ความรักในฐานะมิติหนึ่งของอารมณ์ เป็นห้วข้อที่ถูกเบียดขับออกจากทฤษฎีทางสังคมศาสตร์ในโลกตะวันตกมาเป็นเวลานานหลายทศวรรษ ด้วยอิทธิพลของประเพณีทางแนวคิดแบบ Cartesianism ซึ่งเหยียดอารมณ์ว่าเป็นเพียงประสบการณ์ส่วนบุคคลที่ปราศจากเหตุผล เป็นความรู้สึกที่จับต้องไม่ได้ และไม่มีพลังพอในการเปลี่ยนแปลงสังคม ดังนั้นจึงไม่ควรค่าแก่การใส่ใจหรือสนใจ ประเด็นเรื่องความรักและอารมณ์ความรู้สึกไม่ปรากฏในทฤษฎีทางสังคมวิทยาคลาสสิก ไม่ว่าจะในมโนทัศน์ว่าด้วยความชอบธรรม สถานภาพและบารมีของเวเบอร์ ในทฤษฎีว่าด้วยความสามัคคี และพลังทางศีลธรรมของเดอร์ไคม์ในทฤษฎีว่าด้วยความแปลกแยก  จิตสำนึกทางชนชั้นของมาร์กซ์และเองเกลส์ หรือกระทั่งในงานทางมานุษยวิทยาคลาสสิกของมาร์กาเร็ต มีด ว่าด้วยความคิดของปัจเจกบุคคลก็ตาม การศึกษาเรื่องอารมณ์ โดยเฉพาะความรักจึงได้กลายไปเป็นธุระของนักจิตวิเคราะห์ไป

Published: 2019-02-06

Romantic Love in Sociological and Anthropological Perspectives

ปิ่นแก้ว เหลืองอร่ามศรี

17-50

Fantasized Romanticity: A Place for One Night Stand

สันต์ สุวัจฉราภินันท์

53-80

Free Love: Gender Politics of Romance in the Chinese Revolution

วาสนา วงศ์สุรวัฒน์

83-108

“Love is Homesickness”: Nostalgia and the Fetishisation of the Female Body in Mae Bia

ชุติมา ประกาศวุฒิสาร

111-155

Joy, Love and Sorrow in Confucius’s Philosophy: An Analysis of Yen Hui

สุวรรณา สถาอานันท์

157-177