การวิเคราะห์ต้นทุน กำหนดราคาขาย และผลตอบแทนผลิตภัณฑ์น้ำยาอเนกประสงค์ของวิสาหกิจชุมชนศูนย์การเรียนรู้เกษตรอินทรีย์และพัฒนาผลิตภัณฑ์จากสมุนไพร ตำบลท่าแค อำเภอเมือง จังหวัดลพบุรี

ผู้แต่ง

  • นันทนา แจ้งสว่าง คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี
  • นิพพิชฌน์ กมลธีระวิทย์ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี
  • กรพินธุ์ กลิ่นเกษร คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี

คำสำคัญ:

ต้นทุน, กำหนดราคาขาย, ผลตอบแทน, น้ำยาเอนกประสงค์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) วิเคราะห์ต้นทุนผลิตภัณฑ์น้ำยาอเนกประสงค์ของวิสาหกิจชุมชนศูนย์การเรียนรู้เกษตรอินทรีย์และพัฒนาผลิตภัณฑ์จากสมุนไพร ตำบลท่าแค อำเภอเมือง จังหวัดลพบุรี 2) กำหนดราคาขายผลิตภัณฑ์น้ำยาอเนกประสงค์ของวิสาหกิจชุมชนศูนย์การเรียนรู้เกษตรอินทรีย์และพัฒนาผลิตภัณฑ์จากสมุนไพร  ตำบลท่าแค อำเภอเมือง จังหวัดลพบุรี และ 3) วิเคราะห์ผลตอบแทนผลิตภัณฑ์น้ำยาอเนกประสงค์ของวิสาหกิจชุมชนศูนย์การเรียนรู้เกษตรอินทรีย์และพัฒนาผลิตภัณฑ์จากสมุนไพร ตำบลท่าแค อำเภอเมือง จังหวัดลพบุรี มีประชากรเป็นสมาชิกกลุ่มวิสาหกิจชุมชนศูนย์การเรียนรู้เกษตรอินทรีย์และพัฒนาผลิตภัณฑ์จากสมุนไพร จำนวน 10 คน และกลุ่มตัวอย่างเป็นสมาชิกกลุ่มวิสาหกิจชุมชนศูนย์การเรียนรู้เกษตรอินทรีย์และพัฒนาผลิตภัณฑ์จากสมุนไพร จำนวน 4 คน โดยใช้วิธีการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง  โดยเครื่องมือในการวิจัยใช้แบบสัมภาษณ์ เพี่อรวบรวมข้อมูลทั่วไปของกลุ่มวิสาหกิจชุมชน ข้อมูลต้นทุนการผลิต การกำหนดราคาขาย และผลตอบแทน ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลิตภัณฑ์น้ำยาอเนกประสงค์ 1 ถัง มีต้นทุนการผลิตรวมเท่ากับ 634.80 บาท นำมาบรรจุขวดขนาด 1 ลิตร ได้จำนวน 12 ขวด โดยมีต้นทุนการผลิตต่อขวดเท่ากับ 52.90 บาท 2) ผลิตภัณฑ์น้ำยาอเนกประสงค์ กำหนดราคาขายเท่ากับ 97.87 บาทต่อขวด มาจากการนำต้นทุนการผลิตรวมจำนวน 52.90 บาท บวก กำไรที่ต้องการขั้นต่ำร้อยละ 85 ของต้นทุนการผลิตรวม เท่ากับ 44.97 บาท ทั้งนี้กลุ่มวิสาหกิจชุมชนมีความต้องการกำหนดราคาขายเท่ากับ 100 บาทต่อขวด เพื่อให้ได้กำไรตามที่ต้องการ 3) ผลิตภัณฑ์น้ำยาอเนกประสงค์มีปริมาณความต้องการขายจำนวน 100 ขวดต่อเดือน ทำให้มีรายได้จากการขายเท่ากับ 100 บาทต่อขวด หรือ 10,000 บาทต่อเดือน หรือ 120,000 บาทต่อปี และมีกำไรขั้นต้นเท่ากับ 47.10 บาทต่อขวด หรือ 4,710 บาทต่อเดือน หรือ 56,520 บาทต่อปี

References

กฤติยา ยงวณิชย์. (2563). การบัญชีบริหาร. พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

ทิพวรรณ รัตนพรหม, นิฟาตีฮะ ปัตนวงศ์, นันทิกานต์ ประสพสุข, และเนตรวดี เพชรประดับ. (2564). การวิเคราะห์ต้นทุนและผลตอบแทนของผลิตภัณฑ์กล่องซิปรอบจากกระจูดรายา: กรณีศึกษาวิสาหกิจชุมชนกลุ่มแปรรูปผลิตภัณฑ์กระจูดบ้านพรุกาบแดง 110/1 หมู่ที่7 ตำบลไพรวัน อำเภอตากใบ จังหวัดนราธิวาส เพื่อการกำหนดราคาขายที่เหมาะสม. การประชุมหาดใหญ่วิชาการระดับชาติและนานาชาติครั้งที่ 12. 1531-1544.

ธัญปวีณ์ รัตน์พงศ์พร. (2562). นโยบายและกลยุทธ์ราคา. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

นิพันธ์ เห็นโชคชัยชนะ และศิลปพร ศรีจั่นเพชร. (2564). ทฤษฎีการบัญชี. กรุงเทพมหานคร: ห้างหุ้นส่วนจำกัด ทีพีเอ็น เพรส.

เบญจมาศ อภิสิทธิ์ภิญโญ. (2562). การบัญชีต้นทุน1. กรุงเทพมหานคร: แพนด้าเลิร์นนิ่งบุ๊ค.

ผกามาศ บุตรสาลี. (2565). การวิเคราะห์ต้นทุน ผลตอบแทน และอัตราส่วนทางการเงินจากการทอผ้าไหมมัดหมี่ ชุมชนบ้านมาบสมอ อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์. วารสารชุมชนวิจัย มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา. 16(3). 111-123.

ภัทรภร กินิพันธ์ (2566). การวิเคราะห์ต้นทุนและแนวทางการกำหนดราคาขายตามวิธีต้นทุนของผลิตภัณฑ์ กระเป๋าสานเส้นพลาสติกของวิสาหกิจชุมชนบ้านขามป้อม ตำบลสวนหม่อน อำเภอมัญจาคีรีจังหวัดขอนแก่น. วารสารวิชาการและวิจัย มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. 13(4), 298-309.

ศศิวิมล มีอำพล. (2560). การบัญชีเพื่อการจัดการ. พิมพ์ครั้งที่ 24. กรุงเทพมหานคร : เสมาธรรม จำกัด.

ศูนย์กสิกรรมธรรมชาติบ้านบุญ. (ม.ป.ป.). คนมีน้ำยา น้ำยาอเนกประสงค์(สูตรชีวภาพ). ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

สมนึก เอื้อจิระพงษ์พันธ์. (2563). การบัญชีบริหาร. กรุงเทพมหานคร: บริษัท กรีนไลฟ์ พริ้นติ้งเฮ้าส์ จำกัด.

สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (องค์การมหาชน). (2567). การทำเกษตรแปรรูปเพื่อเพิ่มมูลค่าสินค้า. สืบค้นเมื่อ 3 มกราคม 2567, จาก https://www.arda.or.th/detail/6191

อรทัย ชำนาญกิจ, สุกัลยา ปรีชา, อัญชลี สนด, และเฉลิมเกียรติ ร่างเล็ก. (2561). การศึกษาต้นทุน ผลตอบแทนทางการเงินและการจัดการด้านการตลาด สำหรับการผลิตขนมจีนในจังหวัดนครศรีธรรมราช. คณะเทคโนโลยีการจัดการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย.

อารีย์ คำนวนกิจ, อัจฉรา คำนวนกิจ, ชนิดาภา เศรษฐบุตร, และปัทมา อ่วมวิไล. (2567, 5 มกราคม). สำรวจสภาพปัจจุบัน ความต้องการพัฒนาผลิตภัณฑ์ และปัญหาการดำเนินงาน. (นันทนา แจ้งสว่าง และคณะผู้วิจัย, ผู้สัมภาษณ์)

อำนาจ รัตนสุวรรณ และธีรเสฏฐ์ ศิรธนานนท์. (2564). การบัญชีขั้นต้น. กรุงเทพฯ: หจก. พิมพ์พรรณการพิมพ์.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-06-30