มาตรการทางกฎหมายในการกำหนดอัตราค่าจ้างขั้นต่ำเพื่อพัฒนาแรงงาน ในประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน

ผู้แต่ง

  • ผู้ช่วยศาสตราจารย์วีระยุทธ ลาสงยาง อาจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี
  • รองศาสตราจารย์พินิจ ทิพย์มณี อาจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์
  • ศาสตราจารย์ ดร.วิจิตรา วิเชียรชม อาจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

คำสำคัญ:

มาตรการทางกฎหมาย, ค่าจ้าง, แรงงาน, อาเซียน

บทคัดย่อ

                 บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเกี่ยวกับกฎหมายค่าจ้างขั้นต่ำของประเทศในประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน เปรียบเทียบกับอนุสัญญาและข้อแนะขององค์การแรงงานระหว่างประเทศ และกฎหมายค่าจ้างขั้นต่ำของต่างประเทศ เพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนาและให้ความคุ้มครองแรงงานในประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน

                เมื่อศึกษาจึงพบว่า การบังคับใช้กฎหมายค่าจ้างขั้นต่ำของประเทศในประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนแห่งราชอาณาจักรไทย สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ราชอาณาจักรกัมพูชา และสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาร์นั้น เป็นปัญหาที่เกิดความเหลื่อมล้ำและความไม่เป็นธรรมต่อสังคมแรงงานในการกำหนด และการบังคับใช้กฎหมายค่าจ้างขั้นต่ำ ทำให้ผู้ใช้แรงงานจำนวนมากไม่ได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายและเนื่องจากประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ไม่มีการจัดตั้งองค์กรหรือหน่วยงานกลางในการกำหนดอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ จึงส่งผลให้ประเทศสมาชิกในประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนไม่มีมาตรฐานกลางในการกำหนดอัตราค่าจ้างขั้นต่ำที่เหมาะสม และเป็นธรรมต่อสังคมแรงงานของประเทศสมาชิก จึงทำให้เกิดการเอารัดเอาเปรียบ ปัญหาการบังคับใช้กฎหมายค่าจ้างขั้นต่ำของประเทศในประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ส่งผลให้แรงงานไม่สามารถพัฒนาคุณภาพชีวิตได้อย่างเหมาะสม และเป็นธรรมในการดำรงชีวิตอย่างมีศักดิ์ศรี

               ดังนั้น เพื่อเป็นการพัฒนากฎหมายค่าจ้างขั้นต่ำในประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนจึงควรจัดตั้งองค์กรหรือหน่วยงานกลางในการกำหนดอัตราค่าจ้างขั้นต่ำในประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนเป็นการเฉพาะ ด้วยการกำหนดมาตรฐานกลางเกี่ยวกับการกำหนดอัตราค่าจ้างขั้นต่ำในประเทศสมาชิกประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน เพื่อสร้างความเป็นธรรมในสังคมแรงงานของประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน อันเป็นเครื่องมือในการส่งเสริมการพัฒนาคุณภาพชีวิตแรงงานในประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนต่อไป

References

ศูนย์บริการวิชาการ, โครงการเตรียมการรองรับการเคลื่อนย้ายของแรงงานสู่การเป็นประชาคมอาเซียน (Preparation for Flow of Labor in the ASEAN Community), กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2555.

สุณี ฉัตราคม และ อัญชลี ค้อคงคา, ค่าจ้างและทฤษฎีค่าจ้าง (Wages and Wage Theories), พิมพ์ครั้งที่ 4, กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยรามคำแหง, 2538.

Adam Smith, The Wealth of Nations, New Tork: Random House, 1937.

Francis A. Walker, Political Economy, London: Macmillan, 1896.

John Bates Clark, The Philosophy of Wealth, New York: Grinn, 1894.

John Stuart Mill, Principles of Political Economy, Book Two, London: Rouledge, 1891.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

12/29/2020