Archives - Page 2

  • Cross-border Trade and Human Security
    Vol. 30 No. 2 (2018)

    บทความในวารสารฉบับนี้ สะท้อนภาพของการค้าชายแดนในยุคปัจจุบันที่ยังมีความไม่ลงรอยกันระหว่างการเปิดการค้าและการลงทุนอย่างเสรีที่เอื้อต่อการเคลื่อนย้ายของทุน สิ่งของและข้อมูลข่าวสาร กับการปิดกั้นการเคลื่อนย้ายข้ามแดน ของสิ่งเหล่านี้ด้วยนโยบายความมั่นคงของชาติที่ยึดเอาหลักอธิปไตยเหนือดินแดน เป็นแนวปฏิบัติ นอกจากนี้ยังให้ข้อพิจารณาว่า ท่ามกลางการค้าชายแดนที่เพิ่มปริมาณมากขึ้นอันเนื่องจากการลงทุนพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและการสร้างกฎระเบียบพิเศษนั้น ผลประโยชน์ที่ได้รับตกแก่ประชาชนในท้องถิ่นชายแดนมากน้อยแค่ไหน เมื่อเทียบกับนายทุนต่างชาติและระดับชาติ ทั้งนี้ บทความได้มีข้อเสนอแนะไปในทิศทางเดียวกัน นั่นคือควรจะทําให้ความมั่งคั่งและมั่นคงของชาติเอื้อประโยชน์หรือเป็นไปในทิศทางเดียวกับการสร้างความมั่นคงของมนุษย์ซึ่งหมายถึงการมีสิทธิเสรีภาพในการตอบสนองความจําเป็นพื้นฐาน มีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน การดํารงอยู่ได้อย่างมีศักดิ์ศรี และได้รับความเป็นธรรม

  • การช่วงชิงพื้นที่ในสังคม
    Vol. 30 No. 1 (2018)

    วารสารสังคมศาสตร์ฉบับนี้ ประกอบไปด้วยบทความและการแนะนำหนังสือในหลากหลายประเด็นด้วยกัน ซึ่งสะท้อนพลวัตและความเคลื่อนไหวของผู้คนในพื้นที่ทางสังคมและวัฒนธรรมของสังคมเป็นอย่างดี ไม่ว่าจะเป็นพื้นที่ศาสนาพื้นที่พิธีกรรม พื้นที่เมือง พื้นที่ท่องเที่ยว และพื้นที่เศรษฐกิจ ซึ่งสะท้อนภาพ การเปลี่ยนผ่านของสังคมจากเศรษฐกิจแบบตลาดสู่เศรษฐกิจดิจิทัลอีกด้วย

  • Amidst the Urbanity
    Vol. 29 No. 2 (2017)

    วารสารสังคมศาสตร ฉบับนี้มีการเปลี่ยนชื่อธีมประจําฉบับมา 2-3 ครั้ง ถึงแม้ว่าในช่วงที่เปิดรับสมัครบทความวิชาการนั้นนจะมีการกำหนดขอบข่ายไว้ชัดเจนว่า “เมืองและความยั่งยืน” แต่ส่วนตัวบรรณาธิการประจําฉบับเองก็ยังคิดว่าถ้าจะศึกษาเรื่องเมืองในระดับลึกแล้วบทความน่าจะก้าวข้ามคําสําคัญที่ใช้กันอย่างแพร่หลายมาก เช่นคําว่า “ความยั่งยืน” ไปได้แล้ว ไม่ปฏิเสธว่าการพัฒนาอย่างยั่งยืนเป็นวาระของโลกและมีบทบาทกําหนดทิศทางการพัฒนาที่สําคัญยิ่งแต่ เมืองนั้นมีความเป็นศูนย์รวม มีความซับซ้อนผสมผสานในหลากหลายแง่มุมมากเลยทีเดียว ในมุมมองของปัจเจก ของหน่วยงาน ขององค์กร หรือกระทั่งจากมุมมองของสิ่งมีชีวิตอื่นๆ เมือง ก็มี “รูปร่าง” ที่ต่างกันไปและส่งผลให้ ภาพเมืองในความคิดความฝันนั้นมีหน้าตาที่ “ดี” ต่างกัน การพัฒนาเมืองอย่างยั่งยืนก็เป็นเพียงหน้าตาแบบหนึ่งที่เป็นที่ใฝ่ฝันของคนกลุ่มหนึ่งในช่วงเวลาหนึ่งซึ่งพลวัตความเปลี่ยนแปลงโดยที่ไม่มีการตั้งธงชัดเจนต่างหากที่คิดว่า บทความทางวิชาการในเล่มนี้น่าจะมาเพิ่มเติมสีสันให้กับงานศึกษาเรื่องเมืองให้มีมิติมากยิ่งขึ้น

  • Thai Studies & Thai-ization
    Vol. 29 No. 1 (2017)

    ไทยศึกษา กระบวนการทำให้กลายเป็นไทย และวาทกรรมการพัฒนาจึงเป็นสามประเด็นหลักที่ต้องมีการทบทวน ทำความเข้าใจ ตั้งคำถามกับทั้งเสนอแง่มุมในการวิเคราะห์ใหม่ๆ อยู่ตลอดเวลา ดังที่ผู้เขียนบทความแต่ละคนได้นำเสนอ โดยละเอียดไว้ในวารสารฉบับนี้ ทั้งนี้ เพื่อนำไปสู่ความท้าทายในเชิงวิชาการที่เกี่ยวกับการทำงานวิจัย การจัดการเรียนการสอนและการจัดการประชุมทางวิชาการว่าด้วยไทยศึกษาหรือการศึกษาสังคมไทยในอนาคต ที่ต้องการความรู้และความร่วมมือในลักษณะที่เป็นสหสาขาวิชา กับทั้งมีการวิเคราะห์อย่างเชื่อมโยงและมีความเป็นพลวัตมากขึ้น

  • POP CULTURE
    Vol. 28 No. 2 (2016)

    วารสารสังคมศาสตร์ฉบับนี้นำเสนอเรื่องราวเกี่ยวกับวัฒนธรรมสมัยนิยมซึ่งมีที่มาจากคำในภาษาอังกฤษว่า popular culture คำ ๆ นี้มีการแปลออกมาในภาษาไทยหลากหลายคำ ตั้งแต่วัฒนธรรมสมัยนิยม วัฒนธรรมมวลชน วัฒนธรรมประชานิยม วัฒนธรรมป๊อป กระแสป๊อป เหตุผลที่เลือกใช้คําว่า “ป๊อปคัลเจอร์”ซึ่งเป็นคำทับศัพท์ภาษาอังกฤษบนปกวารสารฉบับนี้ ก็เนื่องมาจากปัญหาของการใช้คำในภาษาไทยที่ไม่สามารถสื่อความหมายได้สั้น กระชับและชัดเจนเท่าไรนัก แต่อย่างไรก็ตามในบทบรรณาธิการต่อจากนี้จะขอใช้คำว่าวัฒนธรรมสมัยนิยมเพื่อสื่อความหมายถึงคำว่า popular culture การศึกษาเรื่องวัฒนธรรมสมัยนิยมครอบคลุมความหมายหลากหลาย และเกี่ยวข้องกับพรมแดนความรู้หลากหลายสาขา วารสารสังคมศาสตร์ฉบับนี้มุ่งหวังที่จะเปิดพรมแดนใหม่ ๆ ของการศึกษาวัฒนธรรมสมัยนิยมอันเป็นสาขาที่เคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลงตลอดเวลาให้กว้างขวางมากขึ้น เพื่อความเข้าใจสังคมอย่างมีพลวัต

  • ลีลาชายขอบ
    Vol. 28 No. 1 (2016)

    วารสารฉบับนี้ใช้ชื่อว่า “ลีลาชายขอบ” ซึ่งเป็นคำที่จงใจนำมาใช้เพื่อสะท้อนให้เห็นถึงลีลาหรือปฏิบัติการต่างๆ ทั้งในระดับชีวิตประจำวันและในระดับประสบการณ์ที่ผ่านมาในชีวิตของผู้คนกลุ่มต่างๆ หรือบางคนที่มักถูกสังคมมองว่าเป็นชายขอบ

  • ครูบา มลายูมุสลิม ข้าวโพด ไฟป่าและหมอกควัน
    Vol. 27 No. 2 (2015)

    วารสารสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ในฐานะเวทีนําเสนอผลงานด้านสังคมศาสตร์ในแวดวงวิชาการไทยได้เดินทางเข้าสู่ปีที่ 27 แล้ว ในปี 2558 อันเป็นปีแห่งการเปลี่ยนแปลงเชิงโครงสร้างหลายด้าน เริ่มจากกองบรรณาธิการ กรรมการบริหารวารสาร และที่ปรึกษาผู้ทรงคุณวุฒิ ซึ่งมีทั้งมาจากสถาบันการศึกษาในประเทศและต่างประเทศ และปัจจุบันเว็บไซต์ของวารสาร http://journal.soc.cmu.ac.th สามารถเข้าไปใช้บริการอ่านวารสารฉบับย้อนหลัง จนไปถึงการติดต่อสื่อสารกับกองบรรณาธิการในด้านต่างๆ  ได้ สำหรับวารสารสังคมศาสตร์ฉบับนี้ แม้จะมีความหลากหลายในเชิงเนื้อหา ทว่าก็สอดคล้องส่องสะท้อนถึงกันและกันอย่างน่าสนใจ เริ่มจาก 2 บทความแรก (เรื่องครูบาในพื้นที่ภาคเหนือและมลายูมุสลิมในแถบภาคใต้ของไทย) ซึ่งเป็นเรื่องเกี่ยวกับศาสนาของผู้คนในพื้นที่ชายแดน ส่วน 3 บทความหลัง (คือเรื่องข้าวโพด ไฟป่า ปัญหาหมอกควัน และความปลอดภัยของนักท่องเที่ยวในเชียงใหม่) ก็เกี่ยวพันกันอย่างชัดเจน ยังคงยืนยันจุดยืนของสังคมศาสตร์ที่มุ่งนําเสนอแนวทางการทําความเข้าใจ เพื่อช่วยขับเคลื่อนทางปัญญาและก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ส่วนรวม

  • การเมือง-การเคลื่อนไหวทางวัฒนธรรม
    Vol. 27 No. 1 (2015)

    ในท่ามกลางความเปลี่ยนแปลงและความสับสนอลหม่านทั้งทางการเมืองและในทางความคิด วารสารสังคมศาสตร์ฉบับนี้รวมบทความหลายชิ้นที่พยายามสำารวจและสร้างคำอธิบายใหม่ๆ ให้แก่การศึกษาการรวมกลุ่มของผู้คนและประชาชนทั้งในทางทฤษฎี โดยเฉพาะการสร้างคำอธิบายต่อ “ขบวนการ”ที่มีทีท่าเป็นปฏิปักษ์ต่อการสร้างประชาธิปไตย ซึ่งถูกละเลยมาตลอดในการศึกษาขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคม เนื่องจากขบวนการประเภทนี้ไม่สอดคล้องกับสมมติฐานทางทฤษฎีที่บอกว่า ขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคมที่ขยายตัวจะนำไปสู่การพัฒนาประชาธิปไตย รวมถึงพยายามเสนอว่า ถ้าเราจะนิยามประชาธิปไตยกันใหม่ ประชาธิปไตยที่ว่าควรจะมีหน้าตาอย่างไรกัน

    โดยหวังเป็นอย่างยิ่งว่า วารสารสังคมศาสตร์ ฉบับการเมือง-การเคลื่อนไหวทางวัฒนธรรมนี้จะนำไปสู่การเสนอความรู้ความเข้าใจใหม่ๆ ทั้งทางทฤษฎีและแนวทางวิธีการวิเคราะห์ รวมถึงหวังว่าจะนำไปสู่การสร้างข้อถกเถียงและการสร้างมุมมองทางทฤษฎีและเครื่องมือใหม่ๆ ให้แก่วงวิชาการสังคมศาสตร์ไทยต่อไป

  • บ้านนอก
    Vol. 26 No. 2 (2014)

    สังคมศาสตร์ (Social Science) หรือการศึกษาสังคมอย่างเป็นวิทยาศาสตร์ มีหลักคิดทฤษฎี วิธีวิทยา และการศึกษาสังเกตรวบรวมข้อมูลหลักฐานอย่างเป็นระบบ เป็นเหตุเป็นผลนั้น กล่าวได้ว่าเริ่มสถาปนาขึ้นอย่างเป็นสถาบันผ่านการศึกษาระดับมหาวิทยาลัยในประเทศไทยตั้งแต่ช่วงต้นทศวรรษ 2490

    ในปี พ.ศ.2491 ได้มีการก่อตั้งคณะรัฐศาสตร์และเปิดการเรียนการสอนสาขาวิชารัฐศาสตร์ขึ้นเป็นแห่งแรกที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อีกหนึ่งปีต่อมา จึงได้มีการก่อตั้งคณะรัฐศาสตร์และเปิดสอนสาขาวิชาเดียวกันนี้ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ด้วย” ขณะที่สาขาวิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยานั้นเรียกว่า “มาทีหลัง” กล่าวคือราวๆ 10 ปีต่อมาน่าจะมีการเรียนการสอนวิชาการด้านนี้ ก่อนที่จุฬาฯ ในคณะรัฐศาสตร์ ทว่าการเปิดหลักสูตรในระดับสาขาวิชานั้น กว่าจะเริ่มขึ้นได้เวลาก็ล่วงไปอีกหนึ่งทศวรรษ พัฒนาการของสังคมศาสตร์ไทยโดยเฉพาะ ในสาขาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยานั้น กล่าวได้ว่าก่อตัวขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ สัมพันธ์ไปกับบริบทประวัติศาสตร์การเคลื่อนไหวทางวิชาการระดับนานาชาติ และบรรยากาศการเมืองโลกยุคสงครามเย็นในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (ตั้งจะอภิปรายต่อข้างหน้า)

    ตั้งแต่ปี พ.ศ.2490 Lauriston Sharp (1907-1993) นักมานุษยวิทยา คนสำคัญแห่งมหาวิทยาลัยคอร์แนล (Cornell University ผู้ก่อตั้งและวางรากฐานให้กับ “โครงการเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษา” (Southeast Asian Program) ได้เริ่มนำทีมวิจัยเข้ามาศึกษาสังคมไทยภายใต้โครงการ Cornell Thailand Projectโครงการวิจัยดังกล่าว เปรียบเสมือนประตูที่เปิดให้บรรดานักมานุษยวิทยาและนักศึกษาปริญญาเอกจำนวนมาก จากมหาวิทยาลัยชั้นนำในสหรัฐอเมริกา ได้เดินทางเข้ามาศึกษาสังคมไทย (อานันท์, 2555: 13-72) กล่าวได้ว่า Cornell - Thailand Project นั้นคือที่มาแรกเริ่มของอาณาบริเวณศึกษาที่ปัจจุบันเรียกกันว่า Thai Studies หรือ “ไทยศึกษา”

  • ศาสนากับการเมืองอัตลักษณ์
    Vol. 26 No. 1 (2014)

    บทความในวารสารฉบับนี้ทั้งหมดเป็นผลจากงานวิจัยทางสังคมวิทยาและมานุษยวิทยาที่เกี่ยวข้องกับเรื่องขบวนการเคลื่อนไหวทางศาสนาในบริบทโลกาภิวัฒน์ ส่วนหนึ่งเป็นการศึกษาศาสนาในกลุ่มชาติพันธุ์เขตลุ่มน้ำโขงตอนบน ได้แก่งานวิจัยของ Haiying Lee เกี่ยวกับกลุ่มอาข่า งานของประสิทธิ์ ปรีชา เกี่ยวกับกลุ่มม้ง งานเรื่องกลุ่มไทใหญ่ของ Khamindra Phorn และงานของ สมัคร์ กอเซ็ม เกี่ยวกับกลุ่ม “ชาวเขา” นอกจากนี้ยังมีอีก 2 บทความ ได้แก่ บทความ ของ Sawako Fujiwara ซึ่งศึกษาวาทกรรมด้านเทววิทยาของศาสนาจารย์หญิงคนไทยที่มีบทบาทในการเผยแพร่ศาสนาระดับเอเชีย และบทความของศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ ที่อธิบายข้อถกเถียงในเรื่อง แนวทางการศึกษามานุษยวิทยาแบบอิสลาม บทความทั้ง 6 นี้ เกี่ยวข้องกับการปรับตัวของศาสนาหลักของโลกทั้งศาสนาพุทธ ศาสนาคริสต์ ศาสนาอิสลามในบริบทโลกาภิวัฒน์ ในขณะเดียวกัน บทความของ Haiying Lee ได้อธิบายถึงการประดิษฐ์ประเพณีใหม่ของความเชื่อดั้งเดิม (Neo-Traditionalism) เมื่อมีการปะทะประสานกับศาสนาที่ใหญ่กว่า นอกเหนือจากบทความทั้ง 6 แล้ว ในท้ายวารสารยังมีบทแนะนำหนังสือของพิสิษฐ์ นาสี ที่ได้แนะนำหนังสือ เรื่อง Mediums, Monks, & Amulets: Thai Popular Buddhism Today ของพัฒนา กิตติอาษา ซึ่งเขาเขียนไว้ก่อนจะอำลาจากโลก

    คำถามหลักร่วมกันในบทความเหล่านี้ก็คือ สภาพแวดล้อมของโลกาภิวัฒน์ ส่งผลกระทบต่อศาสนาอย่างไร ศาสนาปรับตัวอย่างไรในโลกาภิวัฒน์ ศาสนา เกี่ยวข้องกับการเมืองเรื่องอัตลักษณ์ในโลกาภิวัฒน์อย่างไร

11-20 of 33