ข้อสังเกตบางประการเกี่ยวกับรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560

Main Article Content

พัฒนะ เรือนใจดี
มารุตพงศ์ มาสิงห์

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ


            การยกร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพุทธศักราช 2560 ที่บรรจุไว้ในรัฐธรรมนูญ ถึงความสำคัญการพิจารณาถึงกระบวนการยกร่างรัฐธรรมนูญในเนื้อหา    รวมไปถึงการเชื่อมโยงของสถาบันทางการเมืองอย่างแนบแน่นของอำนาจนิติบัญญัติ       และอำนาจบริหาร อันเป็นหัวใจของระบบรัฐสภา โดยมีกระบวนการตรวจสอบรัฐธรรมนูญของประเทศที่เป็นประชาธิปไตย จะต้องมีหลักการแบ่งแยกอำนาจอธิปไตย ข้อกำหนดว่าด้วยเรื่องของสิทธิและเสรีภาพ ข้อจำกัดอำนาจรัฐ โดยรัฐธรรมนูญ        แห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 ได้กำหนดกรอบในการร่างรัฐธรรมนูญ ซึ่งในรัฐธรรมนูญฉบับนี้ มีการนำข้อเท็จจริงมาร่างกฎหมาย มีการนำสิ่งที่อยู่ในระบบกฎหมายอื่นมาใส่ในการเมืองระบบรัฐสภา และมีการนำสิ่งที่อยู่ในระบบประธานาธิบดีมาใส่ในระบบรัฐสภาซึ่งประเด็นต่าง ๆ เหล่านี้ กระทบต่อหลักการแบ่งแยกอำนาจ มิได้เป็นไปตามทฤษฎีการเมืองบริบทของสังคม


            ดังนั้น บทความข้อสังเกตบางประการเกี่ยวกับรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 มุ่งเน้นในการสร้างความเข้าใจถึง กระบวนการของการยกร่าง และเนื้อหาที่จะต้องปรากฏ ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560   โดยจะต้องมีความสอดคล้องกับระบบรัฐสภาและเป็นเรื่องเดียวกัน

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

บวรศักดิ์ อุวรรณโณ และ ชมพูนุช ตั้งถาวร. (2555). สภาร่างรัฐธรรมนูญเปรียบเทียบ : ประสบการณ์ ต่างประเทศและประเทศไทย. กรุงเทพฯ: สถาบันพระปกเกล้า.
พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ. 2560
พัฒนะ เรือนใจดี. (2557, ธันวาคม). ข้อคิดบางประการจากรัฐธรรมนูญชั่วคราว พ.ศ. 2557. รัฐสภาสาร. 62 (12)
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2557
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560