ชีวิตวัยรุ่นปกาเกอะญอในสังคมสมัยใหม่ (

ผู้แต่ง

  • จุไรพร จิตพิทักษ์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่

คำสำคัญ:

วัยรุ่นปกาเกอะญอ, การกลืนกลาย, การต่อรองทางวัฒนธรรม

บทคัดย่อ

บทความนี้พยายามทำความเข้าใจโลกและชีวิตวัยรุ่นปกาเกอะญอในสังคมสมัยใหม่ภายใต้เงื่อนไขการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจสังคมที่นำไปสู่การเคลื่อนย้ายเข้ามาในเมืองเชียงใหม่ รวมทั้งจากภาพลักษณ์ของชาติพันธุ์ปกาเกอะญอที่มีตำแหน่งแห่งที่ชายขอบในสังคมไทย ซึ่งวัยรุ่นปกาเกอะญอจะมียุทธศาสตร์การปรับตัวทางวัฒนธรรมในเมืองอย่างไรตลอดจนจากกระบวนการปรับตัวทางวัฒนธรรมของวัยรุ่นปกาเกอะญอที่เกิดขึ้นบนการเชื่อมโยงความเป็นวัยรุ่นในหมู่บ้านกับความเป็นวัยรุ่นในเมืองนั้น พวกเขามีการตีความนิยามใหม่เกี่ยวกับชีวิตหรือโลกทัศน์ในการมีชีวิตอย่างไร บทความจะชี้ให้เห็นว่าชีวิตของวัยรุ่นปกาเกอะญอในเมืองเชียงใหม่ภายใต้การเรียนรู้เติบโตและปฎิสัมพันธ์กับคนกลุ่มต่างๆ ในเมืองได้สร้างโลกและประสบการณ์ชีวิตในสังคมเมืองสมัยใหม่ ทั้งด้านดีและด้านลบที่ขัดแย้งแปลกแยก และเป็นอื่นกับคนส่วนใหญ่ ตลอดจนภายในกลุ่มปกาเกอะญอด้วยกันเอง ดังนั้น วัยรุ่นปกาเกอะญอจึงสร้างยุทธศาสตร์การปรับตัว ทั้งในระดับปัจเจกผ่านการตั้งชื่อใหม่ที่ทันสมัย การสะสมทุนทางเศรษฐกิจ การมีการศึกษา การผสมผสานกลืนกลายด้วยการแต่งกายวาทกรรมความงาม การใช้ภาษา การบริโภค และการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างวัยรุ่นหญิงชายที่หลากหลาย รวมทั้งสร้างยุทธศาสตร์การปรับตัวในระดับกลุ่มโดยอาศัยสถาบันที่เป็นทางการ ทั้งกลุ่มศาสนา องค์กรพัฒนา และสถาบันที่ไม่เป็นทางการอย่างเครือญาติและสังคมเพื่อนหรือคนรัก ซึ่งเป็นกลไกในการปรับตัวและสร้างพื้นที่ รวมทั้งแสดงการเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมวัยรุ่นและสังคมเมือง ตลอดจน การพยายามเชื่อมโยงตนเองกับสังคมหมู่บ้าน ผ่านการเดินทางและใช้ชีวิตระหว่างบ้านกับเมืองตลอดเวลาเพื่อสร้างการยอมรับและตอกย้ำการเป็นสมาชิกของครอบครัวและสังคมบ้านเกิด ซึ่งส่งผลต่อการให้ความหมายที่หลากหลายแก่ตัวเองเมือง หมู่บ้าน และชีวิตในอนาคต

References

ภาษาไทย
กุลภา วจนสาระ. 2544. “เซ็นเตอร์พ้อยท์ กับ “Preteen”: การก่อตัวของวัฒนธรรมวัยแรกรุ่น”. วิทยานิพนธ์สังคมวิทยาและมานุษยวิทยามหาบัณฑิต (มานุษยวิทยา) คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ขวัญชีวัน บัวแดง, ประสิทธิ์ ลีปรีชาและปนัดดา บุณยสาระนัย. 2546. วิถีชีวิตชาติพันธุ์ในเมือง. เชียงใหม่: สถาบันวิจัยสังคม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

จันทนี เจริญศรี. 2549. “วัยรุ่นกราฟฟิตี้ แต่ง/แข่ง การใช้เวลาว่างของวัยรุ่นในสังคมแห่งวัฒนธรรมบริโภค”. เอกสารประกอบการประชุมประจำปีทางมานุษยวิทยาครั้งที่ 5 เรื่องวัฒนธรรมบริโภค บริโภควัฒนธรรม วันที่ 29-31 มีนาคม 2549 ณ ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร.

นิธิ เอียวศรีวงศ์. 2537. “การหย่าร้างในกรุงเทพ”. หมายเหตุวัฒนธรรมร่วมสมัย. กรุงเทพฯ:แพรว. (หน้า 60-67).

ปนัดดา บุณยสาระนัย. 2546. “ชนเผ่าอาข่า: ภาพลักษณ์ที่ถูกสร้างให้สกปรก ล้าหลังแต่ดึงดูดใจ”. ใน ปิ่นแก้ว เหลืองอร่ามศรี (บก.) อัตลักษณ์ ชาติพันธุ์ และความเป็นชายขอบ.(หน้า 81-116). กรุงเทพฯ: ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร.

ประสิทธิ์ ลีปรีชา. 2545. “เครือข่ายญาติข้ามพรมแดนรัฐชาติ: กรณีกลุ่มชาติพันธุ์ม้ง”.วารสารสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 15(1):167-186.

ประสิทธิ์ ลีปรีชา และยรรยง ตระการธำารง. 2547. “ปิดตนสร้างฐาน: ผลพวงของอคติทางชาติพันธุ์ กับการไม่กล้าแสดงตัวตนของคนบนที่สูง”. ใน ปริตตา เฉลิมเผ่า กออนันต
กูล, ปิ่นแก้ว เหลืองอร่ามศรี, รัตนา บุญมันธยะ, เน็ตรดาว เถาถวิล, ขวัญชีวัน บัวแดง,ประสิทธิ์ ลีปรีชา,ยรรยง ตระการธำารง (บก.) โครงการวิจัยและสังเคราะห์ความรู้เรื่อง“ความรุนแรงในมิติวัฒนธรรม”(หน้า183 -220). กรุงเทพฯ: ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร.ประสิทธิ์ ลีปรีชา, ยรรยง ตระการธำรง และ วิสุทธิ์ เหล็กสมบูรณ์. 2547. รายงานวิจัยเรื่อง เมี่ยน: ความหลากหลายชีวิตจากขุนเขาสู่เมือง. เชียงใหม่: สถาบันวิจัยสังคม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

ประสิทธิ์ ลีปรีชา. 2550. “ระบบการศึกษาและภาษาในกระบวนการสร้างรัฐชาติไทย”วารสารสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 19(1):276-309.

วรรณี วิบูลย์สวัสดิ์ แอนเดอร์สัน. 2531. พื้นถิ่นพื้นฐาน: มิติใหม่ของคติชนวิทยาและวิถีชีวิตสามัญ. กรุงเทพฯ: ศิลปวัฒนธรรม.

วิริยะ สว่างโชติ. 2542. “วัยรุ่นและความเป็นชายขอบท่ามกลางกระแสวัฒนธรรมโลก”. ในปริตตา เฉลิมเผ่า กออนันตกูล (บก.) ชีวิตชายขอบตัวตนกับความหมาย. กรุงเทพฯ:ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร. (หน้า 224-259).

วิสุทธิ์ เหล็กสมบูรณ์. 2545. “พลวัตของความสัมพันธ์เชิงอำนาจในชีวิตครอบครัวและบทบาททางเพศสภาพของผู้หญิงอิวเมี่ยน (เย้า) ภายใต้ผลกระทบของการพัฒนาเชียงใหม่”. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการพัฒนาสังคม บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

พัฒนา กิติอาษา. 2546. “จับกระแสไทยป๊อป: “สนาม” ของการต่อรองอัตลักษณ์และตัวตนคนไทยยุคโลกาภิวัตน์” คนพันธุ์ป๊อป: ตัวตนคนไทยในวัฒนธรรมสมัยนิยม กรุงเทพ:ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน), หน้า 97-170

อรอนงค์ แสนยากุล. 2548. “อัตลักษณ์และตัวตนของผู้หญิงลีซู 3 รุ่น: กรณีศึกษาประสบการณ์ชีวิตผู้หญิงลีซูคนหนึ่ง”. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสตรีศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

ภาษาอังกฤษ
Hall, Stuart and Jefferson, Tony (eds.). 1976. Resistance through Rituals. London: Harper Collins Academic.
Hobsbawm, Eric. 1995. Age of Extremes: The Short Twentieth Century 1914-1991.London: Abacu

Mead, Magaret. 1956. Coming of Age in Samoa: A Psychological Study of Primitive Youth for Western Civilization. New York: Mentor Book.

Skelton, Tracey and Valentine, Gill (eds.). 1998. Cool Places: Geographies of Youth Culture. London: Routledge.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-02-15

How to Cite

จิตพิทักษ์ จุไรพร. 2019. “ชีวิตวัยรุ่นปกาเกอะญอในสังคมสมัยใหม่ (”. สังคมศาสตร์วารสารวิชาการ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 22 (1):87-127. https://so04.tci-thaijo.org/index.php/jss/article/view/172552.