การสร้างฉากวัฒนธรรมในหมู่บ้านหมาตี้ เมืองรุ่ยจิน ประเทศจีน

Main Article Content

Keeratiporn Jutaviriya

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ


บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการสร้างฉากวัฒนธรรมในหมู่บ้านหมาตี้ เมืองรุ่ยจิน ประเทศจีน ข้อมูลที่ใช้เรียบเรียงบทความได้จากงานวิจัยเชิงคุณภาพในระยะแรก ซึ่งเป็นการค้นคว้าเอกสารโดยใช้ทฤษฎีฉากวัฒนธรรมในการอธิบายปรากฏการณ์ที่ศึกษา ผลการวิจัยชี้ว่า องค์ประกอบ 5 ประการในการสร้างฉากวัฒนธรรมของหมู่บ้านหมาตี้นั้นครบถ้วน ได้แก่ ชุมชนหมู่บ้านหมาตี้ โครงสร้างทางกายภาพ กลุ่มคนที่หลากหลาย กิจกรรมทางวัฒนธรรม และค่านิยมทางวัฒนธรรม หมู่บ้านหมาตี้ได้สร้างฉากวัฒนธรรม 5 ฉากโดยอิงจากองค์ประกอบ 5 ประการข้างต้น ได้แก่ ฉากวัฒนธรรมเชิงชีวิตประจำวัน ฉากวัฒนธรรมเชิงประเพณีพื้นบ้าน ฉากวัฒนธรรมเชิงนิเวศ ฉากวัฒนธรรมเชิงวัฒนธรรมสาธารณะ และฉากวัฒนธรรมการผลิตในชนบท ฉากวัฒนธรรมที่สร้างขึ้นในหมู่บ้านหมาตี้สะท้อนให้เห็นถึงเสน่ห์อันเป็นอัตลักษณ์ของหมู่บ้านหมาตี้ เสริมสร้างสำนึกร่วมความเป็นเจ้าของและอัตลักษณ์ของชุมชน ดึงดูดกลุ่มคนมารวมกัน ทั้งยังนำพลังการบริโภค ความคิดสร้างสรรค์ เทคโนโลยี และอื่น ๆ เข้ามาช่วยให้หมู่บ้านหมาตี้หลุดพ้นจากความยากจนและบรรลุการพัฒนาทางเศรษฐกิจ วัฒนธรรม อุดมการณ์ทางการเมือง และอื่น ๆ กระทั่งหมู่บ้านหมาตี้บรรลุการฟื้นฟูชนบทในที่สุด

Article Details

How to Cite
Jutaviriya, K. (2024). การสร้างฉากวัฒนธรรมในหมู่บ้านหมาตี้ เมืองรุ่ยจิน ประเทศจีน. วารสารสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 36(1), 87–116. สืบค้น จาก https://so04.tci-thaijo.org/index.php/jss/article/view/269671
บท
บทความวิชาการ

References

เอกสารอ้างอิง

Chen, J. H. 2022. “文化场景理论视域下社区图书馆场景化建构研究.” Library (3): 90-97.

Chen, S.Y. 2021. “基于场景理论的文化动力型乡村振兴模式探析.” Journal of Dali University 6 (7): 93-99.

Daniel Aaron Silver, Terry Nichols Clark. 2016. Scenescapes: How qualities of place shape social life. United States of America: The University of Chicago Press.

Daniel Aaron Silver, Terry Nichols Clark. 2015. “The Power of Scenes.” Cultural Studies (29) 3: 425-449.

Diana L. Miller, Daniel Silver. 2015. “Cultural scenes and contextual effects on political attitudes.” European Journal of Cultural and Political Sociology 2(3-4): 241-266.

Fan, W. 2020. “城市文化场景的构建机制研究——以加拿大多伦多市为例.” Administrative Reform (5): 83-91.

Lan, B. Y., Lian, H. Y. 2023. “文化场景理论视角下成都市博物馆旅游场景设计研究.” Culture and Tourism (17): 22-24.

Qi, S.Y. 2017. “建设文化场景培育城市发展内生动力——以生活文化设施为视角.” Dong Yue Tribune 38 (1): 25-34.

Ruijin gov. 2023. “麻地村村情简介.” Ruijin People's Government. Accessed November 20, 2023. http://www.ruijin.gov.cn/rjsrmzfyyh/c120617/202211/bab14f5a81d549d39b351039b2910747.shtml

Terry Nichols Clark. (Ed.). 2004. The City as an Entertainment Machine, Amsterdam: Elsevier Health Sciences.

Terry Nichols Clark, Li, L. 2017. “场景理论的概念与分析:多国研究对中国的启示.” Dong Yue Tribune 38 (1): 16-24.

Wang, H.L., Dou Y.D., Li B.H., and Liu P. L. 2023. “场景理论视角下的传统村落文化空间建构研究——以江永县兰溪村为例.” Resource Development & Market 39 (10): 1373-1382.

Wang, Y. 2022. “基于场景理论的数字文化旅游融合发展研究.” Journal of Beijing University of Aeronautics and Astronautics (Social Science Edition) 35 (4): 83-89.

Wu, J., Xia, J. Z., and Terry Nichols Clark. 2014. “场景理论与城市公共政策——芝加哥学派城市研究最新动态.” Social Science Front (1):8-14.

Zhong, M. 2018. “万田麻地,米果飘香.” Ruijin Wen Xue 23 (3): 29-34.