Sufficiency Economy Philosophy and Urban Community Development: A Case Study of Rungmaniphathana Community in Bangkok Metropolis

Main Article Content

Somsak Samukkethum
Sagol Jariyavidyanont
Patcharinruja Juntaronanont

Abstract

        บทความนี้ต้องการวิเคราะห์ถึงการพัฒนาชุมชนเมือง ที่สอดคล้องกับปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง กรณีศึกษาชุมชนรุ่งมณีพัฒนา โดยใช้ระเบียบวิธีเชิงคุณภาพ ซึ่งพบว่า ชุมชนที่ศึกษาได้เปลี่ยนจากชุมชนแออัด เป็นชุมชนที่มีความมั่นคงด้านที่อยู่อาศัย อันเป็นจุดเริ่มต้นของการพัฒนาโดยจัดตั้งกองทุนสวัสดิการชุมชน การรวมกลุ่มผู้สูงอายุและกลุ่มสตรี และศูนย์พัฒนาเด็กก่อนวัยเรียน การศึกษาครั้งนี้พบว่า สวัสดิการชุมชนเมืองแบบพอเพียงจะต้องมีลักษณะสำคัญดังนี้:1) สวัสดิการบนพื้นฐานของชุมชน ที่มีเป้าหมายเพื่อสร้างชีวิตที่มั่นคงในอนาคต 2) สวัสดิการที่เน้นการพัฒนาอาชีพ เพิ่มรายได้และการออมเพื่อประโยชน์ระยะยาวของสมาชิก 3) สวัสดิการที่ตอบสนองต่อปัญหาและความต้องการจำเป็นตั้งแต่เกิดจนตายของสมาชิกทุกๆ กลุ่ม และ 4) การบริหารจัดการสวัสดิการที่โปร่งใสและรับผิดชอบ นอกจากนี้ยังพบว่า สวัสดิการชุมชนแบบพอเพียงมีความสัมพันธ์กับชุมชนเข้มแข็ง ด้วยเหตุนี้จึงจำเป็นที่จะต้องพัฒนาทั้งสองด้านไปพร้อมๆ กัน อันจะนำไปสู่การบรรลุถึงคุณภาพชีวิตที่สมดุลและยั่งยืน

Article Details

How to Cite
Samukkethum, S. ., Jariyavidyanont, S. ., & Juntaronanont, P. . (2017). Sufficiency Economy Philosophy and Urban Community Development: A Case Study of Rungmaniphathana Community in Bangkok Metropolis. Journal of Social Development and Management Strategy, 19(1), 39–58. Retrieved from https://so04.tci-thaijo.org/index.php/jsd/article/view/94085
Section
บทความวิชาการ Viewpoint