“บ้านเคยอยู่ อู่เคยนอน” การโหยหาอดีตและการสร้างจินตภาพให้กับสตรีในนวนิยายแม่เบี้ย

ผู้แต่ง

  • ชุติมา ประกาศวุฒิสาร ภาควิชาวรรณคดีเปรียบเทียบ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

คำสำคัญ:

เพศสถานะ, ความเป็นสมัยใหม่, การโหยหาอดีต, ความคลั่งไคล้ใหลหลง, ความพรั่นพรึงดึงดูด

บทคัดย่อ

แม่เบี้ย (2530) เป็นนวนิยายที่มีแก่นเรื่องเกี่ยวกับการแสวงหารากเหง้าตัวละครเอกชายคือ ชนะชล การออกเดินทางของชนะชลไปยังชนบทที่สุพรรณบุรีทำให้เขาพบกับเมขลาซึ่งเป็นเจ้าของเรือนไทยที่เขาปรารถนาการพบเจอกับเมขลาเป็นจุดเริ่มต้นของเรื่องราวความรักและความปรารถนาอันสิ้นสุดลงที่ความตายของชนะชล หากมองอย่างผิวเผินอาจสรุปว่าสาเหตุของความหายนะและความตายของชนะชลมาจากการพบเจอกับผู้หญิงที่ชื่อเมขลา อย่างไรก็ตามบทความชิ้นนี้ชี้ให้เห็นว่าการเสียชิวิตของชนะชลถือเป็นโศกนาฏกรรมของปัจเจกชนในสังคมสมัยใหม่และสาเหตุสำคัญของการเสียชีวิตของชนะชลมิได้มาจากสตรีเพศ การถวิลหาสิ่งที่ขาดหายไปในโลกทุนนิยมสมัยใหม่ของชนะชลนำไปสู่การสร้างเมขลาให้เป็นวัตถุแห่งการคลั่งไคล้ใหลหลง เพื่อชดเชยความรู้สึกว่างเปล่าและขาดพร่องในจิตใจของตน อย่างไรก็ตามการหลงติดในมายาภาพที่ตนสร้างขึ้นทำให้ชนะชลปฏิเสธโลกความเป็นจริงและเลือกที่จะเผชิญกับความตายในท้ายที่สุด

References

ธงชัย วินิจจะกูล. 2543. การเปลี่ยนแปลงภูมิทัศน์ของอดีต: ประวัติศาสตร์ใหม่
ในประเทศไทยหลัง 14 ตุลาคม 2519. ใน ฉัตรทิพย์ นาถสุภา และคณะ (บก.),
สถานภาพไทยศึกษา: การสำรวจเชิงวิพากษ์, หน้า 18-47. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์
ตรัสวิน.

พัฒนา กิติอาษา. 2546. บทบรรณาธิการ. ใน พัฒนา กิติอาษา (บก.), มานุษยวิทยากับการศึกษาปรากฏการณ์โหยหาอดีตในสังคมไทยร่วมสมัย, หน้า 2-48. กรุงเทพฯ: ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน).

มาลินี แก้วเนตร. 2545. แลหนัง ลอดแว่น วรรณกรรม. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ศยาม.

ยศ สันตสมบัติ. 2550. ฟรอยด์และพัฒนาการของจิตวิเคราะห์: จากทฤษฎีความฝันสู่ทฤษฎีสังคม. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

วาณิช จรุงกิจอนันต์. 2530. แม่เบี้ย. กรุงเทพฯ: บูรพาสาส์น.

เสรี พงศ์พิศ. 2529. คืนสู่รากเหง้า. กรุงเทพฯ: เทียนวรรณ.

อภิศักดิ์ ไฝทาคำ. 2546. “มหานคร กรุงเทพฯ: วิพากษ์ทฤษฎีสู่ภาคปฏิบัติของการพัฒนาเมือง,” วารสารศูนย์บริการวิชาการ 11(3): 42-47.

Bataille, Georges. 1986. Eroticism: Death and Sensuality. Mary Dalwood (trans.) San Francisco: City Lights Books.

Beck, Ulrich. 2001. World Risk Society. Cambridge: Polity.

Bruner, Edward M. 1996. Tourism in the Balinese Borderzone. In Smadar Lavie and Ted Swedenburg (eds.), Displacement, Diaspora, and Geographies of Identity, pp, 157-179. Durham: Duke University Press.

Creed, Barbara. 1997. The Monstrous-Feminine: Film, Feminism, Psychoanalysis. New York: Routledge.

Freud, Sigmund. 1953. The Uncanny. In James Strachey (ed. & trans.), The Standard Edition of the Complete Psychological Works of Sigmund Freud, Vol. 17. pp, 219-252. London: Hogarth.

Lupton, Deborah. 1999. Risk: Key Ideas. London and New York: Routledge.

Steele, Valerie. 1996. Fetish: Fashion, Sex and Power. New York and Oxford: Oxford University Press.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-02-01

How to Cite

ประกาศวุฒิสาร ชุติมา. 2019. “‘บ้านเคยอยู่ อู่เคยนอน’ การโหยหาอดีตและการสร้างจินตภาพให้กับสตรีในนวนิยายแม่เบี้ย”. สังคมศาสตร์วารสารวิชาการ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 23 (1-2):111-55. https://so04.tci-thaijo.org/index.php/jss/article/view/169651.

ฉบับ

บท

บทความวิชาการ