การศึกษาศักยภาพการท่องเที่ยวเชิงเกษตร อำเภอพบพระ จังหวัดตาก

ผู้แต่ง

  • รัชนีวรรณ บุญอนนท์ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร
  • ยุชิตา กันหามิ่ง คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร
  • กันต์กนิษฐ์ จูรัตน์ สาขาวิชาการบัญชี มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร แม่สอด

คำสำคัญ:

การท่องเที่ยวเชิงเกษตร, ศักยภาพการท่องเที่ยวเชิงเกษตร, กิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงเกษตร

บทคัดย่อ

การศึกษาวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาศักยภาพการท่องเที่ยวเชิงเกษตร อำเภอ พบพระ จังหวัดตาก เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามถามนักท่องเที่ยวที่เดินทางมาท่องเที่ยวแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร อำเภอพบพระ จังหวัดตาก จำนวน 400 คน  วิเคราะห์ข้อมูลในรูปค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการศึกษา พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีอายุระหว่าง 20-29 ปี มีการศึกษาในระดับปริญญาตรี มีอาชีพรับราชการ/รัฐวิสาหกิจ มีรายได้ต่อเดือน 10,001-15,000 บาท ผลการศึกษาศักยภาพการท่องเที่ยวเชิงเกษตร อำเภอพบพระ จังหวัดตาก โดยภาพรวม พบว่า มีศักยภาพอยู่ในระดับปานกลาง และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านการบริหารจัดการแหล่งท่องเที่ยว รองลงมา คือ ด้านการรองรับของแหล่งท่องเที่ยวและด้านสิ่งอำนวยความสะดวกในแหล่งท่องเที่ยว ตามลำดับ ส่วนด้านที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุดคือ ด้านการให้บริการในแหล่งท่องเที่ยวและด้านกิจกรรมในแหล่งท่องเที่ยว

References

กรมการท่องเที่ยว. (2563). สถิตินักท่องเที่ยว. สืบค้น ธันวาคม, 10, 2565, จาก https://www.mots.go.th/ news/category/592.

ซัมรอฮ ดอเลาะ และประจวบ ทองศรี. (2563, มกราคม-เมษายน). การประเมินศักยภาพการท่องเที่ยวเชิงเกษตรของชุมชนตันหยงเปาว์ ตำบลท่ากำชำ อำเภอหนองจิก จังหวัดปัตตานี. วารสารมนุษยศาสตร์สังคมศาสตร์. 37(1), 80-111.

นำขวัญ วงศ์ประทุม และคณะ. (2561, พฤษภาคม-สิงหาคม). การประเมินศักยภาพแหล่งท่องเที่ยวเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงเกษตรหมู่บ้านวาวี จังหวัดเชียงราย. วารสารวิทยาลัยดุสิตธานี. 12(2), 132-150.

ประคอง กรรณสูต. (2542). สถิติเพื่อการวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์ (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

เปรมปรีดา ทองลา และเพ็ญศิริ สมารักษ์. (2563, มกราคม-มิถุนายน). ศักยภาพการจัดการแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตรจังหวัดจันทบุรี. วารสารมุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี. 11(1), 190-213.

มณีรัตน์ สุขเกษม. (2559, ตุลาคม-ธันวาคม). แนวทางการพัฒนาศักยภาพการท่องเที่ยวเชิงเกษตร ตำบลดงขี้เหล็ก อำเภอเมือง จังหวัดปราจีนบุรี. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยฟาร์อีสเทอร์น. 10(4), 97-112.

รัชนีวรรณ บุญอนนท์. (2562). การบริหารการท่องเที่ยวเชิงกลยุทธ์. กำแพงเพชร: มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร.

ศิวพร พยัคนันท์ และคณะ. (2566, มกราคม-เมษายน). การพัฒนาศักยภาพการท่องเที่ยวเชิงเกษตรบ้านบัวขุนจง ตำบลบัวเชด อำเภอบัวเชด จังหวัดสุรินทร์. วารสารการบริหารการปกครองและนวัตกรรมท้องถิ่น. 7(1), 1-16.

สำนักพัฒนาแหล่งท่องเที่ยว กรมการท่องเที่ยว กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2565). คู่มือการประเมินมาตรฐานคุณภาพแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร. สืบค้น ธนวาคม, 10, 2565, จากhttps://www.dot.go.th/pages/126.

TCEB Thailand Convertion. (2563). สถานการณ์การตลาดท่องเที่ยวเชิงเกษตร. สืบค้น ธนวาคม, 10, 2565, จาก https://www.businesseventsthailand.com/uploads/image_file/file/210512-file-8xmh6mzL2.pdf

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-06-30