จาก ‘เฮฟวี่’ ถึง ‘เมทัล’: นักดนตรีเฮฟวี่เมทัลไทยจาก ‘วัยรุ่นมืออาชีพ’ สู่ ‘ผู้ใหญ่มือสมัครเล่น’, 1970-2010

ผู้แต่ง

  • อธิป จิตตฤกษ์ คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

คำสำคัญ:

เฮฟวี่เมทัล, ดนตรีร็อค, ดนตรีสมัยนิยม, ประวัติศาสตร์เทคโนโลยีดนตรี, การผลิตศิลปวัฒนธรรม, เศรษฐศาสตร์การเมืองของดนตรี, ไทย

บทคัดย่อ

บทความชิ้นนี้มุ่งจะพิจารณาการเปลี่ยนแปลงของเงื่อนไขทางเศรษฐกิจในการผลิตดนตรีเฮฟวี่เมทัลในประเทศไทยซึ่งแตกต่างกันไปในแต่ละช่วงเวลา ภายหลังจากดนตรีเฮฟวี่เมทัลเข้ามาในประเทศไทยเป็นครั้งแรกพร้อมกับทหารอเมริกันตอนต้นทศวรรษที่ 1970 มันก็ได้สร้างนักดนตรีเฮฟวี่เมทัล (หรือนักดนตรีอันเดอร์กราวด์) รุ่นแรกของไทยขึ้นมานักดนตรีรุ่นแรกนี้เป็นนักดนตรีอาชีพที่หาเลี้ยงชีพด้วยการเล่นดนตรีเฮฟวี่เมทัลในแบบที่เหมือนแผ่นเสียงที่สุดตามผับในบริเวณค่ายทหารในต่างจังหวัดเพื่อที่จะทำให้ทหารอเมริกันซึ่งเป็นลูกค้าพึงพอใจ ด้วยความนิยมของดนตรีเฮฟวี่เมทัลที่เพิ่มขึ้นและปัจจัยหลายๆ อย่างในทศวรรษที่ 1980 นักดนตรีเฮฟวี่เมทัลหรือ “เฮฟวี่” ได้กลายมาเป็นส่วนหนึ่งของอุตสาหกรรมดนตรีของไทยที่เกิดขึ้นมาใหม่ (แม้จะเป็นแค่ที่ชายขอบก็ตาม) ช่วงกลางทศวรรษที่ 1990 อาชีพนักดนตรีเฮฟวี่เมทัลแบบในยุคก่อนเริ่มสูญหายไปเนื่องจากความนิยมของดนตรีเฮฟวี่เมทัลในไทย (และในสหรัฐอเมริกา) เริ่มถดถอยลง อย่างไรก็ดีในช่วงเวลาเดียวกันนักดนตรีเฮฟวี่เมทัลในรูปแบบที่หนัก (ซึ่งมักเรียกรวมๆ ว่า อันเดอร์กราวด์เมทัล เอกซ์ตรีมเมทัล หรือ“เมทัล” เฉยๆ) กว่าก็ค่อยๆ ก่อตัวขึ้นมาและออกผลงานดนตรีของตัวเองกันออกมาและจัดงานแสดงดนตรีกันเอง ในตอนต้นทศวรรษที่ 2000 นักดนตรีพวกนี้ส่วนหนึ่งก็ได้เซ็นสัญญากับค่ายเพลงใหญ่ๆ ในไทย อย่างไรก็ดีภายใต้แรงกดดันทางเศรษฐกิจผลงานที่พวกเขาออกมาก็เป็นดนตรีเฮฟวี่เมทัลที่เบาลง หรือ กระทั่งดนตรีที่ไม่ใช่เฮฟวี่เมทัลด้วยซ้ำไป นอกจากนี้ในช่วงเวลาเดียวกันก็ไม่มีผับแห่งใดที่จะจ้างนักดนตรีเฮฟวี่เมทัลเล่นประจำกล่าวคือการเล่นดนตรีเฮฟวี่เมทัลไม่สามารถจะเป็นอาชีพได้ ในช่วงปลายทศวรรษที่ 2000 นักดนตรีเฮฟวี่เมทัลทวีจำนวนขึ้นอย่างมหาศาลแต่แทบจะไม่เหลือนักดนตรีเฮฟวี่เมทัลที่เป็นนักดนตรีอาชีพเลยในภาพรวม นักดนตรีเฮฟวี่เมทัลส่วนใหญ่จะเป็นนักดนตรีมือสมัครเล่นซึ่งเป็นคนในวัยทำงานและนักศึกษาระดับอุดมศึกษาที่พยายามจะนำเสนอบทเพลงของตัวเองโดยไม่สังกัดค่ายเพลงใดๆ ผ่านทางช่องทางเก่าๆ อย่างการผลิต CD มาขายเอง และช่องทางใหม่ๆ ในการเผยแพร่อย่างเว็บไซต์เครือข่ายสังคมต่างๆ ในอินเตอร์เน็ต ซึ่งกิจกรรมเหล่านี้เป็นไปได้เพราะการพัฒนาของสถาบันทางเศรษฐกิจศิลปวัฒนธรรมดนตรีใต้ดิน และพัฒนาการทางเทคโนโลยีต่างๆ ทำให้การผลิตและเผยแพร่ดนตรีโดยปัจเจกบุคคลที่ไม่ได้มีทุนทรัพย์มากเป็นไปได้ว่ายุคสมัยก่อนมาก

References

ภาษาไทย
กมล สุโกศล แคลปป์ และ พีรภัทร โพธิสารัตนะ. 2550. Bakery & I. กรุงเทพฯ: a book.

กองบรรณาธิการนิตยสาร Overdrive และคนอื่นๆ. 2545a. Flash Back เจาะเวลาหาอดีตดนตรีร็อคเมืองไทย. Overdrive, (48). หน้า 28-36.

กองบรรณาธิการนิตยสาร Overdrive และคนอื่นๆ. 2545a. Flash Back เจาะเวลาหาอดีตดนตรีร็อคเมืองไทย. Overdrive, (49). หน้า 37-40.

ฉกาจ ราชบุรี. 2537. ประวัติศาสตร์ธุรกิจเพลงลูกทุ่งไทย พ.ศ. 2507-2535. วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ คณะศิลปะศาสตร์ ภาควิชาประวัติศาสตร์.

ชุมศักดิ์ นราวัตน์วงศ์. 2548. บุปผาในคีตกาลร็อค กิตติ กีต้าร์ปืน. กรุงเทพฯ: พิมพ์บูรพา.

รงค์ วงษ์สวรรค์. 2548. คำานิยม: กิตติ กาญจนสถิต THE PRICE OF ETERNITY. ใน บุปผาในคีตกาลร็อค กิตติ กีต้าร์ปืน. กรุงเทพฯ: พิมพ์บูรพา.

ริน เฮเรติค. 2540. เรื่องราวคอนเสิร์ต เดธ เมทัลในเมืองไทย และรายงาoคอนเสิร์ต “เปิดฝาโลง”. บันเทิงคดี, 9 (85), หน้า 28-33.

ลำเนา เอี่ยมสะอาด. 2539. การวิเคราะห์เพลงไทยสมัยนิยมแนวร็อค. วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย คณะนิเทศศาสตร์ ภาควิชาการสื่อสารมวลชน.

วิฑูร วทัญญู. 2533. บทสัมภาษณ์ วิฑูร วทัญญู. บันเทิงคดี, 1 (6), หน้า 82-85.

ศมกมล ลิมปิชัย. 2532. บทบาทของระบบธุรกิจเทปเพลงไทยต่อการสร้างสรรค์ผลงานเพลง. วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย คณนิเทศศาสตร์ ภาควิชาการสื่อสารมวลชน.

แหลม มอร์ริสัน. 2533. บทสัมภาษณ์ แหลม มอร์ริสัน. บันเทิงคดี, 1 (6), หน้า 86-89

อธิป จิตตฤกษ์. 2550. ความต่อเนื่องและการตัดขาด: ว่าด้วยความแตกต่างของ “พังค์” รุ่นแรกสุดในนิวยอร์ค และลอนดอน. รัฐศาสตร์ธรรมศาสตร์ 60 ปี / รัฐศาสตร์สาร 30 ปี (เล่ม 4), หน้า 257-316

อนันต์ ลือประดิษฐ์. 2545. Jazz: อิสระภาพทางดนตรีของมนุษยชาติ. กรุงเทพฯ: เนชั่น.

ภาษาอังกฤษ
Appadurai, Arjun. 1990. Disjuncture and Difference in the Global Cultural Economy. Public Culture, 2 (2), pp. 1-24.

Attali, Jacques. 1985 [1977]. Noise: The Political Economy of Music. Brian Massumi Trans. Minneapolis: University of Minnesota Press.

Carey, James W. 1995. Abolishing the Old Spirit World.Critical Studies in Mass Communication, 12 (1), pp. 82-89.

Dyer-Witheford, Nick. 2005. Cyber-Negri: General Intellect and Immaterial Labor.In Timothy S. Murphy and Abdul-Karim Mustapha (eds.), The Philosophy of Antonio Negri: Resistance in Practice, pp. 136-162. London: Pluto Press.

Erlmann, Veit. 1996. The Aesthetics of the Global Imagination: Reflections on World Music in the 1990’s, Public Culture, 8 (3), pp. 467-487

Fiske, John. 1989. Understanding Popular Culture. Boston: Unwin Hyman.

Frank, Thomas. 2002. New Consensus for Old: Cultural Studies from Left to Right. Chicago: Prickly Paradigm Press.

Garnham, Nicholas. 1995a. Political Economy and Cultural Studies: Reconciliation or Divorce?. Critical Studies in Mass Communication, 12 (1), pp 62-71.

Garnham, Nicholas. 1995b. Reply to Grossberg and Carey. Critical Studies in Mass Communication, 12 (1), pp. 95-100.

Lawrence Grossberg. 1995. Cultural Studies vs. Political Economy: Is Anybody Else Bored with this Debate?. Critical Studies in Mass Communication, 12
(1), pp. 72-81

Miller, Daniel and Slater, Don. 2000. The Internet: An Ethnographic Approach. Oxford: Berg.

Daniel Miller. 2005. “Materiality: An Introduction” in Daniel Miller (eds.), Materiality, pp., 1-50. Durham: Duke University Press.

Gantz, John and Rochester, Jack B. 2005. Pirates of the Digital Millennium: How the Intellectual Property Wars Damage Our Personal Freedoms, Our Jobs and the World Economy. New York: Pearson Education.

Hobsbawm, Eric J. 1995. The Age of Extreme. London: Abacus.

Jameson, Fredric. 1991. Postmodernism, or, the Cultural Logic of Late Capitalism. Durham: Duke University Press.

Kahn-Harris, Keith. 2007. Extreme Metal: Music and Culture on The Edge. New York: Berg.

Laing, Dave. 1985. One Chord Wonders: Power and Meaning in Punk Rock. Milton Keynes: Open University Press.

McNeil, Legs and McCain, Gillian. 1997.Please Kill Me: The Uncensored Oral History of Punk. London: Abacus.

Mojo. 2006. Punk: The Whole Story. New York: DK.

Mudrian, Albert. 2004. Choosing Death: The Improbable History of Death Metal & Grindcore. Los Angeles: Feral House.

Mudrian, Albert (ed.). 2009. Precious Metal: Decibel Presents The Stories Behind 25 Extreme Metal Masterpieces. Massachusetts: Da Capo Press.

Prit Patarasuk. 2004. Rewat Buddhinan’s Influence on Thai Popular Music (1983-1996). MA Theses, Chulalongkorn University, Southeast Asian Studies Program.

Robb, John. 2006. Punk Rock: An Oral History. Oliver Craske ed. London: Ebury Press.

Savage, Jon. 2002. England’s Dreaming: Anarchy, Sex Pistols, Punk Rock, And Beyond. New York: St. Martin’s Griffin.

Siwat Auampradit. 2007. The Effect of Music Piracy on CDs Purchases. MA Thesis, Thammasat University, Faculty of Economics

Vaidhyanathan, Siva. 2001. Copyrights and Copywrongs: The Rise of Intellectual Property and How It Threatens Creativity. New York: New York University Press.

Waksman, Steve. 2001 [1999]. Instrument of Desire: The Electric Guitar and The Shaping of Musical Experience. Massachusetts: Harvard University Press.

Waksman, Steve. 2009. This Ain’t The Summer of Love: Conflict And Crossover in Heavy Metal and Punk. California: University of California Press.

Tronti, Mario. 1980 [1965]. The Strategy of Refusal. In Sylvere Lotringer andChristian Marazzi (eds), Italy: Autonomia. Post-Political Politics, pp. 28-35.York: Semiotext(e).

Weinstein, Deena. 2000 [1991]. Heavy Metal: The Music and Its Culture. Revised Edition. Cambridge: Da Capo Press.

Wong, Deborah. 1990. Thai Cassettes and Their Covers: Two Case Histories. Asian Music, 21 (1), pp. 78-104.

รายการวิทยุ
มาโนช พุฒตาล. 2010a. รายการคนกรุงเก่าเล่าเรื่อง: “เอกมันต์เล่า ตอนที่1”. ออกอากาศครั้งแรกวันที่ 1 กุมภาพันธ์ ฟังย้อนหลังทางhttp://radio.mcot.net/listRadioClip.php?page=3&order=id&rID=220 ในวันที่ 28 ส.ค. 2010

มาโนช พุฒตาล. 2010b. รายการคนกรุงเก่าเล่าเรื่อง: “เอกมันต์เล่า ตอนที่2”. ออกอากาศครั้งแรกวันที่ 2 กุมภาพันธ์ ฟังย้อนหลังทางhttp://radio.mcot.net/listRadioClip.php?page=3&order=id&rID=220 ในวันที่ 28 ส.ค. 2010

สัมภาษณ์
ตุ่ม ร็อคผับ (เจ้าของร็อคผับ). 2010. วันที่ 17 ก.ค. ที่ร้านขายเครื่องดนตรี Bank Music, Hollywood Street, ราชเทวี, กรุงเทพฯ

บุญเกิด แซ่หรือ (อดีตมือเบสวง Snow White และอดีตโปรดิวเซอร์ค่ายเพลง Real & Sureและ Darkside). 2010. วันที่ 10 ก.ย. ที่สถาบันดนตรี Licks, ประตูน้ำาพลาซ่า, ประตูน้ำ, กรุงเทพฯ

อนุสรณ์ สถิรรัตน์ (อดีตบรรณาธิการนิตยสาร Music Express, Crossroads และ Metal Mag). 2010. วันที่ 30 ก.ค. ที่ร้านขายแผ่นเสียง Records Hunter, Century The Movie Plaza, พญาไท, กรุงเทพฯ

อิทธิชัย บัวแก้ว (อดีตมือกลองวง Heretic Angels และวงเมทัลอีกจำานวนหนึ่ง). 2010. วันที่ 19 ส.ค. ที่โรงเรียนสอนกลอง Drum Zone, ประตูน้ำาพลาซ่า, ประตูน้ำ, กรุงเทพฯ

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-02-17

How to Cite

จิตตฤกษ์ อธิป. 2019. “จาก ‘เฮฟวี่’ ถึง ‘เมทัล’: นักดนตรีเฮฟวี่เมทัลไทยจาก ‘วัยรุ่นมืออาชีพ’ สู่ ‘ผู้ใหญ่มือสมัครเล่น’, 1970-2010”. สังคมศาสตร์วารสารวิชาการ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 22 (1):231-74. https://so04.tci-thaijo.org/index.php/jss/article/view/172913.