ภววิทยาหลังมนุษย์: สภาวะใหม่ในสนามของความสัมพันธ์
Main Article Content
บทคัดย่อ
ในช่วงเวลาประมาณ 30 ปีที่ผ่านมา แนวพินิจที่เรียกว่า “จุดเปลี่ยนทางภววิทยา” ได้ก่อร่างขึ้นในโลกวิชาการตะวันตกเพื่อตั้งคำถามการศึกษาที่มักมีมนุษย์เป็นจุดศูนย์กลางและลดทอนสิ่งอื่น ๆ ที่ไม่ใช่มนุษย์ให้กลายเป็นเพียงเครื่องมือเพื่อรับใช้การทำความเข้าใจปรากฏการณ์ในสังคมของมนุษย์ แนวพินิจนี้บูรณาการศาสตร์ที่เคยแบ่งแยกพรมแดนความรู้ออกเป็นวิทยาศาสตร์กับมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ให้นำไปสู่อาณาบริเวณความรู้ใหม่ ๆ เช่น มนุษยศาสตร์สิ่งแวดล้อม การศึกษาทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี การศึกษาทางผัสสารมณ์ หรือหลากสายพันธุ์และสัตว์ศึกษา เป็นต้น งานเหล่านี้มีจุดร่วมคือท้าทายความจริงแบบคู่ตรงข้ามของมนุษย์กับสิ่งที่ไม่ใช่มนุษย์ รวมไปถึงธรรมชาติกับวัฒนธรรม บทความวิจัยชิ้นนี้มุ่งศึกษา ประมวล และสังเคราะห์งานวิชาการด้านภววิทยาชิ้นสำคัญ ๆ ที่ปรากฏในกระแสธารความคิดเพื่อนำเสนอความหมายใหม่ ๆ ของ “ภววิทยาหลังมนุษย์” จุดเปลี่ยนและพัฒนาการทางประวัติศาสตร์ทางความคิด รวมไปถึงวิธีวิทยาสำคัญ ๆ ในบทความนี้ผู้วิจัยเสนอคำสำคัญคือ “สภาวะใหม่ในสนามของความสัมพันธ์” เพื่อเป็นเครื่องมือในการทดลองศึกษาข้อมูลเพื่อหาความรู้ทางภววิทยาที่อาจจะเปิดพื้นที่ความรู้ใหม่ ๆ ในแวดวงวิชาการไทย
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ข้อเขียนทั้งหมดทีปรากฏในวารสารสังคมศาสตร์ เป็นความคิดเห็นของผู้เขียนโดยเฉพาะ มิใช่ทัศนคติของคณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ หรือกองบรรณาธิการวารสารสังคมศาสตร์