ความพึงพอใจต่อการพัฒนาช่องทางการประชาสัมพันธ์ของวิสาหกิจชุมชน: ร้านบ้านสวนพันจิตร บนเฟสบุ๊คแฟนเพจ

ผู้แต่ง

  • มาริดา ชำนาญงาม สาขาวิขาบริหารธุรกิจ วิชาเอกการจัดการธุรกิจดิจิทัล คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี
  • จิราพร เพชรมั่น สาขาวิขาบริหารธุรกิจ วิชาเอกการจัดการธุรกิจดิจิทัล คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี
  • อรวรรณ แท่งทอง คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี
  • พันธ์ศักดิ์ พึ่งงาม คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี

คำสำคัญ:

การประชาสัมพันธ์, แพลตฟอร์มออนไลน์, เฟสบุ๊คแฟนเพจ, วิสาหกิจชุมชน, อาหารและขนมเพื่อสุขภาพ

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาช่องทางการประชาสัมพันธ์ของวิสาหกิจชุมชน: ร้านบ้านสวน  พันจิตร บนเฟสบุ๊คแฟนเพจ 2) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของผู้ติดตามบนเฟสบุ๊คแฟนเพจต่อการพัฒนาช่องทางการประชาสัมพันธ์ของวิสาหกิจชุมชน: ร้านบ้านสวนพันจิตร รูปแบบการวิจัยเป็นแบบผสมผสาน การวิจัยเชิงคุณภาพ ผู้ให้ข้อมูลหลักคือ ผู้ติดตาม Facebook Fan Page เจ้าของวิสาหกิจชุมชน: ร้านบ้านสวนพันจิตร จำนวน 373 ราย ประเด็นที่ศึกษาคือ “6Cs” องค์ประกอบแพลตฟอร์มพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ จากนั้นนำผลการศึกษาจากประเด็นที่ได้รับ มาพัฒนาช่องทางการประชาสัมพันธ์ของวิสาหกิจชุมชน: ร้านบ้านสวนพันจิตร บนเฟสบุ๊คแฟนเพจ สำหรับการวิจัยเชิงปริมาณ ใช้แบบสอบถามสำรวจความพึงพอใจของผู้ติดตามบนเฟสบุ๊คแฟนเพจของวิสาหกิจชุมชน: ร้านบ้านสวนพันจิตร ใช้การสุ่มตัวอย่างโดยใช้ความน่าจะเป็นด้วยวิธีสุ่มแบบง่าย ผลการวิจัย พบว่า 1) การพัฒนาช่องทางการประชาสัมพันธ์ของวิสาหกิจชุมชน: ร้านบ้านสวนพันจิตร บนเฟสบุ๊คแฟนเพจคือ สามารถใช้เป็นเครื่องมือในการประชาสัมพันธ์ข้อมูล และสินค้าได้ตามความต้องการของร้านค้า สามารถแสดงข้อมูลได้อย่างชัดเจน ที่จะให้ผู้ที่ติดตามและสนใจสามารถเข้าถึงข้อมูลร้านค้าและสินค้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ 2)  ความพึงพอใจของผู้ติดตามบนเฟสบุ๊คแฟนเพจของของวิสาหกิจชุมชน: ร้านบ้านสวนพันจิตร โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ความพึงพอใจด้านเนื้อหา ด้านองค์ประกอบ และด้านการนำเสนออยู่ในระดับมากที่สุดตามลำดับ สำหรับด้านภาพและเสียงอยู่ในระดับมาก

References

กิตติพงศ์ เซ่งลอยเลื่อน และคณะ. (2565). การสร้างสรรค์สื่อประชาสัมพันธ์ชุมชนบ้านเตราะบอน อำเภอสายบุรี จังหวัดปัตตานี. Journal of Information and Learning (JIL) 33(1), 91-100.

จริยา รสหอม. (2565). การพัฒนาสื่อประชาสัมพันธ์ยุคดิจิทัลเพื่อส่งเสริมการขายผลิตภัณฑ์ชุมชน. วารสารวิชาการการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ, 8(1), 66-77

ธานินทร์ ศิลป์จารุ. (2557). การศึกษาและการวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วย SPSS. กรุงเทพมหานคร: วีอินเตอร์พริ้นทร์

พิมพ์ชนก ศุภประภา. (2563). ความพึงพอใจของผู้บริโภคต่อคุณภาพการบริการธนาคารพาณิชย์ในประเทศไทย. วารสารวิจัยและพัฒนามนุษย์และสังคมศาสตร์, 11(1), 132-144.

ภาวุธ พงษ์วิทยภานุ. (2551). การตลาดอิเล็กทรอนิกส์. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์จิวลัพย์.

รุ่งทิพย์ อำนาจมโนธรรม. (2564). การศึกษาประสิทธิผลการใช้งบโฆษณาบนเฟซบุ๊กในรูปแบบต่าง ๆ ที่มีผลต่อการเพิ่มจำนวนผู้ติดตามและการมีส่วนร่วมบนแฟนเพจเฟซบุ๊ก กรณีศึกษา Toon Online. การค้นคว้าอิสระตามหลักสูตรนิเทศศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการสื่อสารการตลาดดิจิทัล มหาวิทยาลัยกรุงเทพ

วัฒนะ พิมพ์แน่น และอภิ คำเพราะ. (2566). ความสัมพันธ์ระหว่างการประชาสัมพันธ์เชิงรุกกับผลการดำเนินงานขององค์กรของสถาบันอุดมศึกษาในประเทศไทย. วารสารศิลปศาสตร์และการจัดการมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์,10(1), 38-54.

สถาบันพัฒนาการบริหารจัดการ. (2563). หลักการและแนวทางการประชาสัมพันธ์. from https://plan.prd.go.th/

สำนักงานประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา. (2562). กลยุทธ์การประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อสังคมออนไลน์ด้วยการใช้เฟซบุ๊ก (Facebook). สำนักงานประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา.

Buttle, F. (2009). Customer Relationship Management: Concepts and Technologies. Routledge.

Chaffey, D., & Ellis-Chadwick, F. (2019). Digital Marketing: Strategy, Implementation and Practice. Pearson Education.

Christopher, M. (2016). Logistics & Supply Chain Management. Pearson, London.

Fill, C., & Turnbull, S. (2016). Marketing Communications: Brands, Experiences and Participation (7th Edition). Harlow: Pearson Education Limited.

InsightERA. (2567). อัปเดต! Best time to Post on Social Media 2024 เพิ่มยอด Engagement ให้ได้ประสิทธิภาพสูงที่สุด. จาก https://www.insightera.co.th/best-times-to-post-2024/

Kotler, P., & Keller, K. L. (2016). Marketing Management (15th Edition). Edinburgh: Pearson Education.

Kotler, P., & Keller, K. L. (2016). Marketing Management. (15th global edition) Edinburgh: Pearson Education.

Rovinelli, R. J., & Hambleton, R. K. (1977). On the use of content specialists in the Assessment of criterion-referenced test item validity. Dutch Journal of Educational Research, 2, 49-60.

Schmitt, B. (2003). Customer Experience Management: A Revolutionary Approach to Connecting with Your Customers. Wiley.

WeAreSocial x Hootsuite. (2024). DIGITAL 2024: GLOBAL OVERVIEW REPORT. from https://datareportal.com/reports/digital-2024-global-overview-report

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-06-30