เขตอำนาจศาลในคดีผู้บริโภคที่มีองค์ประกอบเกี่ยวพันกับต่างประเทศในระบบกฎหมายไทย

ผู้แต่ง

  • อาจารย์อรรัมภา ไวยมุกข์
  • อาจารย์พิมพ์กมล กองโภค
  • อาจารย์มุกกระจ่าง จรณี
  • อาจารย์ธนพัฒน์ เล็กเกียรติขจร

คำสำคัญ:

คดีผู้บริโภค, วิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค, เขตอำนาจศาลไทยในคดีที่มีองค์ ประกอบเกี่ยวพันกับต่างประเทศ, ข้อตกลงเลือกศาล

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้เป็นการวิจัยเอกสาร มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากฎหมายว่าด้วยเขตอำนาจศาลที่บังคับใช้กับคดีผู้บริโภคที่มีองค์ประกอบต่างประเทศเข้ามาเกี่ยวข้องกับระบบกฎหมายไทยในการอำนวยความสะดวกแก่ฝ่ายผู้บริโภคในการฟ้องคดีหรือต่อสู้คดีตามเจตนารมณ์ของกฎหมายคุ้มครองผู้บริโภค

ผลการศึกษาพบว่า ศาลไทยมีเขตอำนาจศาลเหนือคดีผู้บริโภคที่เป็นองค์ประกอบเกี่ยวพันกับต่างประเทศอย่างกว้างขวาง ทำให้ศาลไทยสามารถมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีที่ผู้บริโภคมีภูมิลำเนาอยู่ในประเทศไทย ทำให้ลดความยุ่งยากและความเสียเปรียบในการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรมทางศาลสำหรับผู้บริโภคได้ในระดับหนึ่ง อย่างไรก็ตาม แม้คดีผู้บริโภคลักษณะดังกล่าวจะอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีของศาลไทย แต่หากคดีผู้บริโภคอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ ก็ไม่อาจนำวิธีพิจารณาคดีผู้บริโภคตามพระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค พ.ศ. 2551 มาใช้หรือใช้บังคับร่วมกับวิธีพิจารณาคดีของศาลชำนัญพิเศษดังกล่าวได้

ผู้วิจัยจึงมีข้อเสนอแนะว่า ควรมีการแก้ไขพระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค พ.ศ. 2551 เพื่อกำหนดเขตอำนาจศาลและผลของข้อตกลงเลือกศาลในคดีผู้บริโภคที่มีองค์ประกอบเกี่ยวพันต่างประเทศเข้ามาเกี่ยวข้องให้ชัดเจน นอกจากนี้ให้มีการแก้ไขพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ. 2539 เพื่อจำกัดขอบเขตอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีเหนือคดีผู้บริโภคเท่าที่จำเป็น

References

Calvo Caravaca, Alfonso-Luis, Peter Mankowski, and Ulrich Magnus. Brussels I Regulation. European Commentaries on Private International Law. Munich: sellier european law publishers, 2012.
DeLisle, Jacques and Elizabeth Trujillo. "Consumer Protection in Transnational Contexts." The American journal of comparative law 58 (2010): 135-64.
Hay, Peter, Patrick J. Borchers, and Symeon Symeonides. Conflict of Laws. 5th ed. St. Paul, MN: West, 2010.
ไพโรจน์ วายุภาพ. คำอธิบายกฎหมายวิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค. กรุงเทพฯ: กรุงสยาม พับลิชชิ่ง, 2555.
คมวัชร เอี้ยงอ่อง. "เขตอำนาจศาลไทยเหนือคดีแพ่งและพาณิชย์ที่มีองค์ประกอบพัวพันกับต่างประเทศ." วิทยานิพนธ์ปริญญานิติศาสตรมหาบัณฑิต, คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2538.
ชาญณรงค์ ปราณีจิตต์. "วิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค ลักษณะพิเศษและข้อสังเกตที่สำคัญ." https://library2.parliament.go.th/wichakarn/content-seminar2/080951-01.pdf. สืบค้นเมื่อวันที่ 30 ตุลาคม 2562.
ชุมพร ปัจจุสานนท์. "ข้อคิดบางประการเกี่ยวกับการขัดกันแห่งเขตอำนาจศาลของประเทศไทยในทัศนะของกฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีบุคคล." วารสารกฎหมาย (2540): 39-61.
นนทวัชร์ นวตระกูลพิสุทธิ์. กฎหมายคุ้มครองผู้บริโภค. กรุงเทพฯ: โครงการตำราและเอกสารประกอบการสอน คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2560.
ประสิทธิ์ ปิวาวัฒนพานิช. คำอธิบายกฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีบุคคล. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2561.
ปริญญา ดีผดุง และ ธัชพันธ์ ประพุทธนิติสาร. "กระบวนพิจารณาคดีในศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ : พิเคราะห์เรื่องอำนาจพิจารณา (Jurisdiction) ด้านการค้าระหว่างประเทศและข้อสังเกตเกี่ยวกับคดีการค้าระหว่างประเทศที่ขึ้นสู่ศาลฎีกา." http://www.library.coj.go.th/ สืบค้นเมื่อวันที่ 8 ตุลาคม 2562.

ผกากรอง ศรีทองสุก. "บทบาท หน้าที่ของผู้พิพากษาสมทบในศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ." วิทยานิพนธ์ ปริญญานิติศาสตรมหาบัณฑิต, คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2545.
วรวิทย์ ฤทธิทิศ. "ข้อพิจารณาเกี่ยวกับกฎหมายคุ้มครองผู้บริโภค." ดุลพาห 56, ฉ.2 (2552): 91-108.
อภิรัฐ บุญทอง. กฎหมายวิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค. กรุงเทพฯ: วิญญูชน, 2560.
อรรัมภา ไวยมุกข์, มุกกระจ่าง จรณี, ประลอง ศิริภูล, และ รัชนี แตงอ่อน. "ปัญหาเขตอำนาจศาลในคดีผู้บริโภค." Veridian e-Journal ฉบับ ภาษาไทย สาขามนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และ ศิลปะ 10, ฉ.3 (2560): 2342-2354.
อรรัมภา ไวยมุกข์. "ปัญหาการคุ้มครองคู่สัญญาที่อ่อนแอกว่าในหลักกฎหมายขัดกันไทย." วารสารนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร 10, ฉ. 1 (2560): 63-77.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

12/29/2020