ป้ายรถเมล์กายสิทธิ์ วัตถุจำแลงของการเมืองในชีวิตประจำวัน ต่อโครงสร้างระบบขนส่งมวลชนสาธารณะในกรุงเทพมหานคร
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความนี้ศึกษาการปรากฏขึ้นของป้ายรถเมล์กายสิทธิ์ป้ายหนึ่งบนบาทวิถีของถนนพุทธมณฑลสายสองในกรุงเทพมหานคร แม้ป้ายรถเมล์ดังกล่าวจะเป็นโครงสร้างพื้นฐานแบบหนึ่งที่ก่อตัวขึ้นจากปฏิบัติการในชีวิตประจำวันของผู้คนซึ่งเป็นผู้ใช้งานระบบขนส่งมวลชนสาธารณะด้วยกันเองโดยไม่ได้รับอนุญาต ทว่าป้ายดังกล่าวกลับใช้งานได้เสมือนเป็นป้ายรถเมล์ที่ถูกติดตั้งโดยหน่วยงานราชการซึ่งมีตัวบทกฎหมายรองรับอย่างเป็นปกติ ผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่า การดำรงอยู่ของป้ายรถเมล์ดังกล่าวเป็นประจักษ์พยานต่อปัญหาความไม่สอดคล้องกันระหว่างวิถีชีวิตแบบเมืองของคนธรรมดาซึ่งเป็นผู้ใช้บริการ กับโครงสร้างการบริหารจัดการของหน่วยงานราชการซึ่งเป็นผู้ให้บริการโครงสร้างพื้นฐาน ความกายสิทธิ์ของป้ายรถเมล์จึงแสดงตัวผ่านเวทีของการเมืองในชีวิตประจำวันซึ่งผู้คนใช้กลวิธีประสานตัวเองเข้ากับระบบขนส่งมวลชนสาธารณะ ภายใต้การบริหารจัดการแบบยุทธศาสตร์ของหน่วยงานราชการ จนส่งผลให้ปัญหาความความไม่สอดคล้องกันของทั้งสองฝ่ายอันตรธานไปจากการมีอยู่ในตัวของมันเองในท้ายที่สุด
Article Details
ข้อเขียนทั้งหมดทีปรากฏในวารสารสังคมศาสตร์ เป็นความคิดเห็นของผู้เขียนโดยเฉพาะ มิใช่ทัศนคติของคณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ หรือกองบรรณาธิการวารสารสังคมศาสตร์
References
จักรกริช สังขมณี. 2560. “ชาติพันธุ์วรรณนาว่าด้วยโครงสร้างพื้นฐาน.” วารสารธรรมศาสตร์ 36 (2): 33-57.
ประเสริฐ แรงกล้า. 2560. “การเคลื่อนย้ายศึกษา: ระบบที่ซับซ้อน ความเป็นการเมือง และความเป็นไปได้.”
รัฐศาสตร์สาร 38 (3): 130-158.
พนิต ภู่จินดา. 2556. ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับระบบขนส่งมวลชน. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
de Certeau, Michel. 1988. The Practice of Everyday Life, translated by Steven Randall. California: University of California Press.
Lefebvre, Henri. 1991. The Production of Space, translated by Donald Nicholson-Smith. Oxford: Blackwell.
Miller, Daniel. 2005. Materiality. Durham: Duke University Press.
Star, Susan Leigh and James R. Griesemer. 1989. “Institutional Ecology, ‘Translations’ and Boundary Objects: Amateurs and Professionals in Berkeley’s Museum of Vertebrate Zoology, 1907-39.” Social Study of Science 19 (3): 387-420.
Star, Susan Leigh. 1999. “The Ethnography of Infrastructure.” American Behavioral Scientist 43 (3): 377-391.
Westbrook, David A. 2008. Navigators of the Contemporary: Why Ethnography Matters. Chicago: University of Chicago Press.