ฉายภาพ “ยอง” ในมุมมองของละอ่อน:การประกอบสร้างอัตลักษณ์ “ความเป็นยอง”ผ่านสารคดีชุมชนของกลุ่มเยาวชน ชุมชนวัดประตูป่า อ.เมือง จ.ลำพูน

ผู้แต่ง

  • อภินันท์ ธรรมเสนา ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน)

คำสำคัญ:

อัตลักษณ์, ความเป็นยอง, สารคดีชุมชน, ชุมชนวัดประตูป่า, มานุษยวิทยาทัศนา

บทคัดย่อ

การศึกษานี้เป็นการศึกษาเชิงทดลองเพื่อศึกษาการประกอบสร้างอัตลักษณ์ “ความเป็นยอง” ของกลุ่มเยาวชนในชุมชนวัดประตูป่า อำเภอเมือง จังหวัดลำพูน ด้วยการให้กลุ่มเยาวชนผลิต “ภาพยนตร์สารคดีชุมชน” เล่าเรื่องราวของชุมชนประตูป่า ผลการศึกษาพบว่า “ความเป็นยอง” ในสำนึกรับรู้ของกลุ่มเยาวชนถูกนิยามความหมายโดยสัมพันธ์กับประสบการณ์ของกลุ่มเยาวชนเอง ทั้งในฐานะที่เป็น “คนใน” ของชุมชนท้องถิ่นและในฐานะที่ได้มีประสบการณ์สัมพันธ์กับชุมชนภายนอก “ความเป็นยอง” ที่ถูกประกอบสร้างขึ้นโดยกลุ่มเยาวชนจึงมีความยืดหยุ่น สัมพันธ์กับประสบการณ์ที่หลากหลายของตน สารคดีชุมชนที่ถูกผลิตขึ้นโดยกลุ่มเยาวชนจึงเป็นทั้งการ “ผลิตซ้ำและสร้างใหม่” (reproduction and reconstruction) ของอัตลักษณ์ “ความเป็นยอง” ที่เคลื่อนไหวอยู่ในสังคมท้องถิ่นเมืองลำพูน นอกจากนี้ ยังพบว่า กระบวนการผลิต “สารคดีชุมชน” เป็นเสมือนกระบวนการถ่ายโอนภาระการสืบทอดอัตลักษณ์ของความเป็นท้องถิ่นชุมชนวัดประตูป่า จากกลุ่มผู้สูงอายุในวัยที่เริ่มจะร่วงโรยมาสู่กลุ่มเยาวชนซึ่งเป็นคนรุ่นใหม่ ที่จะรับหน้าที่ในการเล่าขานเรื่องราวของชุมชนคนยองวัดประตูป่าต่อไป สารคดีชุมชนที่ผลิตขึ้นโดยกลุ่มเยาวชนจึงไม่ได้ทำหน้าที่เพียงการบันทึกเรื่องราวของชุมชนจากมุมมองยองกลุ่มเยาวชนเท่านั้น หากแต่ยังทำหน้าที่เป็น “สื่อ” ที่จะสืบทอดอัตลักษณ์ “ความเป็นยอง” ให้คงอยู่คู่กับชุมชนชาวยองวัดประตูป่าต่อไปอีกด้วย

References

ภาษาไทย
กาญจนา แก้วเทพ. 2544. ศาสตร์แห่งสื่อแล้ววัฒนธรรมศึกษา. กรุงเทพฯ: เอดิสันเพรสโปรดักส์.

พรพรรณ สมบัติ. 2549. หญิงชรา: ภาพตัวแทนในรายการสารคดีโทรทัศน์ “คนค้นตน”.วิทยานิพนธ์วารสารศาสตรมหาบัณฑิต (สื่อสารมวลชน) ณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

พรรณราย โอสถาภิรัตน์. 2546. “Visual Anthropology: สื่อทางด้านภาพกับความรู้ทางมานุษยวิทยา,” สื่อกับมานุษยวิทยา. จำาเริญลักษณ์ ธนะวังน้อย (บรรณาธิการ). หน้า 47 – 84. กรุงเทพฯ: ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน).

วิลักษณ์ ศรีป่าซาง. 2536. คนยองบ้านเหลาดู่: ประวัติ ซีวิตความเป็นอยู่ ความเชื่อและเอกลักษณ์. รายงานประกอบการศึกษาวิชาภาษาและวัฒนธรรมล้านนา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

เมืองดี นนทะธรรม และคณะ. 2551. โครงการศึกษาประวัติศาสตร์วัฒนธรรมประเพณีความรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นชุมชนวัดประตูป่า ตำบลประตูป่า อำเภอเมือง จังหวัดลำพูน.รายงานวิจัยเสนอต่อ สำนักงานกองกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) สำนักงานภาค.

สุพล ปาละพงษ์. 2552. หนังสือเสริมประสบการณ์ ชุดการเฝ้าระวังและสร้างสรรค์วัฒนธรรมท้องถิ่น เล่ม 1 “ชุมชนวัดประตูป่าของเรา”. ลำพูน: สภาวัฒนธรรมจังหวัดลำพูน.

แสวง มาละแซม. 2544. ประวัติศาสตร์ท้องถิ่น: คนยองย้ายแผ่นดิน. (พิมพ์ครั้งที่ 2) กรุงเทพฯ: สำานักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

อรทัย รุจิราธร. 2541. พัฒนาการของรายการสารคดีโทรทัศน์จากปี พ.ศ. 2530 ถึง 2541.วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ภาษาอังกฤษ
Dayan, D. 1999. Media and Diaspora. In Jostiein Gripsrud. (Ed). Television and commom Knowledge. London: Routledge.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-02-17

How to Cite

ธรรมเสนา อภินันท์. 2019. “ฉายภาพ “ยอง” ในมุมมองของละอ่อน:การประกอบสร้างอัตลักษณ์ ‘ความเป็นยอง’ผ่านสารคดีชุมชนของกลุ่มเยาวชน ชุมชนวัดประตูป่า อ.เมือง จ.ลำพูน”. สังคมศาสตร์วารสารวิชาการ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 22 (1):193-228. https://so04.tci-thaijo.org/index.php/jss/article/view/172912.