นักศึกษาม้งกับฟุตบอลประเพณี: กีฬา สภาวะสมัยใหม่ กับการกลายเป็นส่วนหนึ่งของรัฐไทย

ผู้แต่ง

  • มยุรินทร์ บุญพิทักษ์ กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน กระทรวงแรงงาน

คำสำคัญ:

นักศึกษาม้ง, อัตลักษณ์ทางชาติพันธุ์, พื้นที่ทางสังคม, รัฐชาติไทย

บทคัดย่อ

บทความนี้สำรวจศึกษากระบวนการเปลี่ยนผ่านและการธำรงอัตลักษณ์ทางชาติพันธุ์ของกลุ่มนักศึกษาม้งในเมืองเชียงใหม่ ทั้งนี้โดยพิจารณาว่า การเดินทางจากบ้านเกิดเพื่อเข้ามาศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษาของนักศึกษาม้งดังกล่าว คือกระบวนการทางสังคมที่เกี่ยวข้องสัมพันธ์ไปกับ “การเปลี่ยนผ่าน”และการกลายเป็นส่วนหนึ่งของสังคมไทย ในบริบทของความสัมพันธ์ระหว่างรัฐกับชนกลุ่มน้อย บทความจะชี้ให้เห็นว่า ในระดับชีวิตประจำวัน การใช้ชีวิตในสังคมเมืองสมัยใหม่ของนักศึกษาม้งเหล่านี้ พวกเขาต้องเผชิญกับ “สภาวะชายขอบสองวัฒนธรรม” กล่าวคือ ระหว่างการใช้ชีวิตตามความคาดหวัง ตามจารีตประเพณีของชาวม้ง คือ “ต้องเป็นม้ง” กับการใช้ชีวิตในฐานะนักศึกษามหาวิทยาลัย “เป็นพลเมืองไทย” ที่จงรักภักดีต่อชาติบ้านเมือง เงื่อนไขความสัมพันธ์เชิงอำนาจดังกล่าวนำไปสู่สภาวะอันคลุมเครือที่นักศึกษาม้งจำต้องต่อรอง ระหว่าง “ความเป็นม้ง” กับ “ความเป็นไทย” ผ่านการประกอบสร้างอัตลักษณ์ที่เลื่อนไหลไปมา ไม่ว่าจะเป็น การใช้ภาษาและการดำเนินชีวิตประจำวัน การเข้าร่วมกิจกรรมต่างๆ ของสมาคม ชมรมนักศึกษาม้ง และการสร้างพื้นที่ทางสังคมของกลุ่มตนขึ้นใหม่ กิจกรรมทางสังคมเหล่านี้ท้ายที่สุดจึงเสมือนเป็นกระบวนการสะท้อนกลับที่นำไปสู่การตั้งคำถามเกี่ยวกับตัวตนของนักศึกษาม้ง อันส่งผลต่อการประกอบสร้างอัตลักษณ์ ตลอดจนโลกทัศน์และการดำเนินชีวิตของพวกเขา ที่มีความสลับซับซ้อนและพร้อมที่จะปรับเปลี่ยน ท้าทายจารีต ดั้งเดิมที่ถูกมองว่า “ล้าหลัง” หรือไม่ดีงาม ทว่าขณะเดียวกันก็กล้าและภาคภูมิที่จะยืนยันประเพณีวัฒนธรรมและความเป็นตัวตนอีกหลายๆ ด้านของชาวม้งเอาไว้ในบริบทของการเป็นส่วนหนึ่งของรัฐชาติไทย

References

แกรี่ เยีย ลี. 2531. “การเมืองของชนกลุ่มน้อยในประเทศไทยจากทัศนะของชาวม้ง” วารสารสังคมศาสตร์ ปีที่ 8 ฉบับที่ 2. (หน้า 4-19)

ขวัญชีวัน บัวแดง.2550. พัฒนาการจัดการศึกษาของรัฐในชุมชนชาติพันธุ์บนพื้นที่สูง.เชียงใหม่: ศูนย์ศึกษาชาติพันธุ์และการพัฒนา สถาบันวิจัยสังคม.

ขวัญชีวัน บัวแดง, ประสิทธิ์ ลีปรีชา และปนัดดา บุณยสาระนัย. 2546. วิถีชาติพันธุ์ในเมือง. เชียงใหม่: สถาบันวิจัยสังคม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

จอห์น แมคคินนอน. 2531. “การบังคับย้ายถิ่นและปัญหาที่น่าเกลียดชัง 3 ประการ: ความมั่นคง ฝิ่น และการพังทลายของดิน: คำาถามเกี่ยวกับความอยู่รอดสำาหรับชาวเขาในประเทศไทย” วารสารสังคมศาสตร์ ปีที่ 8 ฉบับที่ 2. (หน้า 4-19)

ชยันต์ วรรธนะภูติ. 2533. “รัฐ การพัฒนาชนบท และการสืบทอดลักษณะความสัมพันธ์ทางสังคมในหมู่บ้านทางภาคเหนือของไทย” ใน อนัญญา ภุชงคกุล (บก.) รัฐกับหมู่บ้านในไทยศึกษา. กรุงเทพฯ: สถาบันไทยศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. (หน้า 146-203)

ชูพินิจ เกษมณี. 2531. “นโยบายการอพยพชาวเขา : ทางออกในเขาวงกต” วารสารสังคมศาสตร์ ปีที่ 8 ฉบับที่ 2. (หน้า 4-19)

ธีรยุทธ์ บุญมี. 2546. ชาตินิยมและหลังชาตินิยม. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ สายธาร

นิธิ เอียวศรีวงศ์. 2538. “ชาติและเมืองไทยในแบบเรียนประถมศึกษา”. ชาติไทย, เมืองไทย,แบบเรียนและอนุสาวรีย์: ว่าด้วยวัฒนธรรม, รัฐ, และรูปการจิตสำนึก, ศิลปวัฒนธรรมฉบับพิเศษ, กรุงเทพฯ: สำานักพิมพ์มติชน.

ประสิทธิ์ ลีปรีชา.2546. “อัตลักษณ์ทางเครือญาติของกลุ่มชาติพันธุ์ม้งท่ามกลางความทันสมัย” ใน ปิ่นแก้ว เหลืองอร่ามศรี (บก.) อัตลักษณ์ ชาติพันธุ์ และความเป็นชายขอบกรุงเทพฯ: ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร.

ประสิทธิ์ ลีปรีชา. 2547. “การสร้างและสืบทอดอัตลักษณ์ของกลุ่มชาติพันธุ์ม้ง” ใน ขวัญชีวัน บัวแดง (บก.) วาทกรรมอัตลักษณ์ กรุงเทพฯ: ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร.

ประสิทธิ์ ลีปรีชา. 2548. ม้ง หลากหลายวิถีชีวิตจากขุนเขาสู่เมือง. เชียงใหม่: โรงพิมพ์มิ่งเมือง.

ประสิทธิ์ ลีปรีชา. 2548. “เทคโนโลยีสื่อสารกับการสร้างประวัติศาสตร์ความทรงจำของม้งในกระแสโลกาภิวัตน์”. เอกสารประกอบการประชุมวันวิชาการครั้งที่ 1 วิถีวิจัยมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 8-10 ธันวาคม 2548 ณ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. (หน้า 312-324)

ประสิทธิ์ ลีปรีชา และปนัดดา บุญยสาระนัย. 2548. “สถาบันวิจัยชาวเขากับการศึกษากลุ่มชาติพันธุ์บนพื้นที่สูงในภาคเหนือ”. วารสารสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ปีที่ 17 ฉบับที่ 1/2548.

ประสิทธิ์ ลีปรีชา และยรรยง ตระการธำารง. 2549. “ปิดตนสร้างฐาน: อคติทางชาติพันธุ์กับการไม่กล้าแสดงตนของคนบนพื้นที่สูง”. วัฒนธรรมไร้อคติชีวิตไร้ความรุนแรง เล่ม 1. กรุงเทพฯ: ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร.

ประสิทธิ์ ลีปรีชา. 2550. “กระบวนการศึกษาและภาษาในกระบวนการสร้างรัฐชาติไทย”. วารสารสังคมศาสตร์ ปีที่ 19 ฉบับที่ 1/ 2550.

ฟิลลิป เฮิร์ส. 2533. “หมู่บ้านสู่รัฐ-รัฐสู่หมู่บ้าน” ใน อนัญญา ภุชงคกุล (บก.) รัฐกับหมู่บ้านในไทยศึกษา กรุงเทพฯ: สถาบันไทยศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. (หน้า 112-145)

วสันต์ ปัญญาแก้ว. 2543. “ชาติพันธุ์วิธีวิทยา” วารสารสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ปีที่ 12 ฉบับที่ 2.

ศุภชัย เจริญวงศ์ กุมภาพันธ์. 2542. “พัฒนาการของความหมาย “การพัฒนาชนบท” ในสังคมไทย: การให้ความหมายในกรณี “หมู่บ้านพัฒนาดีเด่น” แห่งหนึ่งในภาคเหนือ”.วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการพัฒนาสังคม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

หลุยส์ อัลธูแซร์. 2529. กาญจนา แก้วเทพ แปล. อุดมการณ์และกลไกทางอุดมการณ์ของรัฐ. กรุงเทพฯ: โครงการหนังสือเล่ม สถาบันวิจัยสังคม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

แอนดรู เทอร์ตัน. 2533. “บทนำหมู่บ้านสู่รัฐ รัฐสู่หมู่บ้าน” ใน อนัญญา ภุชงคกุล (บก.)รัฐกับหมู่บ้านในไทยศึกษา. กรุงเทพฯ: สถาบันไทยศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.(หน้า 146-203)

อรัญญา ศิริผล. 2544. “ฝิ่นกับคนม้ง: พลวัตความหลากหลายและความซับซ้อนแห่งอัตลักษณ์ของคนชายขอบ”. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการพัฒนาสังคม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

Jonsson, Hjorleifur. 2001.“Serious Fun: Minority Cultural Dynamics and National Integrationnin Thailand”. Amarican Ethnologist. American Anthropological Association.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-02-15

How to Cite

บุญพิทักษ์ มยุรินทร์. 2019. “นักศึกษาม้งกับฟุตบอลประเพณี: กีฬา สภาวะสมัยใหม่ กับการกลายเป็นส่วนหนึ่งของรัฐไทย”. สังคมศาสตร์วารสารวิชาการ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 22 (1):129-58. https://so04.tci-thaijo.org/index.php/jss/article/view/172554.