แนะนำหนังสือ ตำนานพระเจ้าเลียบโลก ฉบับสิบสองปันนา

Main Article Content

Wasan Panyagaew

Abstract

พุทธศาสนาในดินแดนล้านนานั้น นักมานุษยวิทยาศาสนาและนักประวัติศาสตร์ เสนอกันว่า อาจจะแยกพิจารณาออกเป็น 3 ยุคสมัยด้วยกัน คือ 1.พุทธศาสนายุคก่อนพญากือนา (ก่อน พุทธศักราช 1898) ซึ่งได้รับอิทธิพลสูงมากจากพุทธศาสนาที่มีพัฒนาการขึ้นอย่างเจริญรุ่งเรืองในหริภุญไชยนคร (ดังกล่าวข้างต้น) พุทธศาสนา “เถรวาทแบบมอญ” นี้มีลักษณะผสมผสานระหว่างหินยานและมหายาน จนไปถึงความเชื่อดั้งเดิมของชนพื้นเมือง เช่นเรื่อง การนับถือและเซ่นไหว “ผีเจ้าที่”​ และสิ่งศักดิ์สิทธิ์ในธรรมชาติ ดังปรากฏร่องรอยสืบต่อมาในพิธีกรรม ความเชื่อ หรือประเพณี วัฒนธรรม ในพุทธศาสนาของชาวล้านนา 2.พุทธศาสนาลังกาวงศ์เก่า หรือ “เถรวาทแบบล้านนาเดิม” ที่เริ่มสถาปนาขึ้นอย่างมีนัยะสำคัญตั้งแต่สมัยพญากือนา (พุทธศักราช 1898 – 1928) จนมาถึงสมัยพญาแสนเมืองมา (พุทธศักราช 1929-1945) ซึ่งบางตำนาน เช่นในตำนานพระเจ้าเลียบโลกเรียกว่า “พญาล้านนา” เป็นพุทธศาสนาเถรวาท ที่พระสงฆ์เชียงใหม่ได้รับอิทธิพลอย่างมากจากพระสงฆ์สุโขทัย คือ พระสุมนะเถระ ซึ่งพญากือนาได้สร้างวัดตั้งเป็นสำนักวิชาศูนย์การศึกษาพระธรรมคำสอนและเผยแผ่ศาสนานิกายนี้ที่ “”วัดสวนดอก” โดยทั่วไปในหลานตำนานจึงมักจะกล่าวถึงสำนักเถรวาทล้านนาที่พัฒนาขึ้นในยุคนี้ว่า “สำนักวัดดอก” และ 3.พุทธศาสนาเถรวาทลังกาวงศ์ใหม่ ที่เจริญรุ่งเรืองขึ้นอย่างมากจากยุคพญาแสนเมืองมา พญาสามฝั่งแกน (พุทธศักราช 1945 - 1984) และโดยเฉพาะในสมัย พญาติโลกราช (พุทธศักราช 1984 - 2030) จนมาถึงสมัยพญาแก้ว หรือพระเมืองแก้ว (พุทธศักราช 2038 - 2068) ที่เรียกกันว่า “ลังกาวงศ์ใหม่” เนื่องจากกษัตริย์ล้านนาเชียงใหม่ได้ส่งพระสงฆ์เดินทางไปศึกษาร่ำเรียนโดยตรง และนำอารยธรรมภาษาพุทธศาสนาจากศรีลังกานิกายสิงหล กลับมาศึกษาและเผยแผ่ สถาปนาพุทธศาสนาแบบล้านนาขึ้น กระทั่งแพร่กระจายออกจากล้านนาลุ่มน้ำปิง ไปตามเครือข่ายหัวเมืองต่างๆ ของชาวไท ในดินแดนลุ่มน้ำโขงตอนบน จนถึงล้านช้าง และสิบสองปันนา

Article Details

How to Cite
Panyagaew, W. (2024). แนะนำหนังสือ ตำนานพระเจ้าเลียบโลก ฉบับสิบสองปันนา. Journal of Social Sciences, Chiang Mai University, 36(1), 127–132. retrieved from https://so04.tci-thaijo.org/index.php/jss/article/view/273730
Section
Book Review