รักเสรี: การเมืองเพศภาวะของโรมานซ์ในการปฏิวัติจีน

ผู้แต่ง

  • วาสนา วงศ์สุรวัฒน์ ภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

บทคัดย่อ

บทความนี้วิเคราะห์เชิงเปรียบเทียบประวัติชีวิต ประสบการณ์ และมุมมองเกี่ยวกับ “ความรักเสรี” (free love) ของนักเขียนหญิงที่มีชื่อเสียงบทบาท และอิทธิพลสูงสุดในวงวรรณกรรมจีนสมัยใหม่ 2 ท่าน คือ ติงหลิง (จาง ปิงจื้อ) และ ไอลีน ชาง (จาง อ้ายหลิง) แม้จะดูเหมือนว่านักเขียนทั้งสองมีจุดยืนอยู่คนละฟากฝั่งมโนทัศน์ในยุคสงครามเย็น และผลงานสำคัญๆ ของทั้งสองจะได้รับการตีพิมพ์ในระยะเวลาที่ห่างกันถึงกว่าทศวรรษ แต่ประวัติชีวิตประสบการณ์และมุมมองที่มีต่อ “ความรักเสรี” ซึ่งนำเสนอผ่านผลงานวรรณกรรมของท่านทั้งสองนั้นกลับคล้ายคลึงและเห็นพ้องต้องกันเป็นอย่างยิ่งทั้งสองท่านมอง “ความรักเสรี” เป็นหนทางสู่อัตนิยาม (Self-identification)และการปลดแอกทางสังคม อย่างไรก็ดี นักเขียนทั้งสองท่านก็ถูกกระแสการต่อสู้ทางมโนทัศน์อันเชี่ยวกรากของยุคสมัยนั้น (ติงหลิง เข้าไปมีส่วนร่วมในการปฏิวัติคอมมิวนิสต์จีน ในขณะที่ ไอลีน ชาง ต้องไปทำงานให้รัฐบาลสหรัฐอเมริกาในยุคสงครามเย็น ) บีบบังคับให้ต้องละทิ้งแนวทางแห่ง “ความรกัเสรี”  ซึ่งเป็นโครงเรื่องหลักในผลงานชิ้นเอกของทั้งสองท่านในยุคแรกๆ  “ความเสรี” ถูกประเมินว่ามีความสำคัญน้อยกว่าการปฏิวัติของฝ่ายคอมมิวนิสต์ในประเทศจีนและไม่ยิ่งใหญ่เท่ากับการต่อรู้เพื่อธำรงรักษาไว้ซึ่งเสรีภาพของสหรัฐอเมริกาในยุคสงครามเย็น บัดนี้ เมื่อสงครามเย็นได้กลายเป็นอดีตไปแล้วและยุคสมัยแห่งโลกาภิวัตน์น่าจะมีบรรยากาศที่เปิดกว้างให้เราได้ศึกษาผลงานชิ้นเอกของนักเขียนทั้งสองท่านนี้ตามแนวทางแห่ง “ความรักเสรี” ซึ่งเป็นโครงเรื่องหลักสำคัญโดยแท้จริงแทนที่จะถูกจำกัดไว้ในกรอบมโนทัศน์ทางการเมืองที่คับแคบดังเช่นที่เคยเป็นมาในยุคสงครามเย็น

References

Barlow, Tani E. 1989. I Myself Am a Woman. Boston: Beacon Press.

Hung, Eva ed. 2000. Traces of Love and Other Stories. Hong Kong: Renditions.

Kingsbury, Karen S. 2007. Love in a Fallen City and Other Stories. London: Penguin Books.

Liu, Lydia H. 2002 “Invention and Intervention: The Making of a Female Tradition in Modern Chinese Literature” in Susan Brownell and Jeff rey N. Wasserstrom ed., Chinese Femininity, Chinese Masculinity. Berkeley: University of California Press.

Mitter, Rana. 2004. A Bitter Revolution: China’s Struggle with the Modern World. Oxford: Oxford University Press.

Stevens, Sarah E. 2003 “Figuring Modernity: The New Woman and the Modern Girl in Republican China,” NWSA Journal vol.15, no.3.

Wolf, Margery. 1972. Women and the Family in Rural Taiwan. Stanford: Stanford University Press.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-02-01

How to Cite

วงศ์สุรวัฒน์ วาสนา. 2019. “รักเสรี: การเมืองเพศภาวะของโรมานซ์ในการปฏิวัติจีน”. สังคมศาสตร์วารสารวิชาการ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 23 (1-2):83-108. https://so04.tci-thaijo.org/index.php/jss/article/view/169648.

ฉบับ

บท

บทความวิชาการ