ภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการบริหารงานทรัพยากรมนุษย์ : บริษัท ลิคิโทมิ (ประเทศไทย) จำกัด
คำสำคัญ:
ภาวะผู้นำดิจิทัล, ประสิทธิผล, การบริหารงานทรัพยากรมนุษย์บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาระดับภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหาร บริษัท ลิคิโทมิ (ประเทศไทย) จำกัด 2) เพื่อศึกษาระดับประสิทธิผลการบริหารงานทรัพยากรมนุษย์ บริษัท ลิคิโทมิ (ประเทศไทย) จำกัด และ 3) เพื่อศึกษาภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหารที่มีผลต่อประสิทธิผลการบริหารงานทรัพยากรมนุษย์ บริษัท ลิคิโทมิ (ประเทศไทย) จำกัด ทำการศึกษาด้วยแบบสอบถามโดยเก็บรวบรวมข้อมูลจากบุคลากรผู้ปฏิบัติงานบริษัท ลิคิโทมิ (ประเทศไทย) จำกัด จำนวน 168 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์คือ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทำการทดสอบสมมติฐานโดยใช้การวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบปกติ (Enter Multiple Regression Analysis)
ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีอายุมากกว่า 45 ปี มีการศึกษาระดับต่ำกว่าปริญญาตรี มีตำแหน่งงานระดับปฏิบัติงาน และมีประสบการณ์ทำงานมากกว่า 10 ปี ระดับภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหาร บริษัท ลิคิโทมิ (ประเทศไทย) จำกัด โดยรวมอยู่ระดับมาก ระดับประสิทธิผลการบริหารงานทรัพยากรมนุษย์ บริษัท ลิคิโทมิ (ประเทศไทย) จำกัด โดยรวมอยู่ระดับมาก และผลการทดสอบภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหาร มีอิทธิพลต่อประสิทธิผลการบริหารงานทรัพยากรมนุษย์ บริษัท ลิคิโทมิ (ประเทศไทย) จำกัด พบว่า ภาวะผู้นำดิจิทัลของผู้บริหาร ได้แก่ ด้านการมีวิสัยทัศน์ ด้านการทำงานเป็นทีมและการมีส่วนร่วม ด้านการมีความคิดสร้างสรรค์ ด้านทักษะเทคโนโลยีดิจิทัล ด้านการสร้างแรงจูงใจ และด้านการเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ มีอิทธิพลต่อประสิทธิผลการบริหารงานทรัพยากรมนุษย์ บริษัท ลิคิโทมิ (ประเทศไทย) จำกัด อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และโดยมีค่า R2 = 0.547 หรือร้อยละ 54.7
References
จิณณวัตร ปะโคทัง. (2561). ภาวะผู้นำยุคดิจิทัลสำหรับผู้บริหารสถานศึกษามืออาชีพ. วารสารการบริหารการศึกษาและภาวะผู้นำ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร, 280-283.
ชีวิน อ่อนละออ, สุชาติ บางวิเศษกานนท์ แสนเภาและสวิตา อ่อนละออ. (2563). ภาวะผู้นำยุคดิจิทัลสำหรับนักบริหารการศึกษา. วารสารวิทยาลัยบัณฑิตเอเซีย, 10(1), 108-119.
ดำรง คำวงค์. (2564). ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพและการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ตามความคิดเห็นของบุคลากรในบริษัทผู้จำหน่ายเครื่องมือและอุปกรณ์ไฟฟ้าอุตสาหกรรม ในเขต กรุงเทพมหานคร. การค้นคว้าอิสระศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาการบริหารจัดการองค์กร, คณะศิลปะศาสตร์, มหาวิทยาลัยเกริก.
รายงานข้อมูลจำนวนบุคลากรฝ่ายทรัพยากรมนุษย์บริษัท ลิคิโทมิ (ประเทศไทย). (2566). สืบค้นเมื่อ 13 ธันวาคม พ.ศ.2566 จาก https://www.dataforthai.com/company/0105532064571.
รุ่งรัตน์ พลชัย. (2563). ภาวะผู้นำกับการบริหารในยุคดิจิทัล. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มมร. วิทยาเขตอีสาน, 1(3), 53 – 62.
เลอศักดิ์ ตามา และสุมาลี ศรีพุทธรินทร. (2564). ภาวะผู้นำยุคดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อการดำเนินงานระบบประกันคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 22. วารสารรัชต์ภาคย์, 15(38), 224 – 240.
สมาคมการจัดการงานบุคคลแห่งประเทศไทย. (2566). HR ยุคดิจิทัล กับ 5 ทักษะที่ควรมี. สืบค้นเมื่อ 13 ธันวาคม พ.ศ.2566 จาก http://www.pmat.or.th.
สุธรรม เลิศพงษ์ประเสริฐ และธนชาติ ประทุมสวัสดิ์. (2563). การจัดการทรัพยากรมนุษย์ของโรงงานอุตสาหกรรมในจังหวัดสมุทรปราการ. วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์, 9(2), 162 – 179.
อริสรา ศรีเพ็งตา. (2565). ภาวะผู้นำกับการบริหารในยุคไทยแลนด์ 4.0. วารสารการบริหารการศึกษา มมร.วิทยาเขตร้อยเอ็ด, 2(1), 32 – 42.
Center for Advanced Study of Technology Leadership in Education (CASTLE). (2009). Principal Technology Leadership Assessment. Retrieved from https://schooltechleadership.org. September 5th 2023.
Chaiyaset Promsri. (2017). The Developing Model of Digital Leadership for a Successful Digital Transformation. (Online). Retrieved from https://www.capgemini.com/wp.
Elliott T. (2017). Digital Leadership: A Six-Step Framework For Transformation. [online] [cited 2023 October 27]. Available from: https://1th.me/ZQPLH
Kapure, Dhwani (2021). Importance of Digital Leadership in the Era of Digitalization. Retrieved from shorturl.at/fyCR6
Krejcie, R.V., & D.W. Morgan. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement. 30(3) : 607 – 610.
Komsan Bupta. (2017). Police Administration and Social Change in Thailand 4.0 Age. Journal of Research and Development Institute, Rajabhat Maha Sarakham University, 4(1) : 19.
Lunenburg, F. C. & Allan, O.C. (2000). Educational Administration: Concepts and Practices. 3rd ed. New York : Maple-VailBook.
Mondy, R.W., Noe, R.M., & Premeaux, S.R. (2002). Human ResourceManagement (7thed.). UpperSaddle River, NJ : Simon & Schust.
NETS-A. (2009) National education technology standards and performance Indicator for administrators. Retrieved from http://www.iste.org/404?aspxerrorpath=/docs/pdfs/NETS_for_Administrators. 2009-EN.pdf. September 5th 2023.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 วารสารลวะศรี
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารลวะศรี มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารลวะศรี หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่าหรือกระทำการใดๆ จะต้องได้รับอนาญาตจากวารสารวิชาการ ฯ ก่อนเท่านั้น เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ตีพิมพ์ในวารสารลวะศรี มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรง ซึ่งกองบรรณาธิการวารสารไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใดๆ