด รองลงมาคือ ค่าไฟฟ้า ค่าก๊าซหุงต้ม และค่าน้ำมันเชื้อเพลิงดีเซล คิดเป็นประมาณร้อยละ 43.1, 39.73, 3.16 และร้อยละ 3.00 ของค่าใช้จ่ายพลังงานรวมเฉลี่ยต่อคนต่อเดือน ตามลำดับ การศึกษานี้เสนอแนะว่า ภาครัฐควรกำหนดมาตรการเพื่อลดภาระค่าใช้จ่ายน้ำมันเชื้อเพลิงเบนซินแก่ครัวเรือนยากจนและทบทวนมาตรการอุดหนุนราคาน้ำมันดีเซล เพราะเป็นการช่วยเหลือคนรวย หรือ ผู้ประกอบการมากกว่า ครัวเรือนยากจน
คำสำคัญ : ค่าใช้จ่ายพลังงานของครัวเรือนยากจนในประเทศไทย
Abstract
This study aimed to investigate the energy consumption expenditures of the poor household in Thailand. Secondary data from 2006 and 2011 the Socio-economic survey compiled by the Statistical Office were employed to this study. This study categorized households into three groups by the official poverty line, which including 1) poor household 2) close to poor household and 3) not poor household. Results showed that in 2011 the poor household had approximately 43.01, 39.73, 3.16 and 3.00 percent on benzene, electricity, cooking gas and diesel consumption expenditures to their total energy consumption expenditures per capita, respectively. Therefore, this study suggests that Thai government should implemented the benzene living cost reduction program to help the poor household and also to revised the diesel subsidization program, because that program were mostly favored to the rich household and the entrepreneur.
Keywords: Energy consumption of the poor household in Thailand