ความหมายของกฎหมายและลักษณะของกฎหมาย : ความสมบูรณ์ของกฎหมายที่ส่งผลกระทบต่อการเมืองการปกครองของประเทศไทย

Main Article Content

นฤมล ติบวงษา
สิทธิกร ศักดิ์แสง

บทคัดย่อ

นักกฎหมายไทยยอมรับความหมายและลักษณะของกฎหมาย ว่า “กฎหมาย คือ คำสั่งของรัฏฐาธิปัตย์ ไม่ว่าจะได้อำนาจมาด้วยวิธีการตามวิถีทางรัฐธรรมนูญหรือนอกวิถีทาง รัฐธรรมนูญออกกฎหมายมาใช้บังคับปกครองประเทศ ถ้าไม่ปฏิบัติก็จะถูกลงโทษ” ตามแนวคิดปรัชญากฎหมายปฏิฐานนิยมทางกฎหมาย หรือกฎหมายบ้านเมือง (Positive Law) มากกว่าแนวคิดปรัชญากฎหมายธรรมชาติ (Natural Law) ที่เป็นการเสริมสร้างอำนาจผู้ปกครองมากกว่าการรับรองและประกันสิทธิเสรีภาพของประชาชน และให้ความสำคัญกับสิทธิในการกุมอำนาจของผู้ปกครองมากกว่าสิทธิเสรีภาพของประชาชนในฐานะเจ้าของอำนาจอธิปไตย ทำให้กฎหมายที่เป็นเครื่องมือของรัฐควบคุมคนในสังคมเป็นเพียงองค์ประกอบร่วมของระบบการเมืองเท่านั้น ส่งผลให้เป็นอุปสรรคต่อการปกครอง ในระบอบประชาธิปไตยไทยในปัจจุบันและอนาคต

Article Details

บท
บทความวิชาการ
Author Biographies

นฤมล ติบวงษา, คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎพระนคร

ผู้ช่วยศาสตราจารย์นฤมล ติบวงษา อาจารย์ประจำสาขาวิชานิติศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎพระนคร

สิทธิกร ศักดิ์แสง, คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี

รองศาสตราจารย์สิทธิกร ศักดิ์แสง อาจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎสุราษฎร์ธานี

References

โกเมศ ขวัญเมือง และสิทธิกร ศักดิ์แสง. แนวการศึกษาใหม่ : ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับกฎหมายทั่วไป. กรุงเทพฯ: วิญญูชน, 2549.

จุลกิจ รัตนมาศทิพย์. ฎีกามหาชน เล่ม 1 วาทกรรมว่าด้วยสังคม, กฎหมายและความยุติธรรมในประเทศไทย. กรุงเทพฯ: บริษัทหลอแอนด์เล้ง พับลิชชิ่ง จำกัด, 2551.

จรัญ โฆษณานันท์. นิติปรัชญา. พิมพ์ครั้งที่ 16. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยราม คำแหง, 2552.

จรัญ โฆษณานันท์. นิติปรัชญา. พิมพ์ครั้งที่ 7. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยราม คำแหง, 2538.

ประมวลกฎหมายอาญา

ประสิทธิ โฆวิไลกูล. เหลียวหลังดูกฎหมายและความยุติธรรม. กรุงเทพฯ: นิติธรรม, 2540.

พจนานุกรมฉบับราชบัณทิตยสถาน พ.ศ. 2525

โภคิน พลกุล “เอกสารประกอบการสอน วิชาหลักกฎหมายมหาชน” กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยรามคำแหง, 2528.

สิทธิกร ศักดิ์แสง. หลักกฎหมายมหาชน. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: นิติธรรม, 2557.

สิทธิกร ศักดิ์แสง. “วิเคราะห์เปรียบเทียบโครงสร้างและการเข้าสู่ตำแหน่งของสมาชิกรัฐสภาตามบทบัญญัติรัฐธรรมนูญในการปกครองระบอบประชาธิปไตยของประเทศไทย.” วารสารราชภัฏสุราษฎร์ธานี 1, ฉ.1 (2557): 8.

หยุด แสงอุทัย. ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับกฎหมายทั่วไป. กรุงเทพฯ: ประกายพรึก, 2545.

โอสถ โกศิน. ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับกฎหมายทั่วไป. (คำสอนชั้นปริญญาตรี คณะรัฐศาสตร์ สังคมศาสตร์และวารสารศาสตร์ พุทธศักราช 2503). พระนคร: แพร่การช่าง, 2502.

John Austin. the Province of Jurisprudence determind. ed. H.L. A. Hart, London, 1954.

Sir Paul Vinogradoff. Common Sense in Law. แปลโดย กำธร จิตคงไทย. ความรู้ทางนิติศาสตร์ เล่มหนึ่ง. สภาวิจัยแห่งชาติ, 2515.