การส่งเสริมอาชีพและการจ้างงานคนพิการในประเทศไทย เพื่อรองรับการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน
Main Article Content
Abstract
บทคัดย่อ
บทความวิชาการนี้เป็นการวิเคราะห์กรณีศึกษาเรื่องการส่งเสริมอาชีพและการจ้างงานคนพิการจาก 6 ประเทศ ได้แก่ สวีเดน สหรัฐอเมริกา อังกฤษ สิงคโปร์ มาเลเซีย และ ประเทศไทย เป็นการวิเคราะห์จุดแข็งและข้อจำกัด ในเชิงวิธีคิดเชิงนโยบายและเชิงการบริหารจัดการ เพื่อเป็นการถอดบทเรียนผ่านกระบวนการสังเคราะห์ นำไปสู่การสร้างข้อเสนอแนะสำหรับประเทศไทยในการกำหนดและการปฎิบัติตามนโยบายด้านการส่งเสริมและการจ้างงานผู้พิการ เพื่อรองรับการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน โดยมีข้อเสนอแนะทั้งเชิงนโยบายสาธารณะและเชิงการปฏิบัติตามนโยบายที่ได้มาจากการสังเคราะห์ความรู้จากกรณีศึกษา 5 ประเทศ ดังต่อไปนี้ (1) ปรับเปลี่ยนมุมมองต่อผู้พิการที่สะท้อนค่านิยมของสังคมไทยและความเป็นภูมิภาคนิยมแบบอาเซียนและถือปฏิบัติแบบสากล (2) ภาครัฐควรมีการทำงานในเชิงรุกและบูรณาการระหว่างหน่วยงานและจัดทำระบบสนับสนุนเบี้ยยังชีพคนพิการให้เกิดความยุติธรรมและโปร่งใสตามหลักปฎิบัติสากล (3) ภาครัฐและภาคเอกชนควรร่วมมือกันเร่งดำเนินการก่อสร้างและจัดทำระบบโครงสร้างพื้นฐาน (Infrastructure) ที่เอื้อต่อการใช้ชีวิตของผู้พิการให้สามารถดำรงชีวิตอย่างคนปกติได้ (4) พัฒนาศักยภาพของคนพิการให้สามารถเข้าสู่ตลาดแรงงานสามารถสร้างมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจแบบประเทศที่พัฒนาแล้ว และ (5) พัฒนาเครือข่ายความร่วมมือระดับภูมิภาคอาเซียน เปิดพื้นที่ให้ผู้พิการในอาเซียนและพัฒนาประเทศไทยให้เป็นศูนย์กลางของอาเซียนในการดำเนินกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับผู้พิการ
คำสำคัญ: ผู้พิการ, การส่งเสริมและอาชีพและการจ้างงานคนพิการ, ประชาคมอาเซียน, นโยบายสาธารณะ
Abstract
This review article analyzes the case studies on career promotion and employment of persons with disabilities in six countries, namely, Sweden, USA, United Kingdom, Singapore, Malaysia and Thailand. Strenghts and limitations pertaining the way of thought, policy and administration of each case were carefully analyzed. Recommendations for Thailand to initiate and administer its policy on disabled person’s career promotion and employment in ASEAN context were all derived from the process of syntisizing all the lessons learned. Recommendations for Thailand include : (1) A viewpoint adjustment toward disable persons that reflect Thai societal value, ASEAN regionalism and international. (2) An anticipative and integrative approach of governance. Disabled persons’ pension supporting system must conform to international practice of transparency and fairness. (3) A collaborative efforts between public and private sectors on infrastructure development, one that enable the disable persons to live up to the same quality of life as the rest of people. (4) Initiating disable persons’s potential development programs in response to capital market, economic value added, as existed in Developed Nations. And (5) Establishing collaborative networks of disable persons in ASEAN region, providing ASEAN forum of disabled persons and positioning Thailand as an active regional hub hosting all related activities.
Keywords: Persons with disabilities, Career promotion and employement for persons with disabilities, ASEAN Community, Public Policy