วัฒนธรรมเยาวชนใน “สนาม” ของกีฬา: การรวมกลุ่มฟุตบอลแฟนคลับสโมสรเมืองทองหนองจอก ยูไนเต็ด

ผู้แต่ง

  • สายชล ปัญญชิต คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

คำสำคัญ:

สนาม, วัฒนธรรมเยาวชน, สังคมวิทยาการกีฬา, กลุ่มฟุตบอลแฟนคลับ, สโมสรฟุตบอลเมืองทอง หนองจอก ยูไนเต็ด

บทคัดย่อ

บทความชิ้นนี้ศึกษาวัฒนธรรมเยาวชนในกลุ่มฟุตบอลแฟนคลับสโมสรเมืองทองหนองจอก ยูไนเต็ด โดยใช้แนวคิด “สนาม” ของ Pierre Bourdieu และกรอบการศึกษาสังคมวิทยาการกีฬาเป็นแนวทางในการทำความเข้าใจปรากฏการณ์กลุ่มฟุตบอลแฟนคลับที่เกิดขึ้นทั้งในและนอกพื้นที่สนามการแข่งขัน จากการศึกษาพบว่ากีฬาเป็นหนึ่งในสนามของความนิยมในวัฒนธรรมร่วมสมัยที่เยาวชนจะเลือกเข้าร่วมหรือก่อตัวเครือข่ายทางสังคมภายใต้ภูมิหลังหรือความสนใจที่แตกต่างหลากหลายของพวกเขาเอง ในฐานะสมาชิกกลุ่มฟุตบอลแฟนคลับเยาวชนจะร่วมพัฒนาวัฒนธรรม สัญลักษณ์ ตลอดจนทุนทางสังคมที่สามารถแสดงออกถึงอัตลักษณ์ร่วมของกลุ่มตนเองซึ่งแตกต่างออกไปจากสโมสรฟุตบอลอื่น โดยเราสามารถพิจารณาสิ่งที่เกิดขึ้นดังกล่าวได้จากปฏิบัติการของเครือข่ายทางสังคม ความเคลื่อนไหวบนพื้นที่ออนไลน์ที่เกี่ยวข้องกับกลุ่มฟุตบอลแฟนคลับ ความคิดเกี่ยวกับท้องถิ่นนิยมการควบคุมทางสังคมในพฤติกรรมการเชียร์ และที่สำคัญที่สุดคือการสร้างจิตสำนึกร่วมผ่านปฏิบัติการทางสังคม เช่น การสร้างเพลงเชียร์ กิจกรรมต่างๆ ที่สมาชิกทำร่วมกันทั้งที่เกี่ยวข้องกับกีฬาและอื่นๆ รวมทั้งการครอบครองและแลกเปลี่ยนสินค้าที่ระลึกของสโมสร เป็นต้น การศึกษาครั้งนี้จึงพยายามนำเสนอ “สนาม” ของวัฒนธรรมเยาวชนในกลุ่มฟุตบอลแฟนคลับที่ไม่ได้จำกัดอยู่เฉพาะพื้นที่ทางกายภาพในสนามกีฬาเท่านั้น นอกจากนี้ยังชี้ชวนให้มอง “แนวจริต” และเส้นทางที่เยาวชนได้ก่อตัววัฒนธรรม และสังคมที่เราจะสามารถทำความเข้าใจกิจกรรมการแสดงออก และการช่วงชิงขอบเขตพื้นที่ของ “สนาม” ในวิถีชีวิตของวัฒนธรรมเยาวชนปัจจุบัน

References

ภาษาไทย
เกษม เพ็ญภินันท์. 2552. “ความโกลาหลของวัฒนธรรมศึกษา” ใน สุวรรณา เกรียงไกรเพ็ชร์ (บก). รวมบทความจากการประชุมประจำประจำปีทางมานุษยวิทยาครั้งที่ 7 เล่มที่ 2, หน้า11-105.กรุงเทพฯ: ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร.

ภาษาอังกฤษ
Appadurai, A. 1997. Modernity at Large. Minneapolis: University of Minnesota Press.

Bourdieu, P. 1984. Distinction: A Social Critique of the Judgement of Taste. Cambridge Mass: Harvard University Press.

________. 1990. The Logic of Practice. Translated by Nice, R. Cambridge: Policy Press.

________. 1993a. The Field of Cultural Production. New York: Columbia University Press.

________. 1993b. “How Can One be a Sports Fan?” In The Cultural study Reader, During, S. (ed.). pp. 427-440. London: Routledge.

________. 1993c. “How Can One be a Sportsman?” In Sociology in Question, pp.117-131. London: Sage Publication.

Dunning, E. 1999. Sport Matters: Sociological Studies of Sport, Violent and Civilization. New York: Routledge Publishing.

Fornas, J. and Bolin, G. 1995. Youth Culture and Late Modernity. New Delhi: Sage Publication.

Lever, J. 1992. “Sociology of Sport” In Encyclopedia of Sociology, Elly Dickason (ed.).pp. 2046-2049. New York: Macmilan Publishing Company.

Mcguire, J. 2004. “Sociology of Sport” In The Social Science Encyclopedia, Volume 2, Adam Kuper and Jessica Kuper (eds.). pp. 985-987. New York: Routledge Publishing.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-02-17

How to Cite

ปัญญชิต สายชล. 2019. “วัฒนธรรมเยาวชนใน ‘สนาม’ ของกีฬา: การรวมกลุ่มฟุตบอลแฟนคลับสโมสรเมืองทองหนองจอก ยูไนเต็ด”. สังคมศาสตร์วารสารวิชาการ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 22 (1):161-90. https://so04.tci-thaijo.org/index.php/jss/article/view/172911.