ครอบครัวและระบบการเกื้อกูลผู้สูงอายุไทย

Main Article Content

เดือนเพ็ญ ธีรวรรณวิวัฒน์ Duanpen Teerawanviwat

Abstract

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ภายในครอบครัวโดยเน้นเฉพาะความเป็นปึกแผ่นระหว่างคนต่างรุ่นในครอบครัว อันได้แก่ระหว่างบิดามารดาสูงอายุ (อายุ ≥60 ปี) กับบุตรวัยผู้ใหญ่ (อายุ ≥18 ปี) แบบที่ปรากฏให้เห็นเป็นรูปธรรมในเชิงพฤติกรรม 3 ด้าน ได้แก่ลักษณะการอยู่อาศัย การเยี่ยมเยียนติดต่อกัน และการเกื้อกูลถ่ายโอนทรัพยากร โดยใช้ข้อมูลจากแผนงานวิจัย “ความอยู่ดีมีสุขของผู้สูงอายุไทย” โครงการ “ครอบครัวและระบบการเกื้อหนุนของผู้สูงอายุไทย” ซึ่งเป็นข้อมูลระดับประเทศที่ทำการสำรวจในปี 2558 มีจำนวนตัวอย่างที่เป็นบิดามารดาสูงอายุ 2,669 คนที่มีบุตรมีชีวิตที่อยู่ในวัยผู้ใหญ่อย่างน้อย 1 คน ผลการศึกษาชี้ให้เห็นอย่างชัดเจนว่าในประเทศไทยสถาบันครอบครัวยังคงมีความเข้มแข็ง ผู้สูงอายุไทยมีครอบครัวที่มีความสัมพันธ์กันอย่างแน่นแฟ้นระหว่างรุ่นบิดามารดากับบุตรประมาณเกือบร้อยละ 70 ของบิดามารดาสูงอายุพักอาศัยอยู่กับบุตร ส่วนบุตรที่ไม่ได้พักอาศัยอยู่กับบิดามารดาร้อยละ 49.8  มาเยี่ยมเยียนบิดามารดาอย่างน้อยสัปดาห์ละครั้ง และร้อยละ 64.5 ของบิดามารดาสูงอายุมีการแลกเปลี่ยนทรัพยากรทั้งที่อยู่ในรูปของเงิน สิ่งของและเวลา ซึ่งกันและกัน (แบบสองทิศทาง) กับบุตรวัยผู้ใหญ่

คำสำคัญ  ความสัมพันธ์ภายในครอบครัว ความเป็นปึกแผ่นในครอบครัว การถ่ายโอนทรัพยากร

The Thai Family and the Elderly Support System

This study aims to examine the family relationship, especially intergenerational family solidarity, between elderly parents (≥60 years) and their adult children (≥18 years). The focus of this study is on the manifest aspects of solidarity, that is, living arrangements, visits and telephone contact, and resource transfers. Baseline data from the Thai Family and the Elderly Support System which is a project under the Well-being of the Thai Elderly Program, were utilized. A sample of 2,669 elderly parents with at least one living adult child was chosen from the 2015 baseline data. The results clearly indicated that the family institution in Thailand remains strong despite extensive societal changes during recent years. The family of Thai elderly parents is characterized by close intact ion with their adult children. About 70% of the elderly parents co-reside with at least one of their children. For the non-co-resident children, 49.8 % of them visit their elderly parents at least once a week. Concerning resource transfers, 64.5% of the elderly parents exchange resources (two-way transfers) with their adult children.

Keywords:   Family Relationship, Family Solidarity, Resource Transfers

Article Details

How to Cite
Duanpen Teerawanviwat เ. ธ. (2016). ครอบครัวและระบบการเกื้อกูลผู้สูงอายุไทย. Journal of Social Development and Management Strategy, 18(2), 1–29. Retrieved from https://so04.tci-thaijo.org/index.php/jsd/article/view/70177
Section
บทความวิจัย Research Article