ความรื่นรมย์ความรัก และความโศกเศร้าในปรัชญาขงจื่อ: บทวิเคราะห์เหยียนหุย

ผู้แต่ง

  • สุวรรณา สถาอานันท์ ภาควิชาปรัชญา คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

คำสำคัญ:

ขงจื่อ, เหยียนหุย, ความรื่นรมย์, ความรัก, ความโศกเศร้า, ความเปราะบางทางความรู้สึกต่อการสูญเสีย

บทคัดย่อ

บทความนี้วิเคราะห์ความหมายของศิษย์รักอย่างเหยียนหุย ในฐานะผู้รักการเรียนรู้และมีความรื่นรมย์ แช่มชื่นเบิกบาน ท่ามกลางชีวิตที่ยากจนอดอยาก “จนคนอื่นแทบจะทนไม่ไหว” ศิษย์รักผู้นี้นำความรื่นรมย์ยินดีแก่ชีวิตขงจื่อเป็นเอนกอนันต์ ทั้งนี้เพราะเหยียนหุยเป็นตัวอย่างชีวิตที่ดีที่สุดเท่าที่เป็นไปได้และเป็นชีวิตที่มีความรื่นรมย์ยินดีแม้ดำรงอยู่ท่ามกลางความยากลำบาก

บทความนี้ชี้ให้เห็นว่า การยืนยันคุณค่าของความรื่นรมย์และความรักจะครอบคลุมการยอมรับความโศกเศร้า และยอมเปราะบางทางความรู้สึกขงจื่อยืนยันคุณค่าของศิษย์รักเหยียนหุย โดยการแสดงออกซึ่งความโศกสลดที่ “เกินเลย” เมื่อต้องสูญเสียเหยียนหุยไปก่อนวัยอันควร การยืนยันคุณค่าของศิษย์รักอย่างเหยียนหุย เป็นการยืนยันวิถีแห่งการมีชีวิตที่ดีและชีวิตที่มีมนุษยธรรมในโครงการทางปรัชญาของขงจื่อ

References

สุวรรณา สถาอานันท์ (แปลและเขียนบทนำ). 2551. หลุนอี่ว์: ขงจื่อสนทนา. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สุวรรณา สถาอานันท์. กำลังจัดพิมพ์. รายงานวิจัย “รอยยิ้มและน้ำตาของขงจื่อ: ความยินดีและความโศกเศร้าในชีวิตทางจริยธรรม.” กรุงเทพฯ: Open Books.

อมร ทองสุก (แปลและเรียบเรียง). 2549. คัมภีร์หลุนอี่ว์: คัมภีร์แห่งแดนมังกร. ปทุมธานี: ชุนหวัตร.

Chen, Xunwu. 2002. “Reason and Feeling: Confucianism and Contractualism,” Journal of Chinese Philosophy 29 (No. 2 June): 269-280.

Ivanhoe, Philip J. 2003. “Death and Dying in The Analects,” in Tu Weiming and Mary Evelyn Tucker (eds.), Confucian Spirituality, pp. 220-232. New York: The Crossroad Publishing Company.

Jullien, François. 1993. “The Chinese Notion of “Blandness” as a Virtue: A Preliminary Outline,” Trans. Graham Parkes, Philosophy East and West 43 (No. 1, January): 107-112.

Korsgaard, Christine. 2009. The Sources of Normativity. 13th printing. Cambridge: Cambridge University Press.

Nussbaum, Martha C. 1986. The Fragility of Goodness: Luck and Ethics in Greek Tragedy and Philosophy. Cambridge: Cambridge University Press.

Nylan, Michael. 2001. “On the Politics of Pleasure,” Asia Major 14 (No. 1): 73-124.

Olberding, Amy. 2004. “The Consummation of Sorrow: An Analysis of Confucius’ Grief for Yan Hui,” Philosophy East and West 54 (July): 279-301.

Setton, Mark. 2000. “Ambiguity in The Analects: Philosophical and Practical Implications,” Journal of Chinese Philosophy 27 (No. 4 December): 551-552.

Watson, Burton, Trans. 1968. Chuang Tzu: Basic Writings. New York: Columbia University Press.

Yenor, Scott. 2004. “Humanity and Happiness: Philosophical Treatment of Happiness in a Non-Teleologival World,” Interpretation: A Journal of Political Philosophy 31 (Issue 3, Summer): 301-324.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-02-01

How to Cite

สถาอานันท์ สุวรรณา. 2019. “ความรื่นรมย์ความรัก และความโศกเศร้าในปรัชญาขงจื่อ: บทวิเคราะห์เหยียนหุย”. สังคมศาสตร์วารสารวิชาการ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 23 (1-2):157-77. https://so04.tci-thaijo.org/index.php/jss/article/view/169654.

ฉบับ

บท

บทความวิชาการ